คาด 6-9 ก.พ.นี้มีฝนตกในกรุงเทพฯ 10-30% กทม.ระดมเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมรับมือ พร่องน้ำในคลอง พร้อมจัดหน่วยเบสท์เฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง เผยเทียบปริมาณน้ำฝนกับ 30 ปีที่แล้วต่างกันลิบลับ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ว่า จากการรายงานของสำนักการระบายน้ำ (สนน.) ทำให้ทราบสาเหตุที่ฝนตกในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากร่องความกดอากาศกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย และปะทะกับความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้
ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ กทม.มีปริมาณฝนตกเมื่อวันที่ 30 ม.ค.2551 ประมาณ 40% ของพื้นที่ ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดอยู่ที่เขตสะพานสูง วัดได้ 153.5 มิลลิเมตร เขตประเวศ เขตจตุจักร เขตคลองเตย เกิดการท่วมขังบนถนนสายหลัก คือ ถ.รัชดาภิเษก ถนนงามวงศ์วาน ถนนพหลโยธิน ถนนพระราม 1 ในระหว่างเวลา 09.00-11.30 น. ส่วนในพื้นที่ชุมชน ตรอก ซอยต่างๆ มีการท่วมขังบางแห่ง สามารถระบายได้หมดในช่วงเย็นวันเดียวกัน
ส่วนวันที่ 31 ม.ค.และ 1 ก.พ.ไม่สามารถวัดปริมาณฝนได้เนื่องจากเป็นเพียงละอองฝน วันที่ 2 ก.พ.2551 วัดได้ 20.5 มิลลิเมตร ที่เขตบางขุนเทียน วันที่ 3 ก.พ.2551 วัดได้ 52.5 มิลลิเมตร ที่เขตสายไหม และวันที่ 4 ก.พ.2551 วัดได้ 17 มิลลิเมตร ที่เขตคลองสามวา โดยทั้ง 3 วันไม่เกิดปัญหาท่วมขัง ทั้งนี้ จากการเปรียบเทียบสถิติปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรอบ 30 ปีระหว่างวันที่ 30-31 ม.ค.นั้น พบว่า เมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพียง 9.1 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบกับปีนี้ที่สูงถึง 69 มิลลิเมตร จึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังขึ้น
นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สนน.คาดการณ์ว่า ในวันที่ 6-9 ก.พ.2551 จะมีปริมาณฝนตกใน กทม.ประมาณ 10-30% ของพื้นที่ เนื่องจากความกดอากาศกำลังค่อนข้างแรงแผ่ปกคลุมตอนบนของประเทศไทย กระทบกับความชื้นใน กทม.อย่างไรก็ตาม สนน. และสำนักงานเขตได้เตรียมพร้อมสำหรับการรองรับปริมาณน้ำฝนแล้ว ซึ่งในเบื้องต้นได้พร่องน้ำในคลองต่างๆ เตรียมเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องสูบน้ำ และสถานีสูบน้ำ ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดจนเตรียมหน่วยเบสท์เพื่อเข้าช่วยเหลือประชาชนกรณีน้ำท่วมขัง และเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมตลอดเวลา
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ว่า จากการรายงานของสำนักการระบายน้ำ (สนน.) ทำให้ทราบสาเหตุที่ฝนตกในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากร่องความกดอากาศกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย และปะทะกับความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้
ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ กทม.มีปริมาณฝนตกเมื่อวันที่ 30 ม.ค.2551 ประมาณ 40% ของพื้นที่ ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดอยู่ที่เขตสะพานสูง วัดได้ 153.5 มิลลิเมตร เขตประเวศ เขตจตุจักร เขตคลองเตย เกิดการท่วมขังบนถนนสายหลัก คือ ถ.รัชดาภิเษก ถนนงามวงศ์วาน ถนนพหลโยธิน ถนนพระราม 1 ในระหว่างเวลา 09.00-11.30 น. ส่วนในพื้นที่ชุมชน ตรอก ซอยต่างๆ มีการท่วมขังบางแห่ง สามารถระบายได้หมดในช่วงเย็นวันเดียวกัน
ส่วนวันที่ 31 ม.ค.และ 1 ก.พ.ไม่สามารถวัดปริมาณฝนได้เนื่องจากเป็นเพียงละอองฝน วันที่ 2 ก.พ.2551 วัดได้ 20.5 มิลลิเมตร ที่เขตบางขุนเทียน วันที่ 3 ก.พ.2551 วัดได้ 52.5 มิลลิเมตร ที่เขตสายไหม และวันที่ 4 ก.พ.2551 วัดได้ 17 มิลลิเมตร ที่เขตคลองสามวา โดยทั้ง 3 วันไม่เกิดปัญหาท่วมขัง ทั้งนี้ จากการเปรียบเทียบสถิติปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรอบ 30 ปีระหว่างวันที่ 30-31 ม.ค.นั้น พบว่า เมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพียง 9.1 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบกับปีนี้ที่สูงถึง 69 มิลลิเมตร จึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังขึ้น
นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สนน.คาดการณ์ว่า ในวันที่ 6-9 ก.พ.2551 จะมีปริมาณฝนตกใน กทม.ประมาณ 10-30% ของพื้นที่ เนื่องจากความกดอากาศกำลังค่อนข้างแรงแผ่ปกคลุมตอนบนของประเทศไทย กระทบกับความชื้นใน กทม.อย่างไรก็ตาม สนน. และสำนักงานเขตได้เตรียมพร้อมสำหรับการรองรับปริมาณน้ำฝนแล้ว ซึ่งในเบื้องต้นได้พร่องน้ำในคลองต่างๆ เตรียมเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องสูบน้ำ และสถานีสูบน้ำ ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดจนเตรียมหน่วยเบสท์เพื่อเข้าช่วยเหลือประชาชนกรณีน้ำท่วมขัง และเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมตลอดเวลา