ทีมนักวิจัยจุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการผลิตลูกแมวจากกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือไอวีเอฟ เผยเป็นรายงานความสำเร็จครั้งแรกในไทย ระบุ สามารถนำไปเป็นต้นแบบในงานอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ในอนาคตได้
น.ส.เปล่งศรี อิงคนันท์ ผู้ช่วยคณบดีด้านข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทีมนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการผลิตลูกแมวจากกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือ ไอวีเอฟ จากผลการย้ายฝากตัวอ่อนไอวีเอฟสู่แมวตัวรับทั้งหมด 7 ตัว พบว่า สามารถตั้งท้องทั้งหมด จนถึงปัจจุบันมีแมวตัวรับ 3 ตัว ให้กำเนิดลูกแมวไอวีเอฟในระยะการตั้งท้องที่ปกติ ได้ลูกแมวทั้งหมด 5 ตัว และกำลังรอการคลอดอีก 1 ตัว นับเป็นรายงานความสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทย ทั้งนี้ งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ สพ.ญ.อัมพิกา ทองภักดี นิสิตภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นนิสิตของโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการศึกษาการพัฒนาของตัวอ่อนแมวป่าหัวแบน และการย้ายฝากตัวอ่อน ในความร่วมมือระหว่างภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์
“ความสำคัญของงานวิจัยนี้อยู่ตรงที่สามารถนำไปเป็นต้นแบบในงานอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ต่อไปในอนาคต เพราะไอวีเอฟเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการเพิ่มประชากรสัตว์ที่มีพันธุกรรมดี หรือใกล้สูญพันธุ์ ช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สมบูรณ์พันธุ์ได้ เช่น มดลูกผิดปกติ มีถุงน้ำที่รังไข่ น้ำเชื้อมีความเข้มข้นของตัวอสุจิน้อยหรือตัวอสุจิมีความผิดปกติ สัตว์ไม่สามารถผสมพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ เช่น ขาหัก สัตว์ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่เข้าคู่กัน นอกจากนี้ ยังสามารถผลิตลูกสัตว์จากน้ำเชื้อที่แช่แข็งเก็บไว้ และสามารถนำเอาเซลล์สืบพันธุ์จากสัตว์ที่ตายแล้วมาผลิตลูกสัตว์ได้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งในวงการสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าของประเทศไทย”
น.ส.เปล่งศรี กล่าวต่อว่า งานวิจัยนี้ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยม ในงานประชุมสัตวแพทยสมาคม ครั้งที่ 33 และยังได้นำเสนอผลงานในงานประชุม International Conference on Reproductive Biotechnologies for Conservation of Biodiversity and Sustainable Development, Hanoi, Vietnam 17th-18th December, 2007
น.ส.เปล่งศรี อิงคนันท์ ผู้ช่วยคณบดีด้านข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทีมนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการผลิตลูกแมวจากกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือ ไอวีเอฟ จากผลการย้ายฝากตัวอ่อนไอวีเอฟสู่แมวตัวรับทั้งหมด 7 ตัว พบว่า สามารถตั้งท้องทั้งหมด จนถึงปัจจุบันมีแมวตัวรับ 3 ตัว ให้กำเนิดลูกแมวไอวีเอฟในระยะการตั้งท้องที่ปกติ ได้ลูกแมวทั้งหมด 5 ตัว และกำลังรอการคลอดอีก 1 ตัว นับเป็นรายงานความสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทย ทั้งนี้ งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ สพ.ญ.อัมพิกา ทองภักดี นิสิตภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นนิสิตของโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการศึกษาการพัฒนาของตัวอ่อนแมวป่าหัวแบน และการย้ายฝากตัวอ่อน ในความร่วมมือระหว่างภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์
“ความสำคัญของงานวิจัยนี้อยู่ตรงที่สามารถนำไปเป็นต้นแบบในงานอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ต่อไปในอนาคต เพราะไอวีเอฟเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการเพิ่มประชากรสัตว์ที่มีพันธุกรรมดี หรือใกล้สูญพันธุ์ ช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สมบูรณ์พันธุ์ได้ เช่น มดลูกผิดปกติ มีถุงน้ำที่รังไข่ น้ำเชื้อมีความเข้มข้นของตัวอสุจิน้อยหรือตัวอสุจิมีความผิดปกติ สัตว์ไม่สามารถผสมพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ เช่น ขาหัก สัตว์ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่เข้าคู่กัน นอกจากนี้ ยังสามารถผลิตลูกสัตว์จากน้ำเชื้อที่แช่แข็งเก็บไว้ และสามารถนำเอาเซลล์สืบพันธุ์จากสัตว์ที่ตายแล้วมาผลิตลูกสัตว์ได้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งในวงการสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าของประเทศไทย”
น.ส.เปล่งศรี กล่าวต่อว่า งานวิจัยนี้ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยม ในงานประชุมสัตวแพทยสมาคม ครั้งที่ 33 และยังได้นำเสนอผลงานในงานประชุม International Conference on Reproductive Biotechnologies for Conservation of Biodiversity and Sustainable Development, Hanoi, Vietnam 17th-18th December, 2007