นักวิชาการผนึกเอ็นจีโอ จัดประชุมเรื่อง “เพศ” เปิดวงวิพากษ์ทุกซอกมุม ไม่จำกัด ทอม-ดี้-เกย์ หวังเปิดมิติใหม่สนับสนุนสุขภาวะทางเพศ ลดปัญหาเจ็บ-ตาย-อาชญากรรม เพราะเซ็กซ์ไม่ปลอดภัย
น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผจก.แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการโรคเอดส์ของสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เอดส์ ระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีกว่า 40 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในแถบซับซาฮาราแอฟริกา และคาดว่า เมื่อสิ้นปี 2250 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ 3 ล้าน 1 แสนคน ติดเชื้อเพิ่ม 5 ล้านคน ในไทยมีผู้ติดเชื้อสะสม 1 ล้านคน ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้ว 5.6 หมื่นราย โดยปี 2550 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1.4 หมื่นราย 36% เป็นหญิงวัยรุ่นและแม่บ้าน รองลงมา คือ กลุ่มชายรักชาย 24% ทั้งนี้ ความชุกของการติดเชื้อ พบว่า กลุ่มทหารเกณฑ์ และหญิงขายบริการทางเพศลดลง แต่กลุ่มของหญิงตั้งครรภ์กลับเพิ่มขึ้น
“เรื่องเอดส์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาอันเด่นชัด ที่อาจเกิดจากความเข้าใจที่ผิดเรื่องเพศ ซึ่งการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข ชี้ชัดว่า เรื่องเพศที่ไม่ปลอดภัยเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยเจ็บตายโดยไม่จำเป็น ทุกวันนี้การพัฒนานโยบายสาธารณะที่มีผลต่อเรื่องเพศในไทย ยังตามไม่ทันสถานการณ์จริง เพราะติดอยู่ในกรอบอคติทางเพศ เช่น เรื่องเพศเป็นเรื่องสกปรกอันตราย คนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นคนผิดปกติ เพศศึกษาคือการสนับสนุนเซ็กซ์เสรี ทั้งที่การมองเรื่องเพศ ควรเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ทุกคนควรได้รับ”น.ส.ณัฐยา กล่าว
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนการทำงาน พัฒนาความรู้ใหม่ๆ ในทางวิชาการ และผลักดันนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ และสิทธิทางเพศในสังคมไทย มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องผู้หญิง (สคส.) ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ สถาบันวิจัยประชากรทางสังคม ม.มหิดล และอีกหลายภาคี จึงร่วมกันจัด “เพศวิถีศึกษาในสังคมไทย” ครั้งแรก ในวันที่ 7-8 ม.ค.2551 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมหลากหลายกลุ่ม รวมถึงต่างประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย ลาว เวียดนาม
“การมีสุขภาวะไม่มีความปลอดภัย ส่งผลถึงสถิติคดีอาชญากรรมทางเพศที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น และยังไม่มีทางแก้ไขที่ตรงจุด เพราะองค์ความรู้เรื่องเพศของสังคม ยังเต็มไปด้วยความเข้าใจผิดและอคติทางเพศ การประชุมนี้จะพูดคุยทุกเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใด” รศ.ดร.กฤตยา กล่าว
น.ส.อัญชนา สุวรรณานนท์ โครงการจัดตั้งมูลนิธิอัญจารี กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ทุกฝ่ายจะได้เข้ามารับรู้สภาพความเป็นจริงของคนกลุ่มต่างๆ และการเข้าถึงบริการของเขาที่ต้องบกพร่องไป เพราะอคติสังคมต่อเรื่องเพศที่แฝงตัวอยู่ในนโยบายรัฐ และในงานวิชาการ หวังว่า สังคมไทยจะสามารถผสานการทำงานได้ดีทุกภาคส่วน จึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเรื่องเพศวิถีเข้ามาร่วมงาน เพราะการประชุมวิชาการครั้งนี้ถือเป็นการเปิดกว้างทางวิชาการให้ถกเถียงเรื่องเพศเป็นครั้งแรกของสังคม
น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผจก.แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการโรคเอดส์ของสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เอดส์ ระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีกว่า 40 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในแถบซับซาฮาราแอฟริกา และคาดว่า เมื่อสิ้นปี 2250 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ 3 ล้าน 1 แสนคน ติดเชื้อเพิ่ม 5 ล้านคน ในไทยมีผู้ติดเชื้อสะสม 1 ล้านคน ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้ว 5.6 หมื่นราย โดยปี 2550 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1.4 หมื่นราย 36% เป็นหญิงวัยรุ่นและแม่บ้าน รองลงมา คือ กลุ่มชายรักชาย 24% ทั้งนี้ ความชุกของการติดเชื้อ พบว่า กลุ่มทหารเกณฑ์ และหญิงขายบริการทางเพศลดลง แต่กลุ่มของหญิงตั้งครรภ์กลับเพิ่มขึ้น
“เรื่องเอดส์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาอันเด่นชัด ที่อาจเกิดจากความเข้าใจที่ผิดเรื่องเพศ ซึ่งการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข ชี้ชัดว่า เรื่องเพศที่ไม่ปลอดภัยเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยเจ็บตายโดยไม่จำเป็น ทุกวันนี้การพัฒนานโยบายสาธารณะที่มีผลต่อเรื่องเพศในไทย ยังตามไม่ทันสถานการณ์จริง เพราะติดอยู่ในกรอบอคติทางเพศ เช่น เรื่องเพศเป็นเรื่องสกปรกอันตราย คนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นคนผิดปกติ เพศศึกษาคือการสนับสนุนเซ็กซ์เสรี ทั้งที่การมองเรื่องเพศ ควรเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ทุกคนควรได้รับ”น.ส.ณัฐยา กล่าว
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนการทำงาน พัฒนาความรู้ใหม่ๆ ในทางวิชาการ และผลักดันนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ และสิทธิทางเพศในสังคมไทย มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องผู้หญิง (สคส.) ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ สถาบันวิจัยประชากรทางสังคม ม.มหิดล และอีกหลายภาคี จึงร่วมกันจัด “เพศวิถีศึกษาในสังคมไทย” ครั้งแรก ในวันที่ 7-8 ม.ค.2551 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมหลากหลายกลุ่ม รวมถึงต่างประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย ลาว เวียดนาม
“การมีสุขภาวะไม่มีความปลอดภัย ส่งผลถึงสถิติคดีอาชญากรรมทางเพศที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น และยังไม่มีทางแก้ไขที่ตรงจุด เพราะองค์ความรู้เรื่องเพศของสังคม ยังเต็มไปด้วยความเข้าใจผิดและอคติทางเพศ การประชุมนี้จะพูดคุยทุกเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใด” รศ.ดร.กฤตยา กล่าว
น.ส.อัญชนา สุวรรณานนท์ โครงการจัดตั้งมูลนิธิอัญจารี กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ทุกฝ่ายจะได้เข้ามารับรู้สภาพความเป็นจริงของคนกลุ่มต่างๆ และการเข้าถึงบริการของเขาที่ต้องบกพร่องไป เพราะอคติสังคมต่อเรื่องเพศที่แฝงตัวอยู่ในนโยบายรัฐ และในงานวิชาการ หวังว่า สังคมไทยจะสามารถผสานการทำงานได้ดีทุกภาคส่วน จึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเรื่องเพศวิถีเข้ามาร่วมงาน เพราะการประชุมวิชาการครั้งนี้ถือเป็นการเปิดกว้างทางวิชาการให้ถกเถียงเรื่องเพศเป็นครั้งแรกของสังคม