ก.อบจ. เคาะเพิ่ม! “รวมนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง” พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงาน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ถ่ายโอน รพ.สต. มาสังกัด อบจ. เข้าเกณฑ์เลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น หลังเมื่อเดือนก่อน เพิ่มเกณฑ์เลื่อนขั้นเงินเดือน “ขรก.รพ.สต.” ที่ถ่ายโอนมายัง อบจ.แล้ว ขั้นสูงสุดไม่เกิน 6.9 หมื่นบาท
วันนี้ (21 มิ.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกลางส่วนท้องท้องถิ่น 3 ระดับ ก.จ. (อบจ.) ก.ท. (เทศบาล) และ ก.อบต.
โดยเฉพาะ ก.จ. หรือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พบว่า มีการพิจารณา และเห็นชอบในประเด็น
“ให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง” ของ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานกระทรวงสาธารณสุข รวมเป็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการ อบจ. เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น
หลังจากบุคลากรด้านสาธารณสุข ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ถ่ายโอนมาสังกัด อบจ. ตามภารกิจการถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมีนทราชินี (สอน.) และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
เมื่อเดือนที่แล้ว ก.จ. (อบจ.) เพิ่งเห็นชอบเรื่องการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือน ที่ถ่ายโอนมายัง (รพ.สต.) สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในกรณี เงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงที่กำหนด
ให้ผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงอยู่ก่อน และถ่ายโอนมาสังกัด อบจ.
“ในกรณี ตำแหน่งประเภททั่วไป “ระดับอาวุโส” ที่เงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงในระดับอาวุโส และได้รับอัตราเงินเดือนในระดับทักษะพิเศษแล้ว แต่เงินเดือนยังสูงกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงของประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ (66,490 บาท)”
ตามประกาศ ก.จ. หลายฉบับ เช่น มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตราเงินเดือน และวิธีการจ่ายเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของข้าราชการที่ถ่ายโอนฯ รวมถึงสิทธิประโยชน์และความก้าวหน้าของบุคลากรถ่ายโอนจะต้องไม่ตํ่ากว่าเดิม.
ให้ อบจ. สามารถเลื่อนขั้นเงินเดือน ได้ไม่เกินขั้น 69,240 บาท (อัตราเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ (69,040 บาท) เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อข้าราชการ สังกัด อบจ.ได้รับเงินเดือนจนถึงอัตราเงินเดือนขั้นสูง ของอันดับหรือระดับเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนท้ายประกาศแล้ว ให้ได้รับ “ค่าตอบแทนพิเศษ” ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯด้วย
สำหรับ จำนวนข้าราชการที่ประสงค์ถ่ายโอน ปีงบฯ 2566 พบว่ามี ข้าราชการถ่ายโอนแล้ว 11,722 คน ขณะที่ปีงบฯ 2567 มีผู้สมัครใจถ่ายโอนจำนวน 3,863 ราย.