สธ.เผยนกปากห่างที่ จ.พิจิตร ตายไม่ทราบสาเหตุอีกเพียบ ย้ำเตือนประชาชน โดยเฉพาะเด็ก พบสัตว์ปีกป่วยอย่าใช้มือเปล่าจับหรือพยายามช่วยชีวิตหลีกเลี่ยงลงเล่นน้ำในแหล่งที่มีนกป่า หรือสัตว์ปีกลงเล่น เพราะอาจติดเชื้อไข้หวัดนก ส่วนอาการผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 31 รายที่ อ.ชุมแสง และอ.สากเหล็ก ขณะนี้ยังไม่มีใครป่วย
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะมิสเตอร์ไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าของการเฝ้าระวังการติดเชื้อไข้หวัดนกในคนว่า หลังจากที่มีสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนก 2 จุดที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2551 และที่อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการติดเชื้อในคนแต่อย่างใด โดยผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังทั้ง 31 รายที่สัมผัสสัตว์ปีกในจุดที่พบเชื้อดังกล่าว ยังไม่มีใครมีอาการผิดปกติ เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขจะติดตามอาการอย่างต่อเนื่องทุกวัน จนกว่าจะครบกำหนดการเฝ้าระวังเป็นเวลา 14 วัน ในส่วนของพื้นที่อื่นที่พบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ อสม. เคาะประตูบ้านสอบถามอาการ ทั้งสัตว์ป่วย คนป่วย ทุกวันเช่นกัน ยังไม่พบผู้สงสัยสัมผัสโรคแต่อย่างใด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีข้อมูลว่า มีนกปากห่างที่อาศัยอยู่บริเวณอุทยานนครชัยบวร ตำบลท่าเสา อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ทยอยล้มตายจำนวนมากโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงขอย้ำเตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนก แต่ขอให้ตระหนักและป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อจากสัตว์ปีก ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนกหรือไม่ โดยหลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำ หรือลงจับปลาในแหล่งน้ำบริเวณที่มีนกป่าหรือสัตว์ปีกลงไปหากินในน้ำ
“หากพบสัตว์ปีก โดยเฉพาะนกกำลังมีอาการป่วยตกลงมาจากต้นไม้ ซึ่งเด็กๆ มักจะหวังดีพยายามช่วยชีวิต เช่น อุ้มให้ความอบอุ่น ลูบคลำ เป่าหัว ซึ่งเป็นวิธีที่อันตรายมาก เพราะจะเป็นการสัมผัสเชื้ออย่างใกล้ชิด หากนกที่ป่วยมีเชื้อไข้หวัดนกก็จะติดสู่เด็กโดยง่าย ฉะนั้นจึงขอความร่วมมือผู้ปกครองให้ย้ำเตือนเด็กด้วย เพราะอาจทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์” นพ.ไพจิตร์กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับสถานการณ์ไข้หวัดนกตั้งแต่ปี 2546 - 1 กุมภาพันธ์ 2551 มีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนก 357 ราย เสียชีวิต 225 ราย เฉลี่ยอัตราตายร้อยละ 63 ใน 14 ประเทศ ได้แก่ อาเซอร์ไบจัน กัมพูชา จีน สาธารณรัฐจิบูตี อียิปต์ อินโดนีเซีย อิรัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตุรกี เวียดนาม ไนจีเรีย พม่า ปากีสถาน และไทย ในรอบ 1 เดือนเศษในปี 2551 นี้ พบรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนกใน 2 ประเทศ คืออินโดนีเซีย ป่วย 7 ราย เสียชีวิต 7 ราย และเวียดนาม ป่วย 1 ราย เสียชีวิต 1 ราย
สำหรับเชื้อไข้หวัดนก เป็นไวรัสที่อาจอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ไม่กี่ชั่วโมงหรือนานถึง 105 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เชื้อจะอยู่ได้นานในที่ที่มีอากาศเย็น แดดส่องไม่ถึง และความชื้นสูง จากการศึกษาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าเชื้อไข้หวัดนกสามารถอยู่ในมูลไก่สดที่อยู่ในร่ม ไม่สัมผัสแสงแดดโดยตรงได้นานประมาณ 4 วัน แต่ถ้าอยู่กลางแสงแดดจะตายง่าย ภายในเวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง โดยหลังจากสัตว์ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจะขับเชื้อไวรัสออกมาทางมูลได้นานเป็นเวลา 7-14 วัน วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือการล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด ก่อนหลังสัมผัสสิ่งของ ก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำห้องส้วมทุกครั้ง ซึ่งจะขจัดเชื้อโรคออกจากมือได้ถึงร้อยละ 80
