xs
xsm
sm
md
lg

ดุสิตโพลชี้คนไทยมีพฤติกรรม ปชต.มาก สำคัญต้องรับความแตกต่าง หนุน ปชช.ตรวจสอบนักการเมือง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สวนดุสิตโพล ส่วนใหญ่บอกมีพฤติกรรม ปชต.มาก ส่วนของประเทศมองปานกลาง ชี้ แสดงออก ปชต.ต้องเคารพสิทธิความเห็นผู้อื่น มองความสำคัญยอมรับความแตกต่าง มองอุปสรรคการแทรกแซงละเมิดสิทธิ หนุน ปชช.มีส่วนตรวจสอบนักการเมือง

วันนี้ (25 มิ.ย.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี “พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้” จำนวนทั้งสิ้น 1,026 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2566 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดว่าตนเองมีพฤติกรรมประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด
มีพฤติกรรมประชาธิปไตยมาก 50.78% มีพฤติกรรมประชาธิปไตยปานกลาง 40.25% มีพฤติกรรมประชาธิปไตยน้อย 8.97%

2. ประชาชนคิดว่าประเทศไทย ณ วันนี้ มีความเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด
มีความเป็นประชาธิปไตยปานกลาง 48.54% มีความเป็นประชาธิปไตยน้อย 35.67% มีความเป็นประชาธิปไตยมาก 15.79%

3. ประชาชนคิดว่าสามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมประชาธิปไตยได้อย่างไรบ้าง
อันดับ 1การเคารพในสิทธิ หน้าที่ และความเห็นของผู้อื่น 92.69%
อันดับ 2การรู้จักบทบาท สิทธิ และหน้าที่ของตนเอง 74.66%
อันดับ 3การออกไปเลือกตั้ง 72.61%
อันดับ 4การแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมือง 66.57%
อันดับ 5การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม 60.92%

4. ประชาชนคิดว่าพฤติกรรมประชาธิปไตยมีความสำคัญอย่างไร
อันดับ 1ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความเห็น มุมมอง และยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน75.29%
อันดับ 2ทำให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน 70.51%
อันดับ 3ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจต่อประชาธิปไตยมากขึ้น 68.46%
อันดับ 4ทำให้รัฐบาลทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น63.28%
อันดับ 5ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 63.18%

5. ประชาชนคิดว่าอะไรเป็นอุปสรรคของการมีพฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย
อันดับ 1ถูกแทรกแซง ควบคุมอำนาจ ละเมิดสิทธิเสรีภาพ70.57%
อันดับ 2การแบ่งขั้ว ความขัดแย้งทางการเมือง 65.59%
อันดับ 3ทัศนคติ ความคิด มุมมอง ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย63.55%
อันดับ 4กฎหมายไม่เป็นธรรม 63.26%
อันดับ 5ผู้มีอำนาจทางการเมือง 62.96%

6. ประชาชนคิดว่าการส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยควรดำเนินการอย่างไร
อันดับ 1เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ตรวจสอบการทำงานของนักการเมือง 72.27%
อันดับ 2ระบบของกฎหมายเข้มแข็ง ไม่เอนเอียง 66.21%
อันดับ 3ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตย 62.50%
อันดับ 4ทุกคนกล้าที่จะพูดคุยเรื่องการเมือง ยอมรับความเห็นต่าง มีอิสระเสรีภาพในการแสดงออก 59.38%
อันดับ 5พรรคการเมืองเป็นตัวเชื่อมระหว่างประชาชนกับการเมือง 56.64%


กำลังโหลดความคิดเห็น