xs
xsm
sm
md
lg

กรมชลฯร่วมลงนาม MOU กับ วช.ต่อยอดผลงานวิจัย ลดการปล่อยน้ำทิ้งทะเล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมชลฯทำMOU สำนักวิจัย ร่วมขับเคลื่อน ผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนภายใน3ปี ลงสู่พื้นที่หน้างานจริงในระบบสมาร์ทแคนแนล สร้างแพลตฟอร์ระบบปฏิบัติการส่งน้ำอัจฉริยะ ส่งน้ำแบบแม่นยำ

วันนี้(9 ส.ค. 2567 )ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ได้มีการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ”การขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ”ระหว่างนายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตกรรม(อว.)เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลงานวิจัยให้เกิดประโยชน์กับประชาชนทุกภาคส่วน ส่งผลให้มีความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ

นายชูชาติ กล่าวว่ากรมชลประทานพร้อมบูรณานำผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบทำงานร่วมกันเพื่อเสริมข่ายให้แข็งแกร่งทุกภาคส่วน สามารถดำเนินการตามเป้าหมาย นำไปสู่ผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ในเรื่องการจัดการบริหารน้ำการมีส่วนร่วม การใช้ทรัพยากรน้ำเกิดประโยชน์ยั่งยืนต่อประชาชน และประเทศชาติ หวังว่าความร่วมมือนี้ สามปีข้างหน้าจะมีประโยชน์สร้างมืติใหม่ๆให้การบริหารจัดการน้ำ ท้ายที่สุดหวังผลให้การบริหารน้ำเพิ่มรายได้กับประชาชนและปัญหาสะสมมานานมีแนวทางแก้ไขที่ชัดเจน

“สิ่งที่อยากฝากเรื่องลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำชี เกษตรกรเสียโอกาสเยอะ เพราะยังไม่มีพื้นที่กักเก็บน้ำไว้เพาะปลูกในหน้าแล้ง รวมถึงทำอย่างไรจะประหยัดการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพล และการส่งน้ำของลุ่มน้ำอื่นๆทั่วประเทศซึ่งอยากให้ขยายผลงานวิจัยไปถึงระดับไร่นา พื้นที่สวนผลไม้ ให้มีเครื่องวัดความชื้น ที่เหมาะสมส่งน้ำช่วงเวลาไหน จะทำให้พืชแต่ละชนิดได้ผลผลิตมาก เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ในส่วนกรมชลประทาน ได้รณรงค์ให้ชาวนาทำแบบเปียกสลับแห้ง กว่า 1 ล้านไร่ สามารถลดการปล่อยกาซมีเธน ช่วยลดโลกร้อนได้ ช่วงทำฤดูนาปรัง จึงอยากให้หน่วยงานมาช่วยกันคิดมาตรการล่วงหน้าว่าจะดำเนินมาตรการอย่างไรจูงใจให้ปรับเปลี่ยนชาวนาส่วนใหญ่ที่ยังทำนาแบบเดิม”อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

ทางด้าน ดร.วิภารัตน์ กล่าวว่าการทำงานตรงนี้ ถือเป็นภาพสำคัญได้สร้างกลไกการทำงาน นำงานวิจัยมาบริหารจัดการน้ำเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง การประยุกต์ใช้การบริหารจัดการข้อมูลน้ำทั้งระบบ แผนผังบริหารทรัพยากรน้ำ ซึ่งให้ความสำคัญอย่างยิ่งพัฒนาร่วมกับกรมชลประทาน องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นผลเชิงประจักษ์

รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าแนวทางการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และขยายผลร่วมกันนั้น จะดำเนินในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง เราดูเรื่องการจัดสรรน้ำไม่เคยเขียนเกณฑ์ถาวรมาก่อนเพราะลุ่มน้ำแม่กลองมีน้ำมาก เมื่อมีน้ำมากส่งน้ำมากที่สุดมากกว่าลุ่มน้ำอื่น รวมทั้งผันน้ำให้กับแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน ใช้ผลักดันน้ำเค็ม จึงส่งเต็มคลองไว้ก่อน ปีหน้าทบทวนแผนลุ่มน้ำแม่กลอง จะเป็นทิศทางให้กับพัฒนาลุ่มน้ำ ทำคู่มือการจัดสรร ทำเกณฑจัดสรรน้ำ เกิดข้อตกลงถาวรการจัดสรรน้ำในอนาคตกับภาคส่วนต่างๆ สะท้อนน้ำขึ้นน้ำลงและน้ำต้นทุนน้ำในเขื่อนด้วย

ผศ.ดร.ภานุวัตร ปิ่นทอง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่าในสามปีนี้จะมีระบบสมาร์ทแคนเนล หรือ แพลตฟอร์ระบบปฏิบัติการส่งน้ำอัจฉริยะ มีเซ็นเซอร์วัดระบบน้ำ ระบบเปิดปิดประตูน้ำอัตโนมัติ ทำให้ส่งน้ำได้แม่นยำมากขึ้น แยกเป็นให้น้ำในแต่ละพืชใช้น้ำเท่าไหร่ต่อปี สามารถประหยัดน้ำได้ โครงการละ40-50ล้านลบ.ม. ในลุ่มเจ้าพระยา มีกว่า27โครงการ ก็เท่ากับปริมาณน้ำเขื่อนป่าสัก ลดความขัดแย้งกลุ่มผู้ใช้น้ำลุ่มเจ้าพระยาไปได้ โดยได้นำระบบนี้ไปพัฒนาท่อทองแดง โครงการชลประทานวังบัว นำไปเป็นต้นแบบกับเกษตรกรในพื้นที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีหัวหน้ากลุ่มผู้ใช้น้ำ พัฒนาเป็นโปรแกรมทำอย่างไรวางแผนเพาะปลูกให้สอดคล้องกับการส่งน้ำ เรียกว่าระบบปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทาน


กำลังโหลดความคิดเห็น