xs
xsm
sm
md
lg

ปิดเกมยาเสพติด! ร่วมพลังทุกภาคส่วน สยบปัญหาทําลายชาติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เบื่อไหม กับปัญหายาเสพติดที่ฝังรากลึกในสังคมไทย? ท้อแท้ไหม กับครอบครัวและเพื่อนฝูงที่หลงผิด? สิ้นหวังไหม กับอนาคตที่มืดมนเพราะยาเสพติด?

ถึงเวลาแล้ว ที่ไทยจะเริ่มต้น หยุดยั้ง ภัยร้ายที่เปรียบเสมือนมะเร็งร้ายที่กัดกร่อนสังคมไทยมาอย่าง ยาวนาน สิ่งแรกที่ต้องเร่งดําเนินการนั้นเกี่ยวข้องกับ 3 ส่วน คือ ผู้เสพ ผู้ค้ายา และ สังคม ประเทศชาติ ที่ต่างพัวพันเกี่ยวข้องกันอย่างเลี่ยงไม่ได้

เพราะผู้เสพ เหยื่อรายแรกของวงจรพิษยา นอกจากยาเสพติดจะทําลายระบบประสาทส่งผลต่ออวัยวะ ต่างๆ ของร่างกายและจิตใจแล้วยังทําให้สูญเสียอนาคต เป็นภาระของครอบครัวเงินทองหมดไปกับการซื้อ ยา ก่อปัญหาทะเลาะวิวาท

ผู้ค้า ตัวการสําคัญทําลายอนาคต ผู้ค้ามักมีอิทธิพล คบค้าสมาคมกับนักการเมือง ตํารวจ สร้างเครือข่ายยากต่อการปราบปราม

และสังคม ประเทศชาติ สูญเสียบุคลอันเป็นที่รัก สูญเสียทรัพยากร เยาวชน คนวัยทํางานซึ่งเป็นอนาคต สูญเสียแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการรักษา ปราบปราม ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งยังทําให้ประเทศไทยถูก มองในแง่ลบกระทบต่อการท่องเที่ยว การลงทุน


วงจรพิษยานี้จะสิ้นสุดลงได้อย่างไร?

ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ไม่ให้ลุกลาม จึงเป็นที่มาของการลงพื้นที่ อ.ท่าวังผา จ.น่าน และอ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อนําเอาโมเดลการป้องกันปราบปรามปัญหายาเสพติดใน 2 พื้นที่นี้ ต่อยอดสู่พื้นที่อื่นๆ นําร่องจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

อ.ท่าวังผา จ.น่าน แม้ไม่ได้มีการระบาดของยาเสพติดมากมาย แต่ยังจัดเป็นพื้นที่ระดับสีเขียว จากการ คัดกรองผู้เสพยาเสพติดในไทย โดยกรมการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวง สาธารณสุข ประกอบด้วย เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง เคยผ่านการใช้ยาเสพติด แม้ปัจจุบันจะเลิกแล้ว แต่ อาจจะมีความเสี่ยงที่จะกลับไปใช้ยาอีก จึงต้องติดตาม ให้ความรู้ และสร้างภูมิคุ้มกัน

สําหรับจังหวัดน่าน ดําเนินการขับเคลื่อนโครงการชุมชนบําบัดอย่างยั่งยืนในพื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติด ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ครอบคลุมพื้นที่ 10 ตําบล 91 หมู่บ้าน ในพื้นที่ อ.ท่าวังผา ดําเนินการใน พื้นที่ RE-X-RAY เพื่อสร้างอําเภอสีขาว หรือ อําเภอปลอดยาเสพติด


ทั้งหมดเป็นการบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ทํางานร่วมกัน ประกอบด้วย ส่วนราชการในพื้นที่ ผู้นําชุมชน กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ทหาร ตํารวจ ร่วมบูรณาการปฏิบัติงานในพื้นที่ร่วมกันกับประชาชน ทําการตรวจ สารเสพติดในกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนอายุระหว่าง 12-65 ปี ให้ครบ 100% ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ก่อนขยายผลเพื่อดําเนินการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 15 อําเภอ ของจังหวัดน่าน ภายในวันที่ 30 กันยายน 2567

เบื้องต้นจากผลการ RE-X-RAY พบผู้มีสารเสพติด 186 คน โดยกรณีเป็นผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด และผู้ป่วย จะส่งเข้ารับการรักษาบําบัดที่โรงพยาบาลอําเภอ โรงพยาบาลจังหวัด มินิธัญญารักษ์ อําเภอนาน้อย และค่ายของ มทบ.38

ปัจจุบัน อ.ท่าวังผา จ.น่าน มีประชากรทั้งสิ้น 5,170 คน ในจํานวนนี้มีผู้เสพยาเสพในระดับสีเขียว 20 คน 

วิธีการที่ใช้ในการดูแลผู้เสพ จะมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตํารวจ 20 นาย เข้าช่วยเหลือในช่วงเวลาบําบัด ของทุกวัน และตรวจคัดกรองประชาชนในพื้นที่อย่างเข้มข้น

ขณะที่ในพื้นที่หมู่บ้านจะจัดคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อดําเนินการป้องกันปัญหายาเสพติด อบรมชุดรักษา ความปลอดภัยประจําหมู่บ้าน บูรณาการออกตรวจร่วมระหว่างผู้นําหมู่บ้านกับเจ้าหน้าที่ตํารวจ ทหารและ ฝ่ายปกครอง กําหนดจุดติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อเฝ้าระวัง ตั้งกฎกติกาไม่ให้คนในชุมชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติด

ส่วน วิธีการดําเนินการกับผู้ค้า จะดําเนินการส่งเจ้าหน้าที่ตํารวจสืบสวนขยายผล จับกุม และยึดทรัพย์ นอกจากนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชน ได้ เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ประชาชนดีขึ้นในทุกมิติ เพื่อให้อ.ท่าวังผา เป็นอําเภอสี ขาว ปลอดภัยจากยาเสพติด และประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน


โดยนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ําระหว่างการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้น ไปยังสํานักงานตํารวจ แห่งชาติ กองบัญชาการตํารวจนครบาลกองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด ตํารวจภูธรภาค1-9 ว่า 

วันนี้เราจับกุมได้มากและทุกคนทํางานหนัก แต่ปัญหานี้ต้องยอมรับว่ายังไม่หมดสิ้นไป ยาบ้าราคายังไม่ขึ้น และมีความต้องการที่สูงอยู่ จึงขอให้มุ่งมั่นในการทํางานต่อไป เมื่อมีเป้าแล้วขอให้ยกเป้าหมายให้สูงอีก เพื่อให้เกิดความท้าทาย ขอให้ทํางานทุกวัน เน้นย้ําตามตะเข็บชายแดนซึ่งเป็นจุดที่รั่วไหลของยาเข้ามาเยอะมาก

“ขอให้บูรณาการ ทํางานทั้งฝ่ายปกครอง ทหารตํารวจ ให้เป็นน้ําหนึ่งใจเดียวเป็นเรื่องสําคัญ อย่าต่างคน ต่างทํา ให้แชร์ข้อมูลกันสม่ําเสมอ และเข้ามาประชุมนําปัญหามาพูดคุยกัน หากขาดแคลนอุปกรณ์และ กําลังคนในเรื่องไหนให้บอกมา รัฐบาลพร้อมสนับสนุนเต็มที่

นายกรัฐมนตรีได้ย้ําด้วยว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ เพราะหลายคนน้ําตานองหน้า ลูกหลานยัง ติดยาเสพติดจํานวนมาก เราต้องทํางานให้หนักตั้งเป้าให้ท้าทายมากกว่านี้


ขณะที่อีกหนึ่งโมเดล อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด เป็นพื้นที่ระดับสีแดง มีการระบาดของยาเสพติดจํานวนมาก จากการ Re X-ray ปรากฏมีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเกิน 1,600 คน มีผู้ค้า 60 กว่าราย มีผู้เสพที่เข้ารับการบําบัดหลักพันคน จํานวนเกือบทั้งหมู่บ้าน ซึ่งผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ประสาทหลอน เพ้อ ควบคุมอารมณ์ ไม่ได้ เป็นอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น หรือทรัพย์สิน ต้องการการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล

ระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา พื้นที่สีแดงนี้ได้บูรณาการทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน ตาม 4 ขั้นตอนการแก้ไข กลายเป็นโมเดลให้ทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ทําตามเหมือนกัน ได้แก่ 1.ปราบปราม 2.รักษา 3.ฟื้นฟู และ 4. การดูแลแบบยั่งยืน โดยในวันที่ 30 กันยายนนี้ทั้งสองอําเภอจะต้องเป็นอําเภอสีขาว หรือ อําเภอปลอดยาเสพติดแบบ 100 %

โดยขั้นตอนแรก "ปราบปราม” รวมสรรพกําลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทหาร ตํารวจ ฝ่ายปกครอง และ ฝ่ายที่บังคับใช้กฎหมายทั้งหมด ทําหน้าที่ให้การปราบปรามจับกุม ปิดล้อม คน จับ ยึดทรัพย์ผู้ค้า ไม่ว่าจะ เป็นรายเล็กรายใหญ่ เพื่อใ เพื่อให้ผู้ค้าหมดไปจากสังคมไทยให้ได้


ส่วนผู้เสพจะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 คือ “รักษา” โดยผ่านการคัดกรองจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากตํารวจ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อนําเข้าสู่การบําบัด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะกันรายชื่อที่ถือ ว่าเป็นผู้เสพ ดําเนินการตรวจสารเสพติด ยืนยันตัวตนว่าเป็นผู้เสพติดจริง ไม่ใช่ผู้ค้า เป็นเพียงผู้ซื้อมาเสพ ขั้นตอนนี้จะมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง โดยมีสถานที่บําบัดคือค่ายทหาร มีสํานักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) สนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการ

แต่หากพบผู้ที่ติดยาเสพติดมานาน และผู้ที่ผ่านการบําบัด 30-120 วัน แล้ว กรมสุขภาพจิต กระทรวง สาธารณสุข สถาบันจิตเวชจะนําไปเข้าสู่ ขั้นตอนที่ 3 คือ “การฟื้นฟู” สภาพจิตใจให้พร้อมกลับเข้าสู่สังคม

ขั้นตอนที่ 4 "การดูแลแบบยั่งยืน" เมื่อมั่นใจได้แล้วว่า บุคคลที่ผ่านการฟื้นฟูจะไม่กลับไปติดยาอีก พร้อม ที่จะมาใช้ชีวิตตามปกติ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทยจะเข้ามาดูแล โดยมีผู้ใหญ่บ้าน ตํารวจ ร่วม เป็นพี่เลี้ยงเพื่อหางานให้ทํา ขั้นตอนนี้จะมี อสม. เป็นพี่เลี้ยง ผู้นําชุมชนเป็นหูเป็นตา

ในระหว่างการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการศึกษาต้นแบบการบูรณาการจัดการปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตําบลอุ่มเม้า ที่วัดโกศลรังสฤษฎ์ ต.อุ่มเม้า อ.ธวัชบุรี

นายกรัฐมนตรี ระบุว่า “ขอเป็นกําลังใจให้พวกท่านทุกคนที่เราเคยทําผิดกันมา แต่วันนี้เราปลอดยาเสพติด แล้วมาในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ขอเป็นกําลังใจให้ทุกท่านประกอบอาชีพกลับสู่ครอบครัว ทํามาหากินอย่าง มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ไม่กลับไปยุ่งกับยาเสพติดอีก ขอให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ทํามาจนถึงวันนี้ 28 มิ.ย. อีกนิดเดียวจะสิ้นเดือนหวังจะทํากันต่อไปจนประสบความสําเร็จ”

ทั้งนี้ ยังเน้นย้ํากับนักเรียนในห้องเรียนว่า การศึกษาตนไม่ห่วงเท่าไหร่ แต่ปัญหาใหญ่ของสังคมไทยคือเรื่อง ปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มากไม่ใช่แค่ร้อยเอ็ดแต่ยังรวมถึงทั่วประเทศ เชื่อว่านักเรียนหลายคน อาจจะมีพี่น้องหรือคนรู้จักติดยาเสพติด ซึ่งมีโทษเยอะมาก และไม่ได้ทํางาน ทําให้พ่อแม่ผิดหวังและถ้าติด มากๆ ก็ทําให้คุ้มคลั่ง เป็นภัยต่อสังคม รัฐบาลจึงนี้ให้ความสําคัญเป็นอย่างมากเราให้ธวัชบุรี อําเภอนําร่อง เพราะหากทําให้กําลังของประเทศชาติห่างจากยาเสพติดไม่ได้ เรื่องอื่นรัฐบาลพยายามทําให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องปากท้อง โอกาสในการเข้าถึงแหล่งงาน สนับสนุนการศึกษาให้สูงขึ้น ก็ไม่มีประโยชน์


นายกรัฐมนตรี จึงอยากให้เยาวชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแจ้งข่าวสาร หากพบพี่น้องติดยาเสพติดขอให้ แจ้งยืนยันว่าจะไม่มีการลงโทษ

แต่จะช่วยเหลือให้กลับมาเป็นประชาชนที่มีคุณค่าของสังคม อยู่ด้วยกันได้ อย่างมีความสุข การศึกษาเป็นเรื่องสําคัญ แต่เหนือสิ่งอื่นใดขอให้หลีกเลี่ยงยาเสพติด

หากย้อนกลับไปในปี 2544 นโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดของพรรคเพื่อไทย ริเริ่มจากนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ "ประกาศสงครามกับยาเสพติด” เป็นวาระแห่งชาติ ส่งผลให้จํานวนคดียา เสพติดและผู้เกี่ยวข้องลดลงอย่างเห็นได้ชัด ภายใต้แนวคิดหลักว่า "ภายใต้แสงอาทิตย์นี้ ไม่มีอะไรที่ตํารวจไทยทําไม่ได้”

ต่อมารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ เริ่มต้น ตั้งแต่ปี 2554 ภายใต้แนวคิดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” เพื่อให้ผู้เสพติดได้รับการบําบัดอย่างถูกต้อง จนทํา ให้คดียาเสพติดลดลงอย่างต่อเนื่อง

จนกระทั่งรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ยังคงสานต่อนโยบายเหล่านี้ ภายใต้แนวคิด “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย" บําบัดผู้ติดยาเสพติดอย่างทั่วถึง นําการบําบัดทางจิตวิทยาที่ทันสมัยมาปรับใช้เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพและลดการกลับไปใช้ยาเสพติดอีกครั้ง ทําให้ผู้ป่วยกลายเป็นผู้สร้างโอกาส สร้างรายได้แก่ครอบครัวอย่างมั่นคง คืนชีวิตพี่น้องลูกหลานกลับคืนสู่ครอบครัว

ตอกย้ําว่าพรรคเพื่อไทยยังคงให้ความสําคัญกับปัญหายาเสพติด และการแก้ปัญหาเสพติดแม้มีมานาน 

ถ้าหากเราไม่อยากให้ “นโยบายปราบปรามยาเสพติด” เป็นเพียงแค่คําขวัญ ถึงเวลาที่วันนี้ ทุกฝ่ายต้อง ร่วมมือร่วมใจเป็นน้ําหนึ่งใจเดียว ร่วมเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ปราศจากยาเสพติด เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ สดใส เติมเต็มด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความสุขของทุกคน ให้ทุกพื้นที่เป็นพื้นที่สีขาว ปราศจากยาเสพติดอย่างแท้จริง


กำลังโหลดความคิดเห็น