xs
xsm
sm
md
lg

“เทพมนตรี” ซัด “ธงชัย วินิจจะกูล” คำนำ “ขุนศึกศักดินาและพญาอินทรี...” ของ “ณัฐพล” เหมือนวาระสุดท้ายของวัยทอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพ 279 นักวิชาการ เขียนจดหมายเปิดผนึกปกป้อง “ณัฐพล ใจจริง” ถูกตรวจสอบวิทยานิพนธ์ จากแฟ้ม
“เทพมนตรี” โพสต์ ควันหลง มะพร้าวห้าวยัดปาก “ธงชัย วินิจจะกูล” ชี้ คำนำหนังสือขุนศึกศักดินาและพญาอินทรี การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐฯ 2491 ถึง 2500 ของ “ณัฐพล” เหน็บแนม โกรธแค้น เหมือนวาระสุดท้ายวัยทอง

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ (19 มี.ค. 67) นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

“ควันหลง มะพร้าวห้าวยัดปาก ธงชัย วินิจจะกูล ไม่นึกเลยว่า ผมจะต้องมาอ่านหนังสือขุนศึกศักดินาและพญาอินทรีการเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491 ถึง 2500 ของณัฐพล ใจจริง ผมถือเป็นเคราะห์กรรมอย่างยิ่ง เสียเวลา เสียจริต แต่กระนั้นก็ต้องอ่าน

อ่านทุกตัวอักษร ความจริงแล้วดูจะเว่อร์ไป แต่มันก็จริงๆ

ซ้ำร้ายต้องอ่านคำนำเสนอของ ธงชัย วินิจจะกูล ซึ่งไม่ได้มีเป็นคำนำเสนอของหนังสือที่ดีได้เลย เพราะเต็มไปด้วยการแดกดัน เหน็บแนม โกรธแค้น เหมือนวาระสุดท้ายของวัยทอง ขออนุญาตไม่ลงที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เขาวิพากษ์วิจารณ์ปากดี

ภาพ นายเทพมนตรี ลิมปพยอม จากแฟ้ม
ความตอนหนึ่งธงชัยกล่าวว่า

“ที่เลวร้ายไปกว่านั้น ก็คือ ประเทศนี้ไม่ถือว่าหนังสือดีคือแสงสว่าง แต่กลับถือว่าเกิดอันตรายจึงต้องปิดกั้นลบล้าง
วิทยานิพนธ์ที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ควรได้รับการต้อนรับชื่นชมเพื่อความเรืองปัญญาของสังคมอันเป็นเกียรติที่อาจารย์ที่ปรึกษาคณะและสถาบันควรภาคภูมิใจ แต่ถ้าว่าหากไปท้าทายหรือขัดแย้งกับอุดมการณ์หลักของชาติหรือท้าทายต่อสถาบันการเมืองหลัก จะกลับถูกถือว่าเป็นอันตราย วิทยานิพนธ์ที่ดีเยี่ยมอย่างเช่นของณัฐพล ใจจริง อันเป็นฐานของหนังสือเล่มนี้ก็ถูกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสั่งห้ามเผยแพร่ หรือเซ็นเซอร์เช่นกัน

มหาวิทยาลัยจึงทำหน้าที่ทั้งความรู้และปิดกั้นทำลายความรู้ด้วย ช่างน่าละอายน่ารังเกียจเหลือเกินที่มหาวิทยาลัยที่อวดตัวว่าดีที่สุดของประเทศไทยสั่งเซ็นเซอร์ผลงานดีดีของบัณฑิตจากสถาบันของตน นักวิชาการบางคนจึงทำตัวเป็นตำรวจความคิด (Thought Police) คอยสอดส่องเซ็นเซอร์ความรู้ที่เขาเห็นว่าอันตรายส่งให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจัดการดังที่ปัญญาชนฝ่ายเจ้าคนหนึ่งลงมือแข่งขันที่จะให้เซ็นเซอร์วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ ทั้งทั้งที่วิทยานิพนธ์เล่มนี้ผ่านการสอบและอนุมัติปริญญาเรียบร้อยไปแล้ว เขาตั้งข้อกล่าวหาว่าวิทยานิพนธ์ผิดพลาดอย่างแรง ถึงกับเสนอให้ถอดถอนปริญญาข้อกล่าวหาของเขาเจาะจงลงไปที่ความบกพร่องของณัฐพลแห่งหนึ่ง แล้วอ้างว่ามีความผิดพลาดทำนองเดียวกันอีกมากมายราว 30 แห่งด้วยกัน เพื่อพยายามทำลายความน่าเชื่อถือของณัฐพลและของวิทยานิพนธ์ฉบับนั้น

