xs
xsm
sm
md
lg

เข้าทาง มท.จ่ออัปเกรด ThalD หลังเที่ยวคนละครึ่ง ทำ “ล่ม” ทุ่ม 10 ล้าน AI Chatbot ตอบทุกคําถาม หลังเชื่อมแล้ว 32 ระบบบริการรัฐ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มหาดไทย จ่ออัปเกรด แอป ThalD มรดกยุคลุง หลังทำเสียชื่อ “ล่ม” ระหว่างลงทะเบียนเที่ยวคนละครึ่ง ทุ่มเกือบ 10 ล้าน เพิ่มระบบ AI Chatbot โต้ตอบสนทนาอัตโนมัติ หวังตอบทุกคําถามของประชาชน เผย สมบัติยุคลุง เชื่อมแล้วกว่า 32 ระบบงานบริการ นอกจากงานทะเบียนราษฎร เชื่อมกว่า 30 หน่วยงาน ใคร? จะรู้ สามารถยื่นรัฐ ขอรับเลี้ยง “ลูกบุญธรรมออนไลน์” ร่วมถึงเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โยงถึงสภาผู้แทนราษฎร ก็ได้

วันนี้ (3 ก.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กรมการปกครอง เจ้าของแอปพลิเคชัน ThaID ที่พัฒนา และใช้งบประมาณ ซึ่งไม่เคยเปิดเผย และดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2566 ยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน

เตรียมจัดสรรงบประมาณ พ.ศ. 2568 เกือบ 10 ล้านบาท ( 9.6 ล้านบาท) เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านระบบอัตโนมัติ (BORA AI Chatbot) เพื่อรองรับการตอบ ปัญหาการให้บริการกับประชาชน และสามารถตอบปัญหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง

“เป็นการจ้างพัฒนาจัดทําข้อมูลสําหรับระบบระบบโต้ตอบสนทนาอัตโนมัติ (Chatbot) เพื่อตอบคําถามประชาชนในเรื่องการใช้งาน ThailD”

รวมถึง จัดทําข้อมูลสําหรับระบบ Chatbot เพื่อตอบคําถามให้กับหน่วยงานที่ต้องการพัฒนา Application เพื่อใช้งาน ThalD

เจ้าของโครงการ สํานักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง จะเน้นให้ข้อมูลระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทาง ดิจิทัล (DOPA-Digital ID) ผ่านแอปพลิเคชัน ThaiD

เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์กับสํานักทะเบียนกลาง จัดทําระบบให้บริการตรวจสอบข้อมูล (Services) เพื่อรองรับการอ่านข้อมูลประชาชน โดยใช้เลขบัตรประจําตัวประชาชน 13 หลักจากระบบคอมพิวเตอร์ของสํานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง

ข้อมูลของ กรมการปกครอง เมื่อปี 2567 ระบุว่า แอปพลิเคชัน ThaID ที่ได้พัฒนาและถูกนำมาใช้เพื่อการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

ปัจจุบัน มีผู้ดาวน์โหลด-ใช้แอปพลิเคชัน ThaID บนโทรศัพท์มือถือทั้งระบบ Android และ iOS ไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 18,000,000 คน (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2567)

ปัจจุบันแอปพลิเคชัน ThaID มีการปรับปรุงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากข้อมูลของตนเอง ระบบลงทะเบียนรับบริการล่วงหน้า ระบบการแจ้งย้ายที่อยู่ด้วยตนเอง

การมอบหมายปลูกสร้างบ้านใหม่ (ขอเลขที่บ้าน) การคัดรับรองเอกสารด้วยตนเอง การแก้ไขรายการบุคคลด้วยตนเอง การตรวจสอบคำขอทางออนไลน์ ยังรวมถึงงานบริการของหน่วยงานต่างๆ ถึง 32 ระบบงานบริการ ดังนี้

1. งานทะเบียนออนไลน์ โดยกรมการปกครอง 2. ยื่นภาษีออนไลน์ โดยกรมสรรพากร 3. ระบบ Health Link โดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.)

4. ระบบยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมออนไลน์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน 5. แอปพลิเคชันเงินเด็ก โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน

6. ระบบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 7. ระบบแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

8. ระบบ DIP e-services โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา 9. ระบบ SEIS โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 10. ระบบจองหมายเลขทะเบียนรถยนต์ผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกรมการขนส่งทางบก

11. ระบบ LandsMaps โดยกรมที่ดิน 12. สมุดสุขภาพ โดยกรมอนามัย 13. ระบบ Admission โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 14. ระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ โดยสำนักงานศาลปกครอง

15. ระบบสารสนเทศในการให้บริการประชาชน (Local Service) โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 16. แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

17. ระบบกลางการให้บริการภาครัฐผ่านระบบ Online โดยกรมการปกครอง 18. แอปพลิเคชัน My GPF โดยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 19. ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

20. ระบบทะเบียนเกษตรกร โดยกรมส่งเสริมการเกษตร 21. ระบบลงทะเบียนซื้อทรัพย์ล่วงหน้า โดยกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

22. ระบบการยื่นคำขอและให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการด้วยระบบออนไลน์ โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) 23. ระบบคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้ โดยกองทุนประกันวินาศภัย

24. ระบบแจ้งการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 25. ระบบโครงการพัฒนาอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) โดยศูนย์ขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

26. ระบบงานใบอนุญาตประกอบการขนส่งอิเล็กทรอนิกส์ กรมการขนส่งทางบก 27. ระบบบริการออนไลน์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

28. แอปพลิเคชัน คลิก-ชุมชน โดยกรมพัฒนาชุมชน 29. แอปพลิเคชัน MyMOPH โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 30. ระบบบริการประชาชน (e-Service) โดยกรมจัดหางาน

31. ระบบยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง โดยสำนักงานศาลยุติธรรม 32. ระบบบริการสมาชิกบุคคลธรรมดา โดยสภาวิศวกร

และล่าสุด โครงการเปิดลงทะเบียน “เที่ยวไทยคนละครึ่ง 2568” ของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

ปลายปี 2566 ผู้บริหารมหาดไทย สมัยนั้น มีข้อสั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ทั่วประเทศ ให้เร่งขับเคลื่อนเป้าหมายให้ประชาชนทั้งจังหวัดลงทะเบียนเข้าใช้งาน “แอปพลิเคชัน ThaiD” ให้ครบร้อยละ 100 ภายใน วันที่ 30 มิถุนายน 2566

ขอให้ผู้ว่าฯ ขอความร่วมมือ ผู้อํานวยการโรงเรียนทุกแห่งประชาสัมพันธ์ให้ “นักเรียน” ลงทะเบียนในแอป ประสานไปยัง “นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด” มอบหมาย อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) รับผิดชอบประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในครัวเรือนที่รับผิดชอบลงทะเบียนเข้าใช้งาน

ตลอดจนแจ้งให้ผู้บริหาร อปท. ประชาสัมพันธ์พนักงานและลูกจ้าง ลงทะเบียนเข้าใช้งานแอปพลิเคชันดังกล่าว

และช่วงนั้นหลายจังหวัด ระดมตั้งทีมงาน นายอำเภอ ปลัดอำเภอ อสม. เข้าไปเชิญชวนประชาชนร่วมโหลด เช่น ในโรงเรียน วัด โรงพยาบาล และที่ประชุมหมู่บ้าน เพื่อรับทราบประโยชน์ของแอปดังกล่าว

โดย มท.1 ยุคนั้น สั่งการให้กำหนด “ชื่อแอปพลิเคชันให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น” โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง

ข้อมูลช่วงนั้น ระบุว่า มีผู้ลงทะเบียนในระบบ 1,120,975 คน ในส่วนนี้ เป็นการลงทะเบียนผ่านแอป 1,056,323 คน.


กำลังโหลดความคิดเห็น