เหล่า ส.ก.รุมสวดการทำงานตลาดนัดสวนจตุจักร หลังพบความไม่โปร่งใสหลายอย่างทั้งเงินบริจาค เงินค่าห้องน้ำ ค่าเช่าแผง แถมเป็นองค์กรเดียวที่ตรวจสอบเส้นทางเงินไม่ได้เพราะไม่ได้อยู่ในระบบเงินงบประมาณ กทม.เสนอนำเงินรายได้ของตลาดนัดจตุจักรเข้าสู่ระบบงบประมาณ สุดท้ายตั้ง กก.วิสามัญพิจารณาต่อไป
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานครสมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 1 (ครั้งที่ 5) ประจำปี พ.ศ. 2551 ซึ่งมี นายธวัชชัย ปิยนนทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมสภากทม.สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 1 (ครั้งที่ 5) ประจำปี พ.ศ.2551 โดยมีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.คณะผู้บริหาร และ ส.ก.เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสภา กทม.ทั้งนี้
นายอภิชาติ หาลำเจียก ส.ก.เขตดินแดง ได้เสนอญัตติด้วยวาจา ขอให้ กทม.ตั้งคณะกรรมการวิสามัญตรวจสอบการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร เนื่องจากปัจจุบันสวนจตุจักรมีแผงค้าอยู่จำนวนมาก และไม่มีการจัดระเบียบผู้ค้าให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของทาง กทม.กำหนด ควรมีการจัดบริหารผู้ค้าให้มีความถูกต้องและเป็นสัดส่วน อีกทั้งการจัดเก็บเงินภาษีนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในความดูแลอย่างถูกต้องซึ่งปัญหาจะไม่เกิดขึ้นถ้าผู้ว่าฯแสดงเจตนารมณ์ที่จะนำเงินรายได้เข้าสู่ระบบงบประมาณ กทม.เพื่อจะได้ตรวจสอบให้ชัดเจนซึ่งปัญหาตรงนี้หมักหมมมานานถ้ายังไม่แก้ไขก็จะเกิดปัญหาซ้ำซาก รวมถึงให้ความสำคัญในการจัดระเบียบสถานที่ให้มีความสวยงามสมกับเป็นตลาดนัดของกรุงเทพมหานครต่อไป
ด้านนายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ก.เขตห้วยขวาง กล่าวว่า ปัจจุบันสวนจตุจักรไม่มีความเป็นระเบียบ เนื่องจากมีผู้ค้าที่มาเช่าแผง และไม่มีการกำหนดจุดขายชัดเจน ทำให้ไม่เป็นระเบียบ รวมถึงพบว่ามีการแฝงหาผลประโยชน์มหาศาลจากพื้นที่ดังกล่าว โดยไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง รวมถึงปัจจุบันได้มีการทำสัญญาระหว่างผู้ค้าในการเก็บค่าเช่า 1-1.5 แสนบาท ต่อแผง ตามกฎระเบียบในการเช่าแผงค้า ทั้งที่ความเป็นจริงพบว่ามีการนำแผงค้าไปขายเช่าช่วงต่อในราคา 1-2 ล้านบาท ซึ่งเงินที่เพิ่มจากตรงนี้อาจจะมีตกหล่นเป็นเบี้ยใบ้รายทางโดยไม่ทราบว่าจะเข้ากระเป๋าของใคร คนที่เกี่ยวข้องในขณะนี้ไม่ทราบว่ากำลังทำอะไรกันอยู่ อีกทั้งผู้ประกอบการที่หมดสัญญาไปนั้น ไม่ยอมย้ายหรือเลิกจำหน่ายสินค้าแต่อย่างใด หากแต่ยังคงค้าขายได้โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการ ทำให้กีดขวางทางเดิน และไม่สะดวกในการสัญจร และรายได้กว่า 1 ล้านบาทในการจัดเก็บเงินค่าเข้าห้องน้ำสำหรับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ
จึงเห็นควรให้ กทม.เข้าไปบริหารจัดการรายได้ในการจัดระเบียบแผงค้า และภาษีให้ถูกต้องเพื่อที่จะนำรายได้มหาศาลเข้ากทม.อีกด้วย ส่วนเงินที่ธนาคารต่างๆ อย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์บริจาคให้ กทม.10 ล้านบาท แลกกับการมีธนาคารในพื้นที่ ธนาคารทหารไทยบริจาค 4 ล้านบาท แลกกับการตั้งตู้เอทีเอ็ม ธนาคารกสิกรไทย บริจาค 7.5 ล้านบาท ซึ่งเงินที่ได้ทั้งหมดผู้บริหารคงจะตอบได้ว่าทางธนาคารมอบเข้าบัญชีใคร ปัจจุบันเงินดังกล่าวอยู่ตรงไหน ใช้จ่ายอย่างไรไปบ้าง
ด้านนายพิรกร วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง ตั้งข้อสังเกตว่า ตลาดนัดสวนจตุจักรเป็นองค์กรเดียวของกทม.ที่ตรวจสอบไม่ได้ ขณะที่เงินรายรับและรายจ่ายก็มีจำนวนที่เท่ากันทั้งที่จริงเงินรับน่าจะมีมากกว่านั้น ทำให้เกิดปัญหาในการจัดระเบียบอย่างมาก เพราะไม่สามารถเข้าไปจัดเก็บเงินได้ตามเป้า และตั้งข้อสังเกต อาจมีการแผงผลประโยชน์ซ่อนเร่นอยู่ในจุดต่างๆ อีกด้วย
ด้านนายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ส.ก.เขตมีนบุรี กล่าวว่า ในส่วนศูนย์ฝึกอาชีพ กทม.ที่สนับสนุนให้ประชาชนนำของมาจำหน่าย ส่งเสริมรายได้ สร้างอาชีพ ตามโครงการ กทม.โดยใช้พื้นที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ปัจจุบันพบว่าไม่มีโครงการดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ แต่กลับมีผู้ค้าเข้ามาขายของในบริเวณดังกล่าว รวมถึงเจ้าหน้าที่ของกองอำนวยการสวนจตุจักรไม่ได้อยู่ในสังกัดในหน่วยงานใด อีกทั้งระยะเวลาที่ผ่านมาไปมีการรายงานผล รายรับ-รายจ่าย รวมถึงโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสวนจตุจักร จึงเห็นควรให้กทม.เข้าไปดำเนินการอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ในที่ประชุมสภา กทม.ได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญ 17 คน เพื่อพิจารณากลั่นกรองในญัตติ เสนอต่อผู้บริหาร กทม.เพื่อดำเนินการต่อไป
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานครสมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 1 (ครั้งที่ 5) ประจำปี พ.ศ. 2551 ซึ่งมี นายธวัชชัย ปิยนนทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมสภากทม.สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 1 (ครั้งที่ 5) ประจำปี พ.ศ.2551 โดยมีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.คณะผู้บริหาร และ ส.ก.เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสภา กทม.ทั้งนี้
นายอภิชาติ หาลำเจียก ส.ก.เขตดินแดง ได้เสนอญัตติด้วยวาจา ขอให้ กทม.ตั้งคณะกรรมการวิสามัญตรวจสอบการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร เนื่องจากปัจจุบันสวนจตุจักรมีแผงค้าอยู่จำนวนมาก และไม่มีการจัดระเบียบผู้ค้าให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของทาง กทม.กำหนด ควรมีการจัดบริหารผู้ค้าให้มีความถูกต้องและเป็นสัดส่วน อีกทั้งการจัดเก็บเงินภาษีนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในความดูแลอย่างถูกต้องซึ่งปัญหาจะไม่เกิดขึ้นถ้าผู้ว่าฯแสดงเจตนารมณ์ที่จะนำเงินรายได้เข้าสู่ระบบงบประมาณ กทม.เพื่อจะได้ตรวจสอบให้ชัดเจนซึ่งปัญหาตรงนี้หมักหมมมานานถ้ายังไม่แก้ไขก็จะเกิดปัญหาซ้ำซาก รวมถึงให้ความสำคัญในการจัดระเบียบสถานที่ให้มีความสวยงามสมกับเป็นตลาดนัดของกรุงเทพมหานครต่อไป