ผมมีโอกาสรับรู้และตรวจสอบข้อผิดพลาดที่ถูกกล่าวหา ผมพบว่า กรณีหลักที่นักวิชาการตำรวจคนนี้กล่าวหานั้นเป็นความผิดพลาดของณัฐพลจริงเพราะเข้าใจหลักฐานผิดตีความเกินเลยไป แต่ความผิดพลาดดังกล่าวไม่ได้สำคัญต่อวิทยานิพนธ์ทั้งเล่มหรือบทนั้นหรือตอนนั้นแต่อย่างใด หมายความว่าณัฐพลได้เสนอหลักฐานชิ้นอื่นและข้อมูลอีกจำนวนมากในบทตอนนั้นและตลอดทั้งเล่ม เพื่อยืนยันข้อเสนอและการวิเคราะห์สำคัญสำคัญ หากข้อความที่เป็นปัญหานั้นถูกยกออกไปหมดทั้งย่อหน้าวิทยานิพนธ์บทตอนนั้นและทั้งเล่มก็ยังนำไปสู่ข้อวิเคราะห์และข้อสรุปเหมือนเดิมทุกประการ ดังที่ณัฐพลได้แสดงให้เห็นในหนังสือเล่มนี้ซึ่งไม่มีข้อความที่ผิดพลาดดังกล่าวแล้ว

สิ่งที่ตำรวจทางวิชาการอ้างว่า ผิดพลาดอีกมากมายหลาย 10 แห่งนั้น ได้ตรวจสอบแล้วไม่พบความผิดพลาดสักครั้งเดียว อย่างมากก็เป็นการตีความตามแต่อุดมการณ์และมุมมองจนตำรวจทางวิชาการทึกทักว่าเป็นความผิดพลาด

ในธรรมเนียมทางวิชาการทางสังคมมนุษย์ศาสตร์ตามปกตินั้น การถกเถียงทางวิชาการควรทำด้วยการถกเถียงนำเสนอข้อวิเคราะห์ที่ดีกว่าหรือหลักฐานที่ดีกว่าหรือการตีความที่ต่างออกไป หากมีข้อผิดพลาดก็เปิดเผยออกมา ผู้วิจัยจะยอมรับหรือแย้งคำกล่าวหาก็แถลงออกมา ผู้อ่านย่อมได้ประโยชน์ไปด้วย แต่นักวิชาการตำรวจความคิดรายนี้มิได้พยายามใช้วิธีทางวิชาการแม้แต่น้อย กลับวิ่งเต้นให้มีการใช้อำนาจของคณะหรือของมหาวิทยาลัยจัดการเซ็นเซอร์วิทยานิพนธ์เสียเลย นี่ไม่ใช่วิธีของนักวิชาการ หรือตำรวจความคิดรู้ว่าตนใช้วิธีทางวิชาการคงไม่ได้ผล แต่ยังต้องการลบล้างความรู้ที่ตนไม่พอใจให้ได้ จึงวิ่งเข้าหาอำนาจเพื่อสั่งให้วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้เป็นโมฆะ แต่เนื่องจากได้สอบผ่านไปแล้วอนุมัติปริญญาไปแล้ว จึงใช้อำนาจสั่งห้ามเผยแพร่

พฤติกรรมเช่นนี้ ทำให้นึกถึงคำกล่าวที่ว่า นักวิชาการฝ่ายนิยมเจ้าไม่มีน้ำยา เพราะเก่งแต่เพียงใช้อำนาจกดความรู้ที่เขาไม่เห็นด้วย ในขณะที่ผลงานที่พวกพวกเขาผลิตมักเป็นงาน อาศิรวาทสดุดี (แปลว่าประจบสอพลอ) ที่มีคุณค่าทางวิชาการต่ำ เพราะรู้ว่าในระบบวิชาการของไทย ผลงานดังกล่าวย่อมได้รับการประเมินด้วยคะแนนสูงสุดอย่างแน่นอน ความรักเจ้ากับการหากินกับเจ้าจึงมักไปด้วยกัน แยกไม่ออกว่าอย่างไหนคือศรัทธา อย่างไหนคือสอพลอ เพราะศรัทธาต่อกษัตริย์กับสอพลอต่อกษัตริย์ดูเหมือนจะเป็นสิ่งเดียวกันในประเทศไทย”

ข้อความต่อจากนี้คือเหน็บแนมด่ามหาวิทยาลัย หาอ่านเองนะครับ หน้า 25-28

ผมไม่รู้ว่า ผู้บริหารจุฬาฯได้อ่านคำนำเสนอนี้หรือไม่ แต่ควรไปรีบหาอ่าน คำสบประมาท ดูถูกดูแคลนของธงชัย วินิจจะกูล ที่มีต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยากแก่การยอมรับได้

คำนำเสนอของเขาทำให้ ณัฐพล ใจจริง ดูแย่ลงไป อย่างเห็นได้ชัด.”


กำลังโหลดความคิดเห็น