“เลขาฯ ประธาน กสทช.” แจงภารกิจ ตปท. “หมอสรณ” ตลอด 1 ปีเศษ ใช้งบฯ 6 ล้านเศษ ระบุ ภารกิจส่วนตัวควักจ่ายเอง พร้อมใช้โอกาสดูงานการแพทย์-โทรคมนาคม ยันร่วมประขุม ITU ภารกิจสำคัญ รับมอบหมายจาก รบ.เป็นผู้แทนประเทศ ระบุ ช่วยประหยัดฯ เลี่ยงบินชั้น 1-ห้องสวีทแม้มีสิทธิ ส่วนที่ปรึกษา ปธ.เบิกงบฯได้ตามระเบียบ
จากกรณีรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถึงการไปปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศของ ศ.คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ที่มีการเดินทางไปต่างประเทศรวม 15 ครั้ง ในรอบ 1 ปี 3 เดือน ใช้งบประมาณรวมกว่า 45.8 ล้านบาท ตั้งแต่รับตำแหน่งนั้น
วันนี้ (21 ส.ค.) พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข เลขานุการประจำประธาน กสทช. ชี้แจงว่า ตามงบประมาณประจำปี 2565 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของประธาน กสทช. รวม เป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,593,809.39 บาท และตามงบประมาณประจาปี 2566 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ต่างประเทศของประธาน กสทช. รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 3,880,722.05 บาท โดยการเดินทาง Global Symposium For Regulator (GSR-23) ณ เมือง Sharm El-Sheikh ประเทศอียิปต์ของประธาน กสทช.ที่ปรากฎในข่าว ไม่ได้เกิดขึ้นจริงตามที่กล่าวอ้างจึงไม่ได้มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแต่อย่างใด
พ.ต.อ.ประเวศน์ ระบุต่อว่า สำหรับการเดินทางส่วนตัวเป็นการใช้งบประมาณของตนเอง โดยเดินทางไปพักผ่อนเป็นการส่วนตัว และได้อาศัยช่วงเวลาดังกล่าวศึกษาดูงานด้านการแพทย์โทรคมนาคม ซึ่งจะเดินทางเฉพาะช่วงวันหยุดยาว หรือสุดสัปดาห์เท่านั้น ไม่ได้มีการใช้งบประมาณของสานักงาน กสทช. ส่วนการประชุม ITU Plenipotentiary Conference (PP-22) กรุงบูคาเรสต์ สาธารณรัฐโรมาเนีย และการประชุม ITU Council ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เป็นการประชุมซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของ ประธาน กสทช. ตามมาตรา 14 และ 14/1 ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยในการประชุม PP-22 ประธาน กสทช. ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเป็นผู้แทนหลัก ประเทศไทยทำหน้าที่เข้าร่วมงานดังกล่าว เพื่อเป็นผู้แทนของประเทศไทยลงคะแนนในการเลือกตั้งเลขาธิการ ITU / ผู้บริหาร ITU-R/T/D / และลงคะแนนเสียงเลือกกรรมการบริหาร ITU (ITU Council) รวมถึงทำหน้าที่ ฝหาเสียงเพื่อให้ประเทศไทยได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหาร ITU ซึ่งการได้รับตำแหน่งจะเป็นประโยชน์ต่อ ประเทศไทยอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีประเด็นเรื่องสิทธิวงโคจรกับ ITU ขณะที่การประชุม ITU Council ณ นครเจนีวา ระหว่างวันที่ 10-13 ก.ค. 66 (4 วัน) เป็นการประชุมครั้งแรกที่เลขาธิการ ITU คนใหม่ นาง Doreen Bogdan-Martin ทำการมอบนโยบายครั้งแรก ซึ่งทางนาง Bogdan-Martin ได้เรียนเชิญผู้บริหารสูงสุดขององค์กร (ประธาน กสทช.) เข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังนโยบาย One ITU และนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการกำหนดแนวทางการบริหาร ITU ต่อไปอีก 4 ปี
พ.ต.อ.ประเวศน์ ชี้แจงอีกว่า การประชุม Thailand 5G Ecosystem Reverse Trade Mission เป็นการเดินทางซึ่งได้รับเชิญจาก Department of Commerce ของสหรัฐฯ โดยหน่วยงาน USTDA ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักทาหน้าที่ ส่งเสริมสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งการเดินทางดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเจรจาการค้ากับรัฐบาลสหรัฐฯ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการลงทุนในไทย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กิจการโทรคมนาคม โดยกรรมการทั้ง 3 ท่านที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเต็มจำนวนจากสหรัฐฯ ซึ่งการเดินทางครั้งนี้อาจพิจารณาปรับสิทธิใช้ที่นั่ง first-class โดยกระทบงบประมาณของสำนักงาน กสทช. ก็ได้ หากแต่ประธาน กสทช.ใช้สิทธิเฉพาะเท่าที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนเท่านั้น
“ในการเดินทางเกือบจะทุกครั้ง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด ประธาน กสทช. พยายามเดินทาง โดยมิได้ใช้สิทธิเต็มจำนวนตามเอกสิทธิ์ในฐานะ กสทช. แต่อย่างใด (สิทธิบัตรโดยสารเครื่องบินที่นั่งชั้น 1 และห้องสวีท) เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงขึ้นหลังสถานการรณ์โควิด-19 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประธาน กสทช. จะแจ้งก่อนตลอดว่าให้เลือกจองบัตรโดยสารเครื่องบินชั้นธุรกิจ” พ.ต.อ.ประเวศน์ รับุ
พ.ต.อ.ประเวศน์ ระบุด้วยว่า ในส่วนของที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. เป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ตามที่ กสทช. กำหนดไว้ตามระเบียบว่าด้วยการนั้น ตามข้อ 7(2) ของระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน พ.ศ. 2565 และเนื่องจาก กสทช. เป็นองค์กรที่มีภารกิจส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและโครงสร้าง พื้นฐานทางโทรคมนาคมซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ประกอบกับภารกิจในส่วนของการต่างประเทศ ตามมาตรา 14 และ 14/1 ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจำเป็นจะต้องประสานงานกับหน่วยงานต่างชาติโดยตลอด จึงทำให้มีการเดินทางเพื่อประสานงาน ส่งเสริมความร่วมมือ ทั้ง ในลักษณะจัดทา MoU หรือในลักษณะของการพบปะหารือเพื่อกำหนดทิศทางกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งเพื่อร่วมกันกำหนดมาตรฐานคลื่นความถี่ การใช้สิทธิวงโคจร การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม
ทั้งนี้ เพื่อรักษาสถานะของประเทศไทยในกิจการโทรคมนาคมให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ รวมถึงเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สาคัญอย่างการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม (WRC-23) ที่จะจัดขึ้น ในปลายปีนี้ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าประเทศไทยจะมีท่าทีเช่นไร และจะนำเอามาตรฐานโทรคมนาคมรวมถึง แนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่เช่นไรมาปรับใช้ ภายใต้สถานการณ์ที่การเมืองโลกอยู่บนความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์.