xs
xsm
sm
md
lg

มึน! ปัญหาโยก รพ.สต.ไป อบจ.ไม่หมด! หลัง “สธ.” อ้างขอย้ายกลับ พรึบ! แถมไร้ กม.โยกงบเน็ต ให้ อบจ. ทำกระทบหน่วยบริการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ปัญหาถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. “บุคลากร-งบฯ” จาก “กระทรวงสาธารณสุข” ไป อบจ. ยังไม่หมด! ล่าสุด อนุฯบริหารภารกิจ ยังรับพิจารณาปัญหาเพียบ! หลัง “บิ๊ก สธ.” อ้างมีบุคลากรเก่า ที่ถ่ายโอนไปแล้ว ขอกลับกระทรวง “ลอตใหม่” เดือน ต.ค.ประสงค์ “ขอยกเลิก” พรึบ! ไม่เท่านั้น “สป.สธ.” อ้าง ไม่มีกฎหมายใด กำหนดให้ต้องโอนงบฯ 66 ของ สป.สธ. ให้กับ อบจ. จ่ายค่าเช่าอินเทอร์เน็ตให้หน่วยบริการ

วันนี้ (19 ก.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยายาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หลายประเด็น

ล่าสุด ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 4/2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference)

มี นายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) นั่งเป็นประธาน

ได้รับพิจารณา ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา เช่น การดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ ให้ อบจ.ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มี อบจ. ขอรับการถ่ายโอน รพ.สต. เพิ่มเป็น 58 จังหวัด และมีผู้สมัครใจแล้วนับหมื่นราย

โดยที่ประชุมรับทราบจาก สธ.ว่า จำนวนบุคลากรที่ยื่นถ่ายโอนปี 2566 และ 2567 มีความประสงค์ “ขอยกเลิก” การถ่ายโอน โดยทั้งหมดมีหนังสือและเอกสารยินยอม และแจ้งความประสงค์แล้ว
ที่ประชุมยังพิจารณาแนวทางการเบิกจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการกรณีถ่ายโอนภารกิจ ให้ อบจ. โดยเฉพาะบุคลากรที่เข้าข่าย

“หลังจากถือว่า ยังมีสถานะการเป็นสมาชิก กบข. และยังนำส่งเงินสะสมเข้า กบข. ทุกเดือน พร้อมรับสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกเช่นเดิมตามมาตรา 70/1 หมวด 3/1 พ.ร.บ. กบข. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549”

ที่ประชุมได้พิจารณาการจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.) สำหรับ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนไปยัง อบจ.

ภายหลังเคยมี หลักการว่า รพ.สต. ยังคงสถานะเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่เป็นเครือข่ายหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แม้มีการถ่ายโอนไปยัง อบจ.

โดยเฉพาะรูปแบบการจัดสรรงบกองทุนฯ ให้กับหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้แก่ 1. จัดสรรงบผ่านหน่วยบริการประจำ (CUP) ซึ่งมีการดำเนินอยู่แล้วในขณะนี้

2. โอนงบประมาณโดยตรงให้กับ รพ.สต. ภายใต้เงื่อนไขที่ตกลงกับหน่วยบริการประจำ 3. ทางเลือกอื่นๆ โดยแต่ละแห่งสามารถเลือกเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการเหมือนกันทุกแห่ง

นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณา การจ่ายค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้ สอน. และ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. ในปีงบ 2566

หลังจาก “กรมบัญชีกลาง” มีหนังสือแจ้ง อบจ. 49 แห่งว่า กรณี สำนักงานปลัดระทรวงสาธารณสุข ได้งบประมาณปี 66 ว่าด้วย การเช่าบริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ทให้หน่วยบริการสาธารณสุข เพื่อประโยชน์สุขภาพประชาชน

“สป.สธ. ไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม ให้ แก่ รพ.สต. และ สอน.ได้แล้ว เพราะไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ โอนงบประมาณในส่วนของ สป.สธ. ให้กับ อบจ.”

โดยที่ประชุมมีการพิจารณาให้หน่วยงานที่รับถ่ายโอน ดำเนินการเช่าใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ส่งผลต่อการบริการประชาชน ล่าสุดพบว่า ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท ได้ยุติการให้บริการอก่หน่วยงานที่ถ่ายโอน

รวมถึงพิจารณการดำเนินงานด้านสุขภาพช่องปาก ให้ สอน. และ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. ในปีงบฯ 2566 ในคราวเดียวกันด้วย

ขณะที่มีการพิจารณา ผลการประเมินความพร้อมของ “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” ที่เหลือ และ พร้อมจะรับการถ่ายโอน ปีงบฯ 2568

พบว่า มีขอรับการสนับสนุนงบประมาณชดเชยเพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 4 ชั้น สถานีอนามัยเมืองพาน เทศบาลตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

มีรายงานว่า สำหรับการพิจารณา รายงานของ สธ.ที่อ้างว่า บุคลากรที่ถ่ายโอน เมื่อปี 2564 กว่า 400 คน และคาดว่า จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เรียกร้องขอย้ายกลับมากระทรวงสาธารณสุข ทั้งตัวบุคคลและตำแหน่ง

เนื่องจากกระทรวงยังขาดอัตรากำลังจำนวนมาก ประกอบกับบุคลากรที่ถ่ายโอนไป ส่วนหนึ่งเป็นบุคลากรที่มีความชำนาญ

และบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ จากโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่ถูกตัดตำแหน่ง โดยอาศัยเงื่อนไขคู่มือการถ่ายโอนฯ


กำลังโหลดความคิดเห็น