xs
xsm
sm
md
lg

เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยื่นค้านปลด “นกปรอดหัวโขน” จากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง หวั่นสูญพันธุ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เดินหน้าค้านปลด “นกปรอดหัวโขน” ออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง โชว์สถิตินกสูญพันธุ์หายเกือบหมดภาคใต้ ชี้ ถอดชื่อไม่ช่วยให้ประชากรเพิ่มขึ้น-เสี่ยงหายไปจากธรรมชาติ

วันนี้ (18 ต.ค.) ที่อาคารรัฐสภา เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นำโดย สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้เดินทางมายื่นหนังสือค้านต่อ “ปดิพัทธ์ สันติภาดา” รองประธานสภา คนที่ 1 และ “อภิชาติ ศิริสุนทร” ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมสภาผู้แทนราษฎร

เรื่อง กรณีไม่เห็นด้วยกับการปลดล็อกนกปรอดหัวโขนออกจากสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยระบุเนื้อหา จากสถานการณ์ในการดำเนินการเพื่อปลดนกปรอดหัวโขนออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองที่ผ่านมา มีการมุ่งเนันนำเสนอเพียงข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนมหาศาล ซึ่งเป็นเพียงการเบียดบังสร้างวิบากกรรมให้นกปรอดหัวโขนเท่านั้น มีได้คำนึงถึงคุณค่าต้านในทางนิเวศอันประเมินมูลด่ามิได้

นกปรอดหัวโขนในธรรมชาติ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กระจายเมล็ดจากขอบป่า ฟื้นฟูพืชในพื้นที่ป่าที่ถูก
บุกรุกทำลาย ทั้งยังช่วยควบคุมแมลงตัตรูพืช ถึงแม้จะมีการเลี้ยงนกปรอดหัวโขนจำนวนมาก แต่จากข้อมูล เอกสารทางวิซาการได้ชี้ให้เห็นว่าประชากรในธรรมชาติของนกชนิดนี้ กลับสวนทางกับความต้องการเลี้ยงนกที่มีมาก ทั้งยังมีความต้องการในการนำนกชนิตนี้ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง สร้างความกังวลต่อความสามารถไนการคุ้มตรองนกชนิตนี้เป็นอันมาก

ดังนั้น คณะเครือข่ายพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อม ขอเรียกร้องให้หยุดการดำเนินการปลดนกปรอดหัวโขนออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองทันที ด้วยเหตุผลและข้อเสนอดังนี้

1) นกปรอดหัวโขนนั้น มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และมีจำนวนประชากรซึ่งมีแนวโน้มลดลงอันอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ซึ่งตรงกับความหมายของ สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

2) นกปรอดหัวโขนอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตามกฎหมาย

3) การพยายามนำนกปรอดหัวโขนออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นการสนับสนุนเพียงมุมมองเชิงเศรษฐกิจด้านเดียว มิได้คำนึงถึงมูลค่าและคุณค่าความสำคัญทางความหลากหลายทาง ชีวภาพที่เกิดจากนกปรอดหัวโขน

4) การนำนกปรอดหัวโขนออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นการส่งเสริมการ ล่า ดัก จับนก และพรากลูกจากรังโดยใช้เครื่องมือดักนกต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการทำผิดกฎหมายซึ่งได้ แอบคำเนินการอยู่ในขณะนี้

5) การนำนกปรอดหัวโขนออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองสร้างความกังวลว่า จะนำไปสู่การขอนำสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดอื่นๆ ออกจากบัญชีต่อไป ซึ่งจะกระทบวงจรชีวิตสัตว์ป่าอื่นๆ ในธรรมชาติตามห่วงซ่อาหารและกาดบริการระบบนิเวศที่เกิดขึ้น

ดังนั้น เครือข่ายพันธมิตรด้านสิ่งแวตล้อม ขอให้หยุดการดำเนินการปลดนกปรอดหัวโขนออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองทันที

ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ กรรมการสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม จากข้อมูลที่ทางกลุ่มได้รวบรวมไว้ พบว่า 50 ปีที่ก่อนหน้านี้ นกกรงหัวจุกถูกพบได้อย่างแพร่หลายทั่วประเทศ แต่ 30 ปีให้หลังมี รายงานจำนวนประชากรในธรรมชาติที่ลดลง โดยเฉพาะในภาคใต้ ล่าสุด 7 ปีที่ผ่านมา จากการตรวจสอบข้อมูลผ่าน แอปพลิเคชัน พบว่าเจอที่ภาคใต้ไม่ถึง 100 ครั้ง

ในส่วนที่มีกระแสบอกว่าหากมีการปลดออกจากสัตว์ป่าคุ้มครองแล้ว นกปรอดหัวโขนจะมีจำนวนประชากรในป่าเพิ่มขึ้นนั้น ดร.นณณ์ อธิบายว่า จากข้อมูลเชิงวิชาการระบุว่า นกชนิดดังกล่าวพบมากในบริเวณพื้นที่ใกล้ชุมชน โดยเฉพาะที่ราบ เทือกสวนไร่นา และไม่ได้อาศัยอยู่ในป่าทึบ

ดังนั้น การปลดล็อกให้นกปรอดหัวโขนออกจากรายชื่อบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการที่จะถูกล่า เนื่องจากนกเหล่านี้ อาศัยในพื้นที่ที่อยู่ใกล้มนุษย์ และอาจเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญพันธุ์ไปในธรรมชาติด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น