ออกเกณฑ์คุมวิชาชีพครู กำหนดการประเมินวิทยฐานะ 3 ด้าน “จรรยาบรรณ-คุณภาพการปฏิบัติงาน-ผลการปฏิบัติงาน” โดยการประเมินจรรยาบรรณ และผลปฏิบัติงานใช้เกณฑ์ให้ผ่านหรือไม่ ต้องเป็นเอกฉันท์ ส่วนด้านคุณภาพกำหนดคะแนนขั้นต่ำ แตกต่างกันตามสายงาน คาดเริ่มประเมินภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551
ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งมี ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ได้ให้ความเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะ ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งแล้ว โดยกำหนดให้มีการประเมินผู้ที่อยู่ในวิทยฐานะต่างๆ ทั้งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ ในทุกๆ 3 ปี หากไม่ผ่านการประเมินก็จะให้โอกาสในการพัฒนา 2 ครั้ง แต่ถ้าไม่ผ่านก็งดการจ่ายเงินวิทยฐานะไปจนกว่าจะผ่านการประเมิน โดยคาดว่าจะเริ่มประเมินผู้มีวิทยฐานะได้ในภาคเรียนที่ 1/2551 นั้น
ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะประธานคณะทำงาน เปิดเผยว่า การประเมินจะประเมินใน 3 ด้าน คือ 1.ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 2.ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน ประเมิน และ 3.ด้านผลการปฏิบัติงาน
“การประเมินด้านความประพฤติวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ จะประเมินจากพฤติกรรมการดำรงตนทั้งในและนอกสถานศึกษา ส่วนด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน ประเมินจากสมรรถนะตามตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ ของผู้รับการประเมิน สำหรับด้านผลการปฏิบัติงาน จะประเมินจากประจักษ์พยานที่แสดงถึงความรู้ความสามารถ สมรรถนะ และทักษะ ซึ่งตรวจสอบจากการมีชิ้นงานที่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์แล้ว ซึ่งอาจเป็นชิ้นงานใหม่ หรือชิ้นงานเดิมที่เคยขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ แต่ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยเกณฑ์การตัดสินด้านที่ 1 และด้านที่ 3 จะใช้เกณฑ์การตัดสินว่า ผ่านหรือไม่ผ่านเป็นเอกฉันท์ แต่ด้านที่ 2 จะใช้คะแนนตัดสิน โดยวิทยฐานะชำนาญการต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 65% ชำนาญการพิเศษ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 70% เชี่ยวชาญ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 75% เชี่ยวชาญพิเศษ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 80% จึงผ่าน อย่างไรก็ตาม การประเมินสมรรถนะจะมีความแตกต่างกันตามสายงานและระดับวิทยฐานะ”
ดร.พลสัณห์ กล่าวอีกต่า ขอย้ำว่า การประเมินเพื่อการดำรงอยู่ในวิทยฐานะนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะกระตุ้นให้ ครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ได้มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา จัดการศึกษาได้ดี มีประสิทธิภาพ และตอบสังคมได้ว่าการที่กำหนดให้ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง มีเงินตำแหน่ง และเงินวิทยฐานะเป็นสิ่งที่เหมาะสมและสมควร
ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งมี ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ได้ให้ความเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะ ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งแล้ว โดยกำหนดให้มีการประเมินผู้ที่อยู่ในวิทยฐานะต่างๆ ทั้งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ ในทุกๆ 3 ปี หากไม่ผ่านการประเมินก็จะให้โอกาสในการพัฒนา 2 ครั้ง แต่ถ้าไม่ผ่านก็งดการจ่ายเงินวิทยฐานะไปจนกว่าจะผ่านการประเมิน โดยคาดว่าจะเริ่มประเมินผู้มีวิทยฐานะได้ในภาคเรียนที่ 1/2551 นั้น
ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะประธานคณะทำงาน เปิดเผยว่า การประเมินจะประเมินใน 3 ด้าน คือ 1.ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 2.ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน ประเมิน และ 3.ด้านผลการปฏิบัติงาน
“การประเมินด้านความประพฤติวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ จะประเมินจากพฤติกรรมการดำรงตนทั้งในและนอกสถานศึกษา ส่วนด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน ประเมินจากสมรรถนะตามตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ ของผู้รับการประเมิน สำหรับด้านผลการปฏิบัติงาน จะประเมินจากประจักษ์พยานที่แสดงถึงความรู้ความสามารถ สมรรถนะ และทักษะ ซึ่งตรวจสอบจากการมีชิ้นงานที่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์แล้ว ซึ่งอาจเป็นชิ้นงานใหม่ หรือชิ้นงานเดิมที่เคยขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ แต่ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยเกณฑ์การตัดสินด้านที่ 1 และด้านที่ 3 จะใช้เกณฑ์การตัดสินว่า ผ่านหรือไม่ผ่านเป็นเอกฉันท์ แต่ด้านที่ 2 จะใช้คะแนนตัดสิน โดยวิทยฐานะชำนาญการต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 65% ชำนาญการพิเศษ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 70% เชี่ยวชาญ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 75% เชี่ยวชาญพิเศษ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 80% จึงผ่าน อย่างไรก็ตาม การประเมินสมรรถนะจะมีความแตกต่างกันตามสายงานและระดับวิทยฐานะ”
ดร.พลสัณห์ กล่าวอีกต่า ขอย้ำว่า การประเมินเพื่อการดำรงอยู่ในวิทยฐานะนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะกระตุ้นให้ ครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ได้มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา จัดการศึกษาได้ดี มีประสิทธิภาพ และตอบสังคมได้ว่าการที่กำหนดให้ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง มีเงินตำแหน่ง และเงินวิทยฐานะเป็นสิ่งที่เหมาะสมและสมควร