นักวิชาการดังเชียงใหม่ สะกิด “ด้อมส้ม” ไม่บังคับเครื่องแบบนักเรียน นโยบาย “ก้าวไกล” งง ทำไมไม่มีใครออกมา “ดีเบต” “เตชะ ทับทอง” ซัด ปัญหาอยู่ที่ สันดาน-จัญไร ทีมหลอกใช้เด็ก “อัษฎางค์” เผย ประเทศเจริญแล้ว ก็ใส่เครื่องแบบ
น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ (18 มิ.ย. 66) เพจเฟซบุ๊ก Pinkaew Laungaramsri ของ รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ภาควิชาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์ภาพ พร้อมข้อความ ระบุว่า
“อันนี้สำหรับด้อมส้มที่ให้ท้ายโรงเรียนเรื่องเครื่องแบบนักเรียนอยู่นะคะ
เผื่อไม่ทราบกัน นี่เป็นนโยบายที่พรรคก้าวไกลใช้ในการหาเสียงค่ะ
และขอโทษเถอะค่ะ ดีเบตเครื่องแบบนักเรียนที่ร้อนจี๋อยู่ตอนนี้ในสังคม ยังไม่เห็นพรรคก้าวไกลออกมาดีเฟนด์นโยบายที่ตัวเองเสนอเกี่ยวกับเครื่องแบบนักเรียนเลยแม้แต่คนเดียว หรือว่าเปลี่ยนนโยบายแล้ว?”
ขณะเดียวกัน “เตชะ ทับทอง” หรือ เต้ กลุ่มหนึ่งร้อยตัวแทนทำดีเพื่อพ่อ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กระบุว่า
“ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ “ชุดนักเรียน” ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ “มาตรา 112” แต่ปัญหาอยู่ที่ “สันดานอันแสดงออกผ่านพฤติกรรม” รวมถึง “ความจัญไรของกองเชียร์และทีมหลอกใช้เด็ก” ที่ตั้งใจบิดเบือนประเด็น และใจมืดบอดในการแยกแยะเรื