xs
xsm
sm
md
lg

“สมชาย” จี้ กกต.ส่งตีความคุณสมบัตินายกฯ พร้อมตรวจคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการคดีไอทีวีฟ้อง สปน.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ส.ว.สมชาย” เร่ง กกต.ส่งตีความคุณสมบัตินายกฯ พร้อมบี้ตรวจคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการเมื่อ 14 ม.ค. 59 ที่ตัดสินว่า สปน.บอกเลิกสัญญา itv มิชอบด้วยกฎหมาย และให้กลับเข้าดำเนินการสถานีโทรทัศนืได้ตามเดิม เท่ากับว่ายังประกอบกิจการสื่อใช่หรือไม่

วันนี้ (21 มิ.ย.) นายสมชาย แสวงการ ส.ว.โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อปริศนาธรรมการเมืองเรื่องหุ้นไอทีวี ระบุว่า กกต.ควรเร่งสรุปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยเป็นที่สุดและตรวจสอบคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ทำให้ไอทีวีฟื้นคืนชีพ ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 82 วรรคท้ายระบุว่า “กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง เห็นว่า สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภามีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย” ดังนั้น เมื่อ กกต.รับรองสมาชิกภาพ ส.ส.แล้ว มีเหตุผู้ร้องเรียน และ กกต.ตั้งคณะกรรมการไต่สวน ควรเร่งพิจารณาส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98(3) ห้ามถือหุ้นสื่อ อันเป็นการขาดสมาชิกภาพ ส.ส ตามมาตรา 101(6) และมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 หรือไม่ โดยยึดหลักเดียวกับการยื่นคดี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ คือ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ระหว่างรอคำวินิจฉัยด้วย ส่วนแคนดิเดตผู้สมัครนายกรัฐมนตรี จะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 หรือไม่ กกต.ควรร้องไปศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในคราวเดียวกัน จะเป็นประโยชน์การยื่นฟ้องเสียในคราวเดียวกัน

นายสมชาย ระบุว่า 2. กกต.ควรตรวจสอบคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเรื่องที่ไอทีวีฟ้องสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีคำวินิจฉัยชี้ขาด วันที่ 14 ม.ค. 2559 ที่ไอทีวีเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย และให้บริษัทกลับเข้าดำเนินการสถานีโทรทัศน์ ระบบยูเอชเอฟ โดยใช้คลื่นความถี่และทรัพย์สินอุปกรณ์เครือข่ายเดิมต่อไป จนครบกำหนดระยะเวลาสัญญาอนุญาตที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยว่า การบอกเลิกสัญญาอนุญาตของสำนักงานปลัดฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเรื่องนี้ และคำพิพากษาศาลปกครอง มีความสำคัญต้องพิจารณาว่า ไอทีวีชนะคดีจากสำนักปลัดฯแล้ว และการขอให้เข้าดำเนินการในสถานีโทรทัศน์ยูเอชเอฟเดิมนั้น ทำให้ไอทีวีที่มีวัตถุประสงค์สื่อชัดเจน และยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกกิจการได้รับชัยชนะในคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้ไอทีวีกลับเข้าดำเนินการในสถานีโทรทัศน์ยูเอชเอฟ เดิมได้ จึงมีประเด็นข้อพิจารณาว่า ไอทีวีน่าจะยังเป็นผู้การประกอบกิจการ หรือเตรียมประกอบกิจการสื่อมวลชนที่ยังไม่ได้ยกเลิกใช่หรือไม่


กำลังโหลดความคิดเห็น