ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยความเข้มแข็งงานระบาดวิทยาของไทยโดดเด่น กลุ่มพันธมิตรอาเซียน+3 กลุ่มแอคเมคส์ และโครงการเฝ้าระวังโรคกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ขอให้เป็นเจ้าภาพจัดตั้งโครงการฝึกอบรมด้านระบาดวิทยาภาคสนามให้เวียดนาม กัมพูชา และพม่า สร้างความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังโรคระบาดในภูมิภาค
วันนี้ ที่โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น ศุภาลัย รีสอร์ตแอนด์สปา ภูเก็ต นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดการประชุมผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โครงการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนามประเทศอินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น องค์การอนามัยโลก ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา และองค์กรต่างประเทศอื่นๆ รวม 50 คน เพื่อสร้างเสริมศักยภาพโครงการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนามในภูมิภาคเอเชีย (Capacity Building in Field Epidemiology Training Program in Asia Sub-region Meeting) และจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนการจัดตั้งโครงการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนามในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 มกราคม 2551
นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคติดต่อต่างๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นและแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วกว่าในอดีต เนื่องจากความสะดวกในการคมนาคมและผลของโลกร้อน ทำให้โรคบางชนิดระบาดรุนแรงขึ้น ที่เห็นชัดเจน ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย อหิวาตกโรค ซึ่งพบในประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่กำลังเป็นที่จับตาทั่วโลกขณะนี้ คือ โรคไข้หวัดนกในคน ซึ่งตั้งแต่ปี 2546-21 มกราคม 2551 พบผู้ติดเชื้อ 351 ราย รักษาหาย 132 ราย เสียชีวิต 219 ราย ใน 14 ประเทศ ร้อยละ 80 อยู่ในเอเชีย และโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากการผสมของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประเมินความเสี่ยงการระบาดโรคนี้ว่า อยู่ในระยะที่ 3 จากทั้งหมด 6 ระดับ พบว่ามีการติดเชื้อจากคนสู่คนแต่อยู่ในวงจำกัด
ในการรับมือกับโรคดังกล่าว ทุกประเทศต้องพัฒนางานระบาดวิทยาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อตรวจหาต้นตอการระบาด และควบคุมโรคได้ทันการณ์ ซึ่งศักยภาพงานระบาดวิทยาของประเทศไทย จัดว่าเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยไทยได้จัดตั้งโครงการฝึกอบรมแพทย์ด้านระบาดวิทยาภาคสนาม หลักสูตร 2 ปี ตั้งแต่ปี 2523 โดยการสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชีย ขณะนี้มีทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 1,500 ทีม สามารถปฏิบัติการทันทีหากมีโรคระบาด และยังช่วยผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขานี้ให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น กัมพูชา ลาว พม่า มาเลเซีย เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) ด้วย ปัจจุบันมีแพทย์ที่สำเร็จการอบรมรวม 125 คน ซึ่งได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนางานระบาดวิทยาของประเทศ ทั้งการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรค การตั้งหน่วยระบาดวิทยาและการสร้างทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว
ด้านนายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กล่าวว่า จากความสำเร็จของไทย กลุ่มพันธมิตรอาเซียน+3 กลุ่มประเทศตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) และโครงการเฝ้าระวังโรคกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (MBDS) ได้ขอให้กระทรวงสาธารณสุขไทยร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการสร้างความเข้มแข็งด้านระบาดวิทยา ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้ช่วยจัดตั้งโครงการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนามในประเทศลุ่มน้ำโขง ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา และพม่า เพื่อพัฒนาเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังโรคให้สามารถรับมือกับการระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคตามแนวชายแดน การแลกเปลี่ยนข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตลอดจนความร่วมมือในการสอบสวนโรคระหว่างประเทศ
วันนี้ ที่โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น ศุภาลัย รีสอร์ตแอนด์สปา ภูเก็ต นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดการประชุมผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โครงการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนามประเทศอินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น องค์การอนามัยโลก ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา และองค์กรต่างประเทศอื่นๆ รวม 50 คน เพื่อสร้างเสริมศักยภาพโครงการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนามในภูมิภาคเอเชีย (Capacity Building in Field Epidemiology Training Program in Asia Sub-region Meeting) และจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนการจัดตั้งโครงการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนามในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 มกราคม 2551
นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคติดต่อต่างๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นและแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วกว่าในอดีต เนื่องจากความสะดวกในการคมนาคมและผลของโลกร้อน ทำให้โรคบางชนิดระบาดรุนแรงขึ้น ที่เห็นชัดเจน ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย อหิวาตกโรค ซึ่งพบในประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่กำลังเป็นที่จับตาทั่วโลกขณะนี้ คือ โรคไข้หวัดนกในคน ซึ่งตั้งแต่ปี 2546-21 มกราคม 2551 พบผู้ติดเชื้อ 351 ราย รักษาหาย 132 ราย เสียชีวิต 219 ราย ใน 14 ประเทศ ร้อยละ 80 อยู่ในเอเชีย และโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากการผสมของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประเมินความเสี่ยงการระบาดโรคนี้ว่า อยู่ในระยะที่ 3 จากทั้งหมด 6 ระดับ พบว่ามีการติดเชื้อจากคนสู่คนแต่อยู่ในวงจำกัด
ในการรับมือกับโรคดังกล่าว ทุกประเทศต้องพัฒนางานระบาดวิทยาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อตรวจหาต้นตอการระบาด และควบคุมโรคได้ทันการณ์ ซึ่งศักยภาพงานระบาดวิทยาของประเทศไทย จัดว่าเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยไทยได้จัดตั้งโครงการฝึกอบรมแพทย์ด้านระบาดวิทยาภาคสนาม หลักสูตร 2 ปี ตั้งแต่ปี 2523 โดยการสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชีย ขณะนี้มีทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 1,500 ทีม สามารถปฏิบัติการทันทีหากมีโรคระบาด และยังช่วยผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขานี้ให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น กัมพูชา ลาว พม่า มาเลเซีย เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) ด้วย ปัจจุบันมีแพทย์ที่สำเร็จการอบรมรวม 125 คน ซึ่งได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนางานระบาดวิทยาของประเทศ ทั้งการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรค การตั้งหน่วยระบาดวิทยาและการสร้างทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว
ด้านนายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กล่าวว่า จากความสำเร็จของไทย กลุ่มพันธมิตรอาเซียน+3 กลุ่มประเทศตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) และโครงการเฝ้าระวังโรคกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (MBDS) ได้ขอให้กระทรวงสาธารณสุขไทยร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการสร้างความเข้มแข็งด้านระบาดวิทยา ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้ช่วยจัดตั้งโครงการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนามในประเทศลุ่มน้ำโขง ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา และพม่า เพื่อพัฒนาเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังโรคให้สามารถรับมือกับการระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคตามแนวชายแดน การแลกเปลี่ยนข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตลอดจนความร่วมมือในการสอบสวนโรคระหว่างประเทศ