ด้านนายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ก.เขตห้วยขวาง กล่าวว่า ปัจจุบันสวนจตุจักรไม่มีความเป็นระเบียบ เนื่องจากมีผู้ค้าที่มาเช่าแผง และไม่มีการกำหนดจุดขายชัดเจน ทำให้ไม่เป็นระเบียบ รวมถึงพบว่ามีการแฝงหาผลประโยชน์มหาศาลจากพื้นที่ดังกล่าว โดยไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง รวมถึงปัจจุบันได้มีการทำสัญญาระหว่างผู้ค้าในการเก็บค่าเช่า 1-1.5 แสนบาท ต่อแผง ตามกฎระเบียบในการเช่าแผงค้า ทั้งที่ความเป็นจริงพบว่ามีการนำแผงค้าไปขายเช่าช่วงต่อในราคา 1-2 ล้านบาท ซึ่งเงินที่เพิ่มจากตรงนี้อาจจะมีตกหล่นเป็นเบี้ยใบ้รายทางโดยไม่ทราบว่าจะเข้ากระเป๋าของใคร คนที่เกี่ยวข้องในขณะนี้ไม่ทราบว่ากำลังทำอะไรกันอยู่ อีกทั้งผู้ประกอบการที่หมดสัญญาไปนั้น ไม่ยอมย้ายหรือเลิกจำหน่ายสินค้าแต่อย่างใด หากแต่ยังคงค้าขายได้โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการ ทำให้กีดขวางทางเดิน และไม่สะดวกในการสัญจร และรายได้กว่า 1 ล้านบาทในการจัดเก็บเงินค่าเข้าห้องน้ำสำหรับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ
จึงเห็นควรให้ กทม.เข้าไปบริหารจัดการรายได้ในการจัดระเบียบแผงค้า และภาษีให้ถูกต้องเพื่อที่จะนำรายได้มหาศาลเข้ากทม.อีกด้วย ส่วนเงินที่ธนาคารต่างๆ อย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์บริจาคให้ กทม.10 ล้านบาท แลกกับการมีธนาคารในพื้นที่ ธนาคารทหารไทยบริจาค 4 ล้านบาท แลกกับการตั้งตู้เอทีเอ็ม ธนาคารกสิกรไทย บริจาค 7.5 ล้านบาท ซึ่งเงินที่ได้ทั้งหมดผู้บริหารคงจะตอบได้ว่าทางธนาคารมอบเข้าบัญชีใคร ปัจจุบันเงินดังกล่าวอยู่ตรงไหน ใช้จ่ายอย่างไรไปบ้าง
ด้านนายพิรกร วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง ตั้งข้อสังเกตว่า ตลาดนัดสวนจตุจักรเป็นองค์กรเดียวของกทม.ที่ตรวจสอบไม่ได้ ขณะที่เงินรายรับและรายจ่ายก็มีจำนวนที่เท่ากันทั้งที่จริงเงินรับน่าจะมีมากกว่านั้น ทำให้เกิดปัญหาในการจัดระเบียบอย่างมาก เพราะไม่สามารถเข้าไปจัดเก็บเงินได้ตามเป้า และตั้งข้อสังเกต อาจมีการแผงผลประโยชน์ซ่อนเร่นอยู่ในจุดต่างๆ อีกด้วย
ด้านนายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ส.ก.เขตมีนบุรี กล่าวว่า ในส่วนศูนย์ฝึกอาชีพ กทม.ที่สนับสนุนให้ประชาชนนำของมาจำหน่าย ส่งเสริมรายได้ สร้างอาชีพ ตามโครงการ กทม.โดยใช้พื้นที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ปัจจุบันพบว่าไม่มีโครงการดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ แต่กลับมีผู้ค้าเข้ามาขายของในบริเวณดังกล่าว รวมถึงเจ้าหน้าที่ของกองอำนวยการสวนจตุจักรไม่ได้อยู่ในสังกัดในหน่วยงานใด อีกทั้งระยะเวลาที่ผ่านมาไปมีการรายงานผล รายรับ-รายจ่าย รวมถึงโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสวนจตุจักร จึงเห็นควรให้กทม.เข้าไปดำเนินการอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ในที่ประชุมสภา กทม.ได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญ 17 คน เพื่อพิจารณากลั่นกรองในญัตติ เสนอต่อผู้บริหาร กทม.เพื่อดำเนินการต่อไป