ปลัด ศธ.ระบุเด็กกว่า 1 แสนคน ไม่ได้เรียนหนังสือ และไม่รู้จะตามตัวเด็กจากที่ไหน ต้นตอเกิดจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ส่งผลให้ข้อมูลนักเรียนไม่สมบูรณ์ เพราะต่างคนต่างทำ แถมวิธีการเก็บข้อมูลนักเรียนยังขาดวิ่น
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในขณะนี้คาดว่ายังมีเด็กที่อยู่วัยเรียนกว่า 100,000 คน ไม่ได้เรียนหนังสือ และไม่รู้ว่าเด็กกลุ่มนี้อาศัยอยู่ที่ไหนบ้าง จึงทำให้ ศธ.ไม่สามารถไปตามตัวเด็กให้มาเรียนได้ เนื่องจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่สมบูรณ์ มีเฉพาะสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เท่านั้น ไม่มีฐานข้อมูลของโรงเรียนที่สังกัดเทศบาล
ทั้งนี้ สมัยก่อนที่ยังไม่ได้ปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ เรามีการเก็บข้อมูลแบบครบวงจร โดยให้โรงเรียนแต่ละแห่งทำการสำรวจนักเรียนของตนเองทุกปี แล้วส่งข้อมูลเหล่านี้ส่งมาที่สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พอปรับโครงสร้างกระทรวง การเก็บข้อมูลนักเรียนเหลือแค่ สพฐ.เท่านั้น
สำหรับปัญหาการจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ ทาง ยูนิเซฟ เคยให้แนะนำว่า แบบฟอร์มควรใช้เหมือนกัน ให้แยกเพศชาย หญิง อายุที่เข้าเรียนชั้น ป.1 เพราะเด็กแต่ละคนเข้าเรียนอายุไม่เท่ากัน เช่น บางคนเข้าตอนอายุ 7 ขวบ บางคน 10 ขวบ เด็กปกติหรือพิการ ถ้าเด็กพิการต้องระบุด้วยว่าพิการอย่างไร เรียนโรงเรียนในเมืองหรือนอกเมือง และอื่นๆ
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า เพื่อค้นหาเด็กวัยเรียนแต่ไม่ได้เรียน ศธ. จึงร่วมมือกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ซึ่งเร็วๆ นี้ จะสำรวจสำมะโนประชากรทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่ ศธ.ต้องการ จึงจัดส่งผู้แทนไปเป็นคณะทำงาน เพื่อร่วมเตรียมการในการจัดทำแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาในทุกด้าน เช่น ตัวชี้วัดการศึกษาเพื่อปวงชน ตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับสหัสวรรษการพัฒนาประเทศ เป็นต้น และเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการจัดเก็บข้อมูลด้านการศึกษา โดย ศธ.ต้องการข้อมูลทางสถิติที่ครอบคลุมสาระสำคัญใน 6 ประการ ได้แก่ จำนวนผู้เรียน จำนวนปีที่เรียน การสำเร็จการศึกษา ระดับการศึกษาที่สำเร็จ และอื่นๆ เป็นต้น
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในขณะนี้คาดว่ายังมีเด็กที่อยู่วัยเรียนกว่า 100,000 คน ไม่ได้เรียนหนังสือ และไม่รู้ว่าเด็กกลุ่มนี้อาศัยอยู่ที่ไหนบ้าง จึงทำให้ ศธ.ไม่สามารถไปตามตัวเด็กให้มาเรียนได้ เนื่องจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่สมบูรณ์ มีเฉพาะสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เท่านั้น ไม่มีฐานข้อมูลของโรงเรียนที่สังกัดเทศบาล
ทั้งนี้ สมัยก่อนที่ยังไม่ได้ปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ เรามีการเก็บข้อมูลแบบครบวงจร โดยให้โรงเรียนแต่ละแห่งทำการสำรวจนักเรียนของตนเองทุกปี แล้วส่งข้อมูลเหล่านี้ส่งมาที่สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พอปรับโครงสร้างกระทรวง การเก็บข้อมูลนักเรียนเหลือแค่ สพฐ.เท่านั้น
สำหรับปัญหาการจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ ทาง ยูนิเซฟ เคยให้แนะนำว่า แบบฟอร์มควรใช้เหมือนกัน ให้แยกเพศชาย หญิง อายุที่เข้าเรียนชั้น ป.1 เพราะเด็กแต่ละคนเข้าเรียนอายุไม่เท่ากัน เช่น บางคนเข้าตอนอายุ 7 ขวบ บางคน 10 ขวบ เด็กปกติหรือพิการ ถ้าเด็กพิการต้องระบุด้วยว่าพิการอย่างไร เรียนโรงเรียนในเมืองหรือนอกเมือง และอื่นๆ
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า เพื่อค้นหาเด็กวัยเรียนแต่ไม่ได้เรียน ศธ. จึงร่วมมือกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ซึ่งเร็วๆ นี้ จะสำรวจสำมะโนประชากรทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่ ศธ.ต้องการ จึงจัดส่งผู้แทนไปเป็นคณะทำงาน เพื่อร่วมเตรียมการในการจัดทำแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาในทุกด้าน เช่น ตัวชี้วัดการศึกษาเพื่อปวงชน ตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับสหัสวรรษการพัฒนาประเทศ เป็นต้น และเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการจัดเก็บข้อมูลด้านการศึกษา โดย ศธ.ต้องการข้อมูลทางสถิติที่ครอบคลุมสาระสำคัญใน 6 ประการ ได้แก่ จำนวนผู้เรียน จำนวนปีที่เรียน การสำเร็จการศึกษา ระดับการศึกษาที่สำเร็จ และอื่นๆ เป็นต้น