มก.เสนอผลงานวิจัย 528 เรื่อง หวังกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ต่อยอดในการพัฒนามาใช้ได้จริง ขณะที่ “ปราโมทย์” เทิดพระเกียรติพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการสิ่งแวดล้อม พระองค์ยังจุดประกายแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนโดยใช้ระบบธรรมชาติ
วันนี้ (29 ม.ค.) ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) จัดประชุมวิชาการ ครั้งที่ 46 “เกษตรศาสตร์เทิดพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อประชาไทยอยู่เย็นเป็นสุข” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ม.ค.- 1 ก.พ.นี้ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มก.กล่าวว่า วันนี้มีข้าราชการ บุคลากร นิสิต นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นผู้ส่งผลงานเข้าร่วมการประชุมจำนวน 624 เรื่อง ใน 12 สาขา ในจำนวนดังกล่าวมีผลงานผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสาขา ทั้งสิ้น 528 เรื่อง แบ่งเป็นภาคบรรยาย 273 เรื่อง และภาคโปสเตอร์ 255 เรื่อง ซึ่งผลงานเหล่านี้ต้องการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ แล้วนำมาพัฒนาต่อยอดและนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง
นอกจากจะมีการนำเสนอผลงานวิจัยแล้ว ยังจัดการบรรยาย อภิปราย และเสวนา อาทิ วันที่ 29 ม.ค.มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการสิ่งแดล้อม เพื่อแก้ปัญญาโลกร้อน หรือวันที่ 31 ม.ค.2551 มีการอภิปรายพิเศษเรื่อง นักล่าฝันกับวัยรุ่นไทย เป็นต้น
ด้าน นายปราโมทย์ ไม้กลัด นายกสภามก.และผู้บรรยายพิเศษ เรื่องพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน กล่าวว่า ปัจจุบันชาวโลกมีการตื่นตัวกับคำว่า สภาวะโลกร้อน ซึ่งคนส่วนมากต่างวิตกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งมีความแปรปรวนเกิดขึ้นในหลายภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงสนพระราชหฤทัยและห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระองค์ได้มีพระราชกรณียกิจการจัดการสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเพื่อการแก้ปัญหาโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นรัชกาล
อย่างไรก็ตาม มาตรการหลักในการแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน มี 2 มาตรการ คือ 1.มาตรการบรรเทาหรือลดภาวะโลกร้อนโดยตรง เช่น ทรงอนุรักษ์พื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อม ทรงฟื้นฟูสภาพป่าและปลูกป่าทดแทน ทรงอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดิน ทรงแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย การแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ ทรงเน้นการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อกู้วิกฤต 2.มาตรการจัดการให้สามารถดำรงชีวิตได้ด้วย ความพอเพียง ที่พอดี เช่น ทรงแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ การทำเกษตรผสมผสาน แบบพึ่งพาธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี เป็นต้น
“พระองค์ทรงห่วงประชาชน ทรงจุดประกายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นรูปแบบระบบบูรณาการ และพระราชดำรัสในแต่ละครั้ง ถือว่าพระองค์ทรงเริ่มต้นให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาโลกร้อนที่กระทบต่อประเทศไทย ต่อประชาชนทุกคน และทำให้วงการต่างๆ ทั้งฝ่ายราชการ เอกชน และประชาชน ตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้น แล้วตื่นตัวเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน” นายกสภา มก.กล่าวทิ้งท้าย
วันนี้ (29 ม.ค.) ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) จัดประชุมวิชาการ ครั้งที่ 46 “เกษตรศาสตร์เทิดพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อประชาไทยอยู่เย็นเป็นสุข” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ม.ค.- 1 ก.พ.นี้ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มก.กล่าวว่า วันนี้มีข้าราชการ บุคลากร นิสิต นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นผู้ส่งผลงานเข้าร่วมการประชุมจำนวน 624 เรื่อง ใน 12 สาขา ในจำนวนดังกล่าวมีผลงานผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสาขา ทั้งสิ้น 528 เรื่อง แบ่งเป็นภาคบรรยาย 273 เรื่อง และภาคโปสเตอร์ 255 เรื่อง ซึ่งผลงานเหล่านี้ต้องการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ แล้วนำมาพัฒนาต่อยอดและนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง
นอกจากจะมีการนำเสนอผลงานวิจัยแล้ว ยังจัดการบรรยาย อภิปราย และเสวนา อาทิ วันที่ 29 ม.ค.มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการสิ่งแดล้อม เพื่อแก้ปัญญาโลกร้อน หรือวันที่ 31 ม.ค.2551 มีการอภิปรายพิเศษเรื่อง นักล่าฝันกับวัยรุ่นไทย เป็นต้น
ด้าน นายปราโมทย์ ไม้กลัด นายกสภามก.และผู้บรรยายพิเศษ เรื่องพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน กล่าวว่า ปัจจุบันชาวโลกมีการตื่นตัวกับคำว่า สภาวะโลกร้อน ซึ่งคนส่วนมากต่างวิตกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งมีความแปรปรวนเกิดขึ้นในหลายภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงสนพระราชหฤทัยและห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระองค์ได้มีพระราชกรณียกิจการจัดการสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเพื่อการแก้ปัญหาโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นรัชกาล
อย่างไรก็ตาม มาตรการหลักในการแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน มี 2 มาตรการ คือ 1.มาตรการบรรเทาหรือลดภาวะโลกร้อนโดยตรง เช่น ทรงอนุรักษ์พื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อม ทรงฟื้นฟูสภาพป่าและปลูกป่าทดแทน ทรงอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดิน ทรงแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย การแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ ทรงเน้นการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อกู้วิกฤต 2.มาตรการจัดการให้สามารถดำรงชีวิตได้ด้วย ความพอเพียง ที่พอดี เช่น ทรงแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ การทำเกษตรผสมผสาน แบบพึ่งพาธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี เป็นต้น
“พระองค์ทรงห่วงประชาชน ทรงจุดประกายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นรูปแบบระบบบูรณาการ และพระราชดำรัสในแต่ละครั้ง ถือว่าพระองค์ทรงเริ่มต้นให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาโลกร้อนที่กระทบต่อประเทศไทย ต่อประชาชนทุกคน และทำให้วงการต่างๆ ทั้งฝ่ายราชการ เอกชน และประชาชน ตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้น แล้วตื่นตัวเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน” นายกสภา มก.กล่าวทิ้งท้าย