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะมิสเตอร์ไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าของการเฝ้าระวังการติดเชื้อไข้หวัดนกในคนว่า หลังจากที่มีสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนก 2 จุดที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2551 และที่อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการติดเชื้อในคนแต่อย่างใด โดยผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังทั้ง 31 รายที่สัมผัสสัตว์ปีกในจุดที่พบเชื้อดังกล่าว ยังไม่มีใครมีอาการผิดปกติ เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขจะติดตามอาการอย่างต่อเนื่องทุกวัน จนกว่าจะครบกำหนดการเฝ้าระวังเป็นเวลา 14 วัน ในส่วนของพื้นที่อื่นที่พบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ อสม. เคาะประตูบ้านสอบถามอาการ ทั้งสัตว์ป่วย คนป่วย ทุกวันเช่นกัน ยังไม่พบผู้สงสัยสัมผัสโรคแต่อย่างใด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีข้อมูลว่า มีนกปากห่างที่อาศัยอยู่บริเวณอุทยานนครชัยบวร ตำบลท่าเสา อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ทยอยล้มตายจำนวนมากโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงขอย้ำเตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนก แต่ขอให้ตระหนักและป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อจากสัตว์ปีก ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนกหรือไม่ โดยหลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำ หรือลงจับปลาในแหล่งน้ำบริเวณที่มีนกป่าหรือสัตว์ปีกลงไปหากินในน้ำ
“หากพบสัตว์ปีก โดยเฉพาะนกกำลังมีอาการป่วยตกลงมาจากต้นไม้ ซึ่งเด็กๆ มักจะหวังดีพยายามช่วยชีวิต เช่น อุ้มให้ความอบอุ่น ลูบคลำ เป่าหัว ซึ่งเป็นวิธีที่อันตรายมาก เพราะจะเป็นการสัมผัสเชื้ออย่างใกล้ชิด หากนกที่ป่วยมีเชื้อไข้หวัดนกก็จะติดสู่เด็กโดยง่าย ฉะนั้นจึงขอความร่วมมือผู้ปกครองให้ย้ำเตือนเด็กด้วย เพราะอาจทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์” นพ.ไพจิตร์กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับสถานการณ์ไข้หวัดนกตั้งแต่ปี 2546 - 1 กุมภาพันธ์ 2551 มีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนก 357 ราย เสียชีวิต 225 ราย เฉลี่ยอัตราตายร้อยละ 63 ใน 14 ประเทศ ได้แก่ อาเซอร์ไบจัน กัมพูชา จีน สาธารณรัฐจิบูตี อียิปต์ อินโดนีเซีย อิรัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตุรกี เวียดนาม ไนจีเรีย พม่า ปากีสถาน และไทย ในรอบ 1 เดือนเศษในปี 2551 นี้ พบรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนกใน 2 ประเทศ คืออินโดนีเซีย ป่วย 7 ราย เสียชีวิต 7 ราย และเวียดนาม ป่วย 1 ราย เสียชีวิต 1 ราย
สำหรับเชื้อไข้หวัดนก เป็นไวรัสที่อาจอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ไม่กี่ชั่วโมงหรือนานถึง 105 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เชื้อจะอยู่ได้นานในที่ที่มีอากาศเย็น แดดส่องไม่ถึง และความชื้นสูง จากการศึกษาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าเชื้อไข้หวัดนกสามารถอยู่ในมูลไก่สดที่อยู่ในร่ม ไม่สัมผัสแสงแดดโดยตรงได้นานประมาณ 4 วัน แต่ถ้าอยู่กลางแสงแดดจะตายง่าย ภายในเวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง โดยหลังจากสัตว์ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจะขับเชื้อไวรัสออกมาทางมูลได้นานเป็นเวลา 7-14 วัน วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือการล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด ก่อนหลังสัมผัสสิ่งของ ก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำห้องส้วมทุกครั้ง ซึ่งจะขจัดเชื้อโรคออกจากมือได้ถึงร้อยละ 80