โดย แผนพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ
มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์
.............................................................................................................................................................................................................
ปัญหาหนึ่งในการรักษาพยาบาลคือนับวันคนไข้กลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ผู้ป่วยเก่ารักษาไม่หายขาด ขณะที่ผู้ป่วยใหม่ก็มีอุบัติการณ์มากขึ้น ซึ่ง สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดมาจากการเข้าไม่ถึงปัญหาของคนไข้อย่างแท้จริง
นางจรรยาวัฒน์ ทับจันทร์ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ประธาน ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ด้วยกรอบของการทำงานบางครั้งอาจทำให้การดูแลรักษาของพยาบาลดูได้เพียงแค่โรคหรือปัจจัยภายนอก มักจะมองไม่เห็นปัญหาที่ภายในจิตใจของคนไข้ เช่น ในกรณีของผู้ป่วยสูงอายุซึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวานรายหนึ่ง เมื่อมาตรวจพบว่าน้ำตาลขึ้นสูง เ ราก็จะคิดก่อนเลยว่าคนไข้ต้องไปกินของหวานมาแน่ๆ บ่อยครั้งเข้าพยาบาลก็เริ่มมีอารมณ์และพูดกับคนไข้ในน้ำเสียงที่ดุขึ้น แต่เมื่อสืบสาวไปที่ต้นเหตุจริงๆกลับพบว่า สาเหตุที่ระดับน้ำตาลสูงเนื่องจากคนไข้อยู่บ้านคนเดียวโดยจะมีญาติเป็นผู้จัดอาหารไว้ให้ จึงต้องกินตามนั้นเพราะไม่มีทางเลือก การแก้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่คนไข้ แต่ต้องลงไปพูดคุยกับญาติเพื่อให้เกิดความเข้าใจและจัดอาหารมีความเหมาะสมกับคนไข้มากขึ้น นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้การดูแลคนไข้ไม่ประสบผล ขณะเดียวกันพยาบาลเองก็ไม่สบายใจคิดว่าคนไข้ไม่เชื่อฟัง รักษาคนไข้ไม่หาย เป็นผลให้การทำงานไม่มีความสุข
ด้วยชนวนของปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง กอปรกับสุขภาวะของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้พยาบาลชุมชนหันมารวมตัวกันจัดทำ “ โครงการพัฒนาต้นแบบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในบริบทพยาบาล” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนาบุคลากรที่สามารถรับฟังและเข้าถึงปัญหาภายในจิตใจของคนไข้มากขึ้น ทั้งยังสามารถ สร้างกระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนของผู้ป่วย
“โครงการพัฒนาต้นแบบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในบริบทพยาบาล เป็นโครงการที่เกิดจากการรวมตัวกันของพยาบาลที่ “มีใจ” มาร่วมเป็น “อาสาสมัคร” ที่อยากจะพัฒนาวิชาชีพของตนเองเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยจริงๆ”
นางจรรยาวัฒน กล่าวต่อว่า อันดับแรกผู้ปฏิบัติเองต้องมีใจก่อนจึงจะมองเห็นปัญหาของคนไข้ได้ เมื่อได้อาสาสมัครทางโครงการจะมีการจัดอบรมโดยมุ่งเน้นให้พยาบาล เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงานจากเชิงรับสู่ปฏิบัติการเชิงรุก เดินเข้าหาคนไข้เพื่อค้นหา ข้อมูลจริง ในพื้นที่ ด้วยการพูดคุยกับญาติ คนในชุมชน เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง และมีกระบวนการคืนข้อมูลสู่ชุมชนผ่านการจัดเวที หรือการพูดคุย ให้ชาวบ้านได้รับรู้และตระหนักถึงปัญหา เพื่อให้เกิดการแก้ไขที่ตรงจุดอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน
ทั้งนี้ ภายหลังกระบวนการอบรมมีพยาบาลหลายท่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำงานจนเกิดความสำเร็จในการแก้ปัญหาของชุมชน โดยตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือนางสาว ปราณี ประไพวัชรพันธ์ หัวหน้าสถานีอนามัยนาราก อ.คอนบุรี จ.นครราชสีมา ที่สามารถแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนด้วย “โครงการหิ้วตะกร้าไปหาหมอ”
นางจรรยาวัฒน์ เล่าว่า ในช่วงนั้นที่สถานีอนามัยนารากมีปัญหาเรื่องผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันเยอะขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งต้องขอหมอในโรงพยาบาลมาช่วยตรวจเป็นครั้งคราว กระทั่งวันหนึ่งผู้ป่วยมีอาการช็อกเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงอย่างมาก จึงเกิดความสงสัยและเข้าไปพูดคุยกับผู้ป่วย พบว่า คนไข้กินยาชนิดเดียวกันถึง 3 เม็ด แต่เมื่อตรวจสอบประวัติกลับพบว่าต้องกินยาเพียงเม็ดเดียวเท่านั้น ซึ่งในตอนแรกคิดว่าผู้ป่วยเข้าใจวิธีการกินยาผิด แต่เมื่อเข้าไปสอบถามญาติเพิ่มเติมกลับพบว่าผู้ป่วยไปพบแพทย์ถึง 3 โรงพยาบาล และกินยาทั้งหมดพร้อมกัน
ไม่เพียงความผิดปรกติของคนไข้รายแรกที่พบ แต่ด้วยความใส่ใจของปราณี จึงกลับไปตรวจสอบประวัติคนไข้ในชุมชนและพบว่ามีผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะไตเสื่อมเนื่องจากรับประทานยามากเกินไป จึงได้ลงไปเยี่ยมผู้ป่วยในชุมชน ซึ่งพบว่าผู้ป่วยแต่ละคนนั้นมียาเบาหวานเก็บไว้ในตะกร้าเป็นจำนวนมาก จากนั้นจึงได้มีกระบวนการคืนข้อมูลสู่ชุมชนด้วยการพูดคุยกับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อให้รับทราบถึงปัญหา และอันตรายที่เกิดจากการกินยาเกินขนาด พร้อมทั้งได้ร่วมกันคิดแนวทางการแก้ปัญหาภายใต้ชื่อ โครงการหิ้วตะกร้าไปหาหมอ
“โครงการหิ้วตะกร้าไปหาหมอ คือการให้ผู้ป่วยนำตะกร้าใส่ยาทั้งหมดมาที่อนามัย เพื่อตรวจดูว่ามียาอะไรบ้าง พร้อมทั้งปรับวิธีการกินยาใหม่ให้ถูกต้อง อีกทั้งมีการแนะนำวิธีการกินยาที่ชัดเจนเขียนรวมถึงเขียนวันเวลาที่รับประทานตัวใหญ่ๆไว้ที่หน้าซองเพื่อให้คนไข้เห็น เมื่อถึงวันนัดก็ให้ผู้ป่วยนำตะกร้าใส่ยากลับมา เพื่อตรวจสอบว่าคนไข้ทานยาหรือไม่ ผลที่เกิดขึ้นคือปริมาณยาที่คนไข้ทานนั้นลดลงเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยสามารถรักษาระดับน้ำตาลได้ดี สุขภาพดีขึ้น มีหน้าตาและรอยยิ้มที่สดใส ที่สำคัญกล้าที่จะสอบถามเกี่ยวกับเรื่องยา ปัญหาสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ถุงยาที่ทางสถานีอนามัยใช้ก็ลดลงอย่างมาก”
นางจรรยาวัฒน์ กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จในกรณีตัวอย่างการดูแลผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มนี้ คือ การเปิดใจยอมรับฟังคนไข้ด้วยหัวใจของเจ้าหน้าที่ ไม่ปล่อยผ่านปัญหาด้วยการตัดสินคนไข้จากภายนอก แต่ปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด มองคนไข้ด้วยหัวใจมากขึ้น จากเดิมที่โทษคนไข้ ก็พยายามเอาใจเข้าถึงปัญหาที่อยู่ภายในของคนไข้ และพร้อมจะปฏิบัติงานเชิงรุกด้วยการ เดินเข้าไปหาไปพูดคุยและยอมรับในปัญหาซึ่งเป็นบริบทส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไข้ที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหา
“สิ่งที่ได้ตอบกลับมาอย่างชัดเจนคือสัมพันธภาพที่ดีขึ้นระหว่างคนไข้กับผู้ให้บริการ ผู้ป่วยเปิดใจยอมรับมากขึ้น เข้าใจการทำงานของเรามากขึ้น ความสัมพันธ์เปลี่ยนไปไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่กับผู้ป่วย แต่เป็นเสมือนเพื่อน ญาติ ที่ช่วยแก้ปัญหาให้เข้าได้ ขณะเดียวกันผู้ที่ทำงานเองก็มีความสุข เมื่อเห็นความสำเร็จ ก็ไม่ท้อ และอยากทำงานเพื่อช่วยเหลือคนไข้และพัฒนาวิชาชีพต่อไป”
ปัญหาหนึ่งในระบบสุขภาพปัจจุบัน คือ ช่องว่างความสัมพันธ์ที่ไม่เข้าใจกันระหว่างโรงพยาบาลกับประชาชน การเปิดใจยอมรับฟังและใช้หัวใจมองข้ามโรคร้ายไปยังเบื้องลึกของปัญหา นับเป็นตัวอย่างเรื่องเล่าดีๆของชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย ที่จะช่วยเป็นแนวทางให้แพทย์และพยาบาลเข้าถึงหัวใจของคนไข้มากขึ้น และเรื่องเล่าดี ๆ ของการให้บริการทางการแพทย์ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างนี้ยังมีอีกมาก ซึ่งจะมีการนำเสนอในงาน การประชุมวิชาการเรื่อง “ระดมพลังสร้างระบบสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ให้เต็มทุกอำเภอ” ซึ่งแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (มสส.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) จัดขึ้นใน วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2551 เวลา 08.30-16.00 น. ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ฯ กรุงเทพฯ
มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์
.............................................................................................................................................................................................................
ปัญหาหนึ่งในการรักษาพยาบาลคือนับวันคนไข้กลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ผู้ป่วยเก่ารักษาไม่หายขาด ขณะที่ผู้ป่วยใหม่ก็มีอุบัติการณ์มากขึ้น ซึ่ง สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดมาจากการเข้าไม่ถึงปัญหาของคนไข้อย่างแท้จริง
นางจรรยาวัฒน์ ทับจันทร์ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ประธาน ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ด้วยกรอบของการทำงานบางครั้งอาจทำให้การดูแลรักษาของพยาบาลดูได้เพียงแค่โรคหรือปัจจัยภายนอก มักจะมองไม่เห็นปัญหาที่ภายในจิตใจของคนไข้ เช่น ในกรณีของผู้ป่วยสูงอายุซึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวานรายหนึ่ง เมื่อมาตรวจพบว่าน้ำตาลขึ้นสูง เ ราก็จะคิดก่อนเลยว่าคนไข้ต้องไปกินของหวานมาแน่ๆ บ่อยครั้งเข้าพยาบาลก็เริ่มมีอารมณ์และพูดกับคนไข้ในน้ำเสียงที่ดุขึ้น แต่เมื่อสืบสาวไปที่ต้นเหตุจริงๆกลับพบว่า สาเหตุที่ระดับน้ำตาลสูงเนื่องจากคนไข้อยู่บ้านคนเดียวโดยจะมีญาติเป็นผู้จัดอาหารไว้ให้ จึงต้องกินตามนั้นเพราะไม่มีทางเลือก การแก้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่คนไข้ แต่ต้องลงไปพูดคุยกับญาติเพื่อให้เกิดความเข้าใจและจัดอาหารมีความเหมาะสมกับคนไข้มากขึ้น นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้การดูแลคนไข้ไม่ประสบผล ขณะเดียวกันพยาบาลเองก็ไม่สบายใจคิดว่าคนไข้ไม่เชื่อฟัง รักษาคนไข้ไม่หาย เป็นผลให้การทำงานไม่มีความสุข
ด้วยชนวนของปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง กอปรกับสุขภาวะของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้พยาบาลชุมชนหันมารวมตัวกันจัดทำ “ โครงการพัฒนาต้นแบบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในบริบทพยาบาล” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนาบุคลากรที่สามารถรับฟังและเข้าถึงปัญหาภายในจิตใจของคนไข้มากขึ้น ทั้งยังสามารถ สร้างกระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนของผู้ป่วย
“โครงการพัฒนาต้นแบบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในบริบทพยาบาล เป็นโครงการที่เกิดจากการรวมตัวกันของพยาบาลที่ “มีใจ” มาร่วมเป็น “อาสาสมัคร” ที่อยากจะพัฒนาวิชาชีพของตนเองเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยจริงๆ”
นางจรรยาวัฒน กล่าวต่อว่า อันดับแรกผู้ปฏิบัติเองต้องมีใจก่อนจึงจะมองเห็นปัญหาของคนไข้ได้ เมื่อได้อาสาสมัครทางโครงการจะมีการจัดอบรมโดยมุ่งเน้นให้พยาบาล เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงานจากเชิงรับสู่ปฏิบัติการเชิงรุก เดินเข้าหาคนไข้เพื่อค้นหา ข้อมูลจริง ในพื้นที่ ด้วยการพูดคุยกับญาติ คนในชุมชน เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง และมีกระบวนการคืนข้อมูลสู่ชุมชนผ่านการจัดเวที หรือการพูดคุย ให้ชาวบ้านได้รับรู้และตระหนักถึงปัญหา เพื่อให้เกิดการแก้ไขที่ตรงจุดอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน
ทั้งนี้ ภายหลังกระบวนการอบรมมีพยาบาลหลายท่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำงานจนเกิดความสำเร็จในการแก้ปัญหาของชุมชน โดยตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือนางสาว ปราณี ประไพวัชรพันธ์ หัวหน้าสถานีอนามัยนาราก อ.คอนบุรี จ.นครราชสีมา ที่สามารถแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนด้วย “โครงการหิ้วตะกร้าไปหาหมอ”
นางจรรยาวัฒน์ เล่าว่า ในช่วงนั้นที่สถานีอนามัยนารากมีปัญหาเรื่องผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันเยอะขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งต้องขอหมอในโรงพยาบาลมาช่วยตรวจเป็นครั้งคราว กระทั่งวันหนึ่งผู้ป่วยมีอาการช็อกเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงอย่างมาก จึงเกิดความสงสัยและเข้าไปพูดคุยกับผู้ป่วย พบว่า คนไข้กินยาชนิดเดียวกันถึง 3 เม็ด แต่เมื่อตรวจสอบประวัติกลับพบว่าต้องกินยาเพียงเม็ดเดียวเท่านั้น ซึ่งในตอนแรกคิดว่าผู้ป่วยเข้าใจวิธีการกินยาผิด แต่เมื่อเข้าไปสอบถามญาติเพิ่มเติมกลับพบว่าผู้ป่วยไปพบแพทย์ถึง 3 โรงพยาบาล และกินยาทั้งหมดพร้อมกัน
ไม่เพียงความผิดปรกติของคนไข้รายแรกที่พบ แต่ด้วยความใส่ใจของปราณี จึงกลับไปตรวจสอบประวัติคนไข้ในชุมชนและพบว่ามีผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะไตเสื่อมเนื่องจากรับประทานยามากเกินไป จึงได้ลงไปเยี่ยมผู้ป่วยในชุมชน ซึ่งพบว่าผู้ป่วยแต่ละคนนั้นมียาเบาหวานเก็บไว้ในตะกร้าเป็นจำนวนมาก จากนั้นจึงได้มีกระบวนการคืนข้อมูลสู่ชุมชนด้วยการพูดคุยกับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อให้รับทราบถึงปัญหา และอันตรายที่เกิดจากการกินยาเกินขนาด พร้อมทั้งได้ร่วมกันคิดแนวทางการแก้ปัญหาภายใต้ชื่อ โครงการหิ้วตะกร้าไปหาหมอ
“โครงการหิ้วตะกร้าไปหาหมอ คือการให้ผู้ป่วยนำตะกร้าใส่ยาทั้งหมดมาที่อนามัย เพื่อตรวจดูว่ามียาอะไรบ้าง พร้อมทั้งปรับวิธีการกินยาใหม่ให้ถูกต้อง อีกทั้งมีการแนะนำวิธีการกินยาที่ชัดเจนเขียนรวมถึงเขียนวันเวลาที่รับประทานตัวใหญ่ๆไว้ที่หน้าซองเพื่อให้คนไข้เห็น เมื่อถึงวันนัดก็ให้ผู้ป่วยนำตะกร้าใส่ยากลับมา เพื่อตรวจสอบว่าคนไข้ทานยาหรือไม่ ผลที่เกิดขึ้นคือปริมาณยาที่คนไข้ทานนั้นลดลงเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยสามารถรักษาระดับน้ำตาลได้ดี สุขภาพดีขึ้น มีหน้าตาและรอยยิ้มที่สดใส ที่สำคัญกล้าที่จะสอบถามเกี่ยวกับเรื่องยา ปัญหาสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ถุงยาที่ทางสถานีอนามัยใช้ก็ลดลงอย่างมาก”
นางจรรยาวัฒน์ กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จในกรณีตัวอย่างการดูแลผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มนี้ คือ การเปิดใจยอมรับฟังคนไข้ด้วยหัวใจของเจ้าหน้าที่ ไม่ปล่อยผ่านปัญหาด้วยการตัดสินคนไข้จากภายนอก แต่ปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด มองคนไข้ด้วยหัวใจมากขึ้น จากเดิมที่โทษคนไข้ ก็พยายามเอาใจเข้าถึงปัญหาที่อยู่ภายในของคนไข้ และพร้อมจะปฏิบัติงานเชิงรุกด้วยการ เดินเข้าไปหาไปพูดคุยและยอมรับในปัญหาซึ่งเป็นบริบทส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไข้ที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหา
“สิ่งที่ได้ตอบกลับมาอย่างชัดเจนคือสัมพันธภาพที่ดีขึ้นระหว่างคนไข้กับผู้ให้บริการ ผู้ป่วยเปิดใจยอมรับมากขึ้น เข้าใจการทำงานของเรามากขึ้น ความสัมพันธ์เปลี่ยนไปไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่กับผู้ป่วย แต่เป็นเสมือนเพื่อน ญาติ ที่ช่วยแก้ปัญหาให้เข้าได้ ขณะเดียวกันผู้ที่ทำงานเองก็มีความสุข เมื่อเห็นความสำเร็จ ก็ไม่ท้อ และอยากทำงานเพื่อช่วยเหลือคนไข้และพัฒนาวิชาชีพต่อไป”
ปัญหาหนึ่งในระบบสุขภาพปัจจุบัน คือ ช่องว่างความสัมพันธ์ที่ไม่เข้าใจกันระหว่างโรงพยาบาลกับประชาชน การเปิดใจยอมรับฟังและใช้หัวใจมองข้ามโรคร้ายไปยังเบื้องลึกของปัญหา นับเป็นตัวอย่างเรื่องเล่าดีๆของชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย ที่จะช่วยเป็นแนวทางให้แพทย์และพยาบาลเข้าถึงหัวใจของคนไข้มากขึ้น และเรื่องเล่าดี ๆ ของการให้บริการทางการแพทย์ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างนี้ยังมีอีกมาก ซึ่งจะมีการนำเสนอในงาน การประชุมวิชาการเรื่อง “ระดมพลังสร้างระบบสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ให้เต็มทุกอำเภอ” ซึ่งแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (มสส.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) จัดขึ้นใน วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2551 เวลา 08.30-16.00 น. ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ฯ กรุงเทพฯ