รองนายกฯ เซ็นตั้ง 2 คณะอนุกรรมการ รับฟังความเห็น-ศึกษาแนวทาง ทำประชามติ “นิกร-วุฒิสาร” แยกกันนั่งเป็นประธาน
เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66 นายนิกร จำนง โฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 เปิดเผยว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการ ได้ลงนามคำสั่งที่ 1/2566 เรื่อง แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ เพื่อให้การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นายกรัฐมนตรีจึงได้ ให้ความเห็นชอบต่อการตั้งคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว มีองค์ประกอบ ได้แก่ นายนิกร จำนง ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ประกอบด้วย นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์, พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม, พล.ต.อ.วินัย ทองสอง, พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา, นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท, นายวิเชียร ชุบไธสง, นายวัฒนา เตียงกูล, นายยุทธพร อิสรชัย, นายธงชัย ไวยบุญญา, นายชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์, นายเจือ ราชสีห์, นางสิริพรรณ นกสวนสวัสดี, นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, นายธัชพงษ์ วงษ์เหรียญทอง, พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล, นายชนินทร์ รุ่งธนะเกียรติ, นายมงคลชัย สมอุดร, เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 1 คน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 2 คน เลขานุการเป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
สำหรับหน้าที่และอำนาจของคณะอนุกรรมการชุดรับฟังฯ คือ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ในการออกกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตยทันสมัย ร่วมกันและเป็นที่ยอมรับร่วมกันตลอดจนสอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ หารือแนวทางจัดทำและธรรมนูญในรัฐสภา เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญ ที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นที่มากขึ้น ประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง รวมทั้งเป็นไปตามคำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2566 และให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงาน ของรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็น เอกสารหลักฐานใดที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา และสามารถแต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการตามที่คณะอนุกรรมการมอบหมายได้ตามความจำเป็น, โดยให้คณะอนุกรรมการรายงานผลดำเนินงานต่อ นายภูมิธรรม ประธานกรรมการศึกษาประชามติ
นอกจากนั้น นายภูมิธรรม ลงนามในคำสั่งที่ 2/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2566 มี นายวุฒิสาร ตันไชย เป็นประธานอนุกรรมการ และมีอนุกรรมการ ประกอบด้วย นายนิกร จำนง, นายพิชิต ชื่นบาน, พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, นายศุภชัย ใจสมุทร, นายวิรัตน์ วรศสิริน, นายยุทธพร อิสรชัย, นายไพบูลย์ นิติตะวัน, นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา, นายประวิช รัตนเพียร, นายเทวัญ ลิปตพัลลภ, นายชวลิต วิชยสุทธิ์, นายเจือ ราชสีห์, นายกฤช เอื้อวงศ์, นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี, นายรัฐภูมิ คำศรี, นายนิยม เติมศรีสุข, นายชนินทร์ รุ่งธนะเกียรติ, นายมงคลชัย สมอุดร, นายนพดล เภรีฤกษ์, เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 1คน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 คน เป็น อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และ เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จำนวน 1คน เป็น อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
โดยหน้าที่และอำนาจของคณะอนุกรรมการชุดนี้ คือ ศึกษาแนวทางการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการออกกฎ กติกา ที่เป็นประชาธิปัตย์ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกันและเป็นที่ยอมรับร่วมกันและสอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นที่มากขึ้น ประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง รวมทั้ง เป็นไปตามคำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2566 และให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็น หรือเอกสารหลักฐานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา นอกจากนั้น ให้แต่งตั้งคณะทำงาน หรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการตามที่คณะอนุกรรมการมอบหมายได้ตามความจำเป็น ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการรายงานผลดำเนินงานต่อประธานกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560