xs
xsm
sm
md
lg

พรรคส้มยื่นแก้ รธน.รายมาตรา มุ่งปรับสรรหาองค์กรอิสระโปร่งใส ปชช.ถอดถอนได้ ลดอิทธิพลการเมือง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ฝ่ายค้านยื่นแก้ รธน.รายมาตรา เน้นปรับกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระให้โปร่งใส เปิดทาง ปชช.ถอดถอนได้ “พริษฐ์” ย้ำ เป้าหมายลดอิทธิพลการเมือง สร้างองค์กรอิสระที่ยึดโยง ปชช. พร้อมวางกรอบเปลี่ยนผ่านหลังผ่านวาระหนึ่ง

วันนี้ (7 ก.ค.) นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน ฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภา พร้อมด้วย สส. พรรคประชาชน ร่วมยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา ในประเด็นว่าด้วยองค์กรอิสระ ต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ฐานะประธานรัฐสภา

โดย นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการสภา จะตรวจสอบรายชื่อ จำนวนตามรัฐธรรมนูญ และมาตราที่แก้ไขทั้งหมด หากครบถ้วนและสมบูรณ์ แล้ว ตามขั้นต้อน ต้องเชิญ คณะกรรมการประสานงาน (วิป) 3 ฝ่าย คือ สว. รัฐบาล และ ผู้นำฝ่ายค้าน หารือว่าจะพิจารณาตามที่ทุกฝ่ายมีความพร้อม

ขณะที่ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคคประชาชน แถลงรายละเอียดว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายเป็นมาตรา นั้นมี 3 ฉบับ คือ 1. ฉบับที่แก้ไขว่าด้วยกระบวนการที่มาและกระบวนการสรรหาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ จากเดิมมีการสรรรหาและเสนอชื่อผ่านคณะกรรมการสรรหา ซึ่งเป็นช่องทางเดียว ส่วนที่แก้ไข คือ ให้มีการเสนอชื่อได้ ช่องทางจากที่ประชุมศาล ช่องทางจาก สส.รัฐบาล ช่องทาง สส.ฝ่ายค้าน และช่องทางของ สว. ทั้งนี้ จะไม่มีการปรับแก้ไขในเรื่องคุณสมบัติ ยกเว้น กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มีความเห็นว่า กรรมการทั้ง 9 คน ควรมีความหลากหลาย

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า 2. แก้ไขในประเด็นการคัดเลือกและเห็นชอบ จากเดิมที่ต้องใช้การลงมติของ สว. ได้แก้ไขให้มาจากการพิจารณาร่วมกันของรัฐสภา และต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐบาล ทั้งนี้ มีเงื่อนไขที่กำหนดว่าต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของ สส.ฝ่ายรัฐบาล และ สส.ฝ่ายค้าน และ 3. เพิ่มเติมในกระบวนการถอดถอน ที่ให้สิทธิ สส. และประชาชน เข้าชื่อ 20,000 คน ยื่นเรื่องถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระได้ ในกรณีที่ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ

“การปรับกระบวนการสรรหาให้ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ คือ การแก้ปัญหาที่องค์กรต่างๆ นั้นไม่ยึดโยงกับประชาชน ทั้งนี้ ข้อเสนอของพรรคประชาชน เชื่อว่า จะได้รับเสียงฉันทามติขั้นต้นจากสมาชิกรัฐสภา โดยทั้ง 3 ฉบับนั้น ให้ศาล และองค์กรไม่เป็นอิสระจากประชาชน แต่อิสระจากการถูกครอบงำจากกลุ่มก้อนทางการเมือง ทั้งนี้ ในประเด็นองค์กรอิสระที่ผ่านมา ถือเป็นระเบิดเวลาที่ต้องปลดชนวน ซึ่งการแก้ไขรายมาตราดังกล่าวเป็นการทำคู่ขนานกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ” นายพริษฐ์ กล่าว

เมื่อถามว่า การแก้ไขดังกล่าวมีบทบัญญัติเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่แน่ใจว่า เขียนเพื่อไม่ให้ถูกแทรกแซงหรือไม่ เพราะปัจจุบันคนที่ชี้ขาดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ สว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจของประชาชน ซึ่งเป็นที่ถกเถียงและตั้งคำถามว่า ถูกครอบงำจากการเมือง ดังนั้น ต้องตั้งหลักว่าในกติกาเพื่อป้องกันการแทรกแซงจริงหรือไม่ ดังนั้น เป้าหมาที่ต้องทำคือให้องค์กรอิสระถูกครอบงำจากฝากฝ่ายใด ยกเว้นประชาชน และเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้คือการวางเป็นหลักประกัน คนที่ไปดำรงตำแหน่งต้องถูกบังคับใช้กับทุกฝ่าย

เมื่อถามว่า ในร่างแก้ไขมีบทเฉพาะกาลเพื่อคุ้มครองกรรมการองค์กรอิสระหรือศาลรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ขณะนี้หรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า มีบทเฉพาะกาลกำหนดไว้ และเมื่อผ่านการพิจารณาวาระหนึ่งแล้ว เชื่อว่าจะวางกรอบเวลาเปลี่ยนผ่านอีกครั้ง ทั้งนี้ ในรายละเอียดทางพรรคจะจัดทำเอกสารเผยแพร่อีกครั้ง


กำลังโหลดความคิดเห็น