กรมทรัพยากรธรณีร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าตรวจสอบพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง จ.เชียงราย เพื่อลดความเสี่ยงจากธรณีพิบัติภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมป้องกัน
นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ไฟป่าในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ป่าสนที่ปกคลุมพื้นที่โครงการถูกเผาตายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่โดยรอบพระตำหนักดอยตุงและพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง ซึ่งอาจมีความเสี่ยงจากภัยดินถล่มสูงขึ้น กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มและพื้นที่อาจได้รับผลกระทบจากดินถล่มในบริเวณดังกล่าว จากการเข้าตรวจสอบพื้นที่ในเบื้องต้นพบพื้นที่ที่เกิดไฟป่าในโครงการพัฒนาดอยตุง 8 พื้นที่ โดยเฉพาะ บริเวณพื้นที่พระตำหนักดอยตุง เป็นพื้นที่รับความเสียหายจากไฟป่ามากที่สุด คลุมเนื้อที่ประมาณ 0.8 ตารางกิโลเมตร ส่วนอีก 7 พื้นที่ อยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง พื้นที่ต้นน้ำของห้วยแม่ไร่
“พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มที่สำคัญ คือ บริเวณพระตำหนักดอยตุง ซึ่งพบรอยดินไหลบริเวณที่มีไฟป่าไหม้บริเวณด้านหลังพระตำหนักดอยตุง และมีพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก คือ พื้นที่หมู่บ้านห้วยไร่สามัคคี บ้านห้วยน้ำขุ่น และบ้านศาลาเชิงดอย บริเวณที่ลาดเชิงเขาของห้วยแม่ไร่ มีบ้านเรือนจำนวนมากปลูกสร้างขวางทางน้ำไหล กรมทรัพยากรธรณีจึงแบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็นพื้นที่พระตำหนักดอยตุงและพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่ปรึกษา”นายอภิชัยกล่าว
ผลการดำเนินงานในส่วนพื้นที่พระตำหนักดอยตุงพบว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากดินไหลมี 2 แห่ง ได้แก่ พื้นที่รอยแยกบนพื้นถนนไหล่เขาทางขึ้นพระตำหนักดอยตุง และพื้นที่ด้านหลังพระตำหนักดอยตุงทางทิศเหนือ ที่ปรึกษาได้ติดตั้งอุปกรณ์วัดการเคลื่อนตัวของลาดดิน โดยโครงการพัฒนาดอยตุง สามารถตรวจสอบโดยอ่านและบันทึกค่าการเคลื่อนตัวของลาดดิน ได้มีการจัดทำแผนที่โอกาสเกิดดินถล่มในพื้นที่ศึกษาโดยพิจารณาปัจจัยจากผลการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน ร่วมกับสภาพสิ่งปกคลุมดิน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกันการพิบัติของลาดดิน ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงต่อไป และเสนอแนะแนวทางการใช้พื้นที่ป่าช่วยเป็นแนวกันไฟในบริเวณพื้นที่ใกล้กับแนวถนนหรือบริเวณที่มีการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ
ด้านพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง กรมทรัพยากรธรณีได้จัดการซักซ้อมการเฝ้าระวังและการแจ้งเหตุธรณีพิบัติภัยดินถล่ม โดยร่วมกับโครงการพัฒนาดอยตุง ศูนย์สำรวจอุทกวิทยาเชียงแสน กรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) อส. กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทางหลวง นอกจากนี้ ยังได้ให้กรมทรัพยากรน้ำ วางระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน โดยได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำฝนแบบอัตโนมัติและส่งข้อมูลได้ตามเวลาจริง (Real time) ทุก 15 นาที ณ พื้นที่ต้นน้ำที่หมู่บ้านมูเซอป่ากล้วย พร้อมทั้งจัดหาแหล่งน้ำดิบเพื่อการอุปโภคบริโภคและใช้เป็นแหล่งน้ำในการดับไฟป่าอีกด้วย
นอกจากนี้ กรมทรัพยากรธรณียังได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายจากเหตุการณ์ดินไหลบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กหมู่บ้านอีก้อป่ากล้วยและสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดอยตุง เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะทำการออกแบบโครงสร้างการป้องกันดินไหลโดยวิธีทางวิศวกรรมและทางกรมทรัพยากรธรณีจะเป็นผู้ดำเนินงานและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมทางหลวงในการทำผนังกั้นป้องกันดินไหล และกรมทรัพยากรน้ำในการจัดทำแนวกันไฟโดยไม่ให้ทับเส้นทางน้ำไหล เป็นต้น
นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ไฟป่าในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ป่าสนที่ปกคลุมพื้นที่โครงการถูกเผาตายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่โดยรอบพระตำหนักดอยตุงและพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง ซึ่งอาจมีความเสี่ยงจากภัยดินถล่มสูงขึ้น กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มและพื้นที่อาจได้รับผลกระทบจากดินถล่มในบริเวณดังกล่าว จากการเข้าตรวจสอบพื้นที่ในเบื้องต้นพบพื้นที่ที่เกิดไฟป่าในโครงการพัฒนาดอยตุง 8 พื้นที่ โดยเฉพาะ บริเวณพื้นที่พระตำหนักดอยตุง เป็นพื้นที่รับความเสียหายจากไฟป่ามากที่สุด คลุมเนื้อที่ประมาณ 0.8 ตารางกิโลเมตร ส่วนอีก 7 พื้นที่ อยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง พื้นที่ต้นน้ำของห้วยแม่ไร่
“พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มที่สำคัญ คือ บริเวณพระตำหนักดอยตุง ซึ่งพบรอยดินไหลบริเวณที่มีไฟป่าไหม้บริเวณด้านหลังพระตำหนักดอยตุง และมีพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก คือ พื้นที่หมู่บ้านห้วยไร่สามัคคี บ้านห้วยน้ำขุ่น และบ้านศาลาเชิงดอย บริเวณที่ลาดเชิงเขาของห้วยแม่ไร่ มีบ้านเรือนจำนวนมากปลูกสร้างขวางทางน้ำไหล กรมทรัพยากรธรณีจึงแบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็นพื้นที่พระตำหนักดอยตุงและพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่ปรึกษา”นายอภิชัยกล่าว
ผลการดำเนินงานในส่วนพื้นที่พระตำหนักดอยตุงพบว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากดินไหลมี 2 แห่ง ได้แก่ พื้นที่รอยแยกบนพื้นถนนไหล่เขาทางขึ้นพระตำหนักดอยตุง และพื้นที่ด้านหลังพระตำหนักดอยตุงทางทิศเหนือ ที่ปรึกษาได้ติดตั้งอุปกรณ์วัดการเคลื่อนตัวของลาดดิน โดยโครงการพัฒนาดอยตุง สามารถตรวจสอบโดยอ่านและบันทึกค่าการเคลื่อนตัวของลาดดิน ได้มีการจัดทำแผนที่โอกาสเกิดดินถล่มในพื้นที่ศึกษาโดยพิจารณาปัจจัยจากผลการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน ร่วมกับสภาพสิ่งปกคลุมดิน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกันการพิบัติของลาดดิน ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงต่อไป และเสนอแนะแนวทางการใช้พื้นที่ป่าช่วยเป็นแนวกันไฟในบริเวณพื้นที่ใกล้กับแนวถนนหรือบริเวณที่มีการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ
ด้านพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง กรมทรัพยากรธรณีได้จัดการซักซ้อมการเฝ้าระวังและการแจ้งเหตุธรณีพิบัติภัยดินถล่ม โดยร่วมกับโครงการพัฒนาดอยตุง ศูนย์สำรวจอุทกวิทยาเชียงแสน กรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) อส. กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทางหลวง นอกจากนี้ ยังได้ให้กรมทรัพยากรน้ำ วางระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน โดยได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำฝนแบบอัตโนมัติและส่งข้อมูลได้ตามเวลาจริง (Real time) ทุก 15 นาที ณ พื้นที่ต้นน้ำที่หมู่บ้านมูเซอป่ากล้วย พร้อมทั้งจัดหาแหล่งน้ำดิบเพื่อการอุปโภคบริโภคและใช้เป็นแหล่งน้ำในการดับไฟป่าอีกด้วย
นอกจากนี้ กรมทรัพยากรธรณียังได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายจากเหตุการณ์ดินไหลบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กหมู่บ้านอีก้อป่ากล้วยและสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดอยตุง เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะทำการออกแบบโครงสร้างการป้องกันดินไหลโดยวิธีทางวิศวกรรมและทางกรมทรัพยากรธรณีจะเป็นผู้ดำเนินงานและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมทางหลวงในการทำผนังกั้นป้องกันดินไหล และกรมทรัพยากรน้ำในการจัดทำแนวกันไฟโดยไม่ให้ทับเส้นทางน้ำไหล เป็นต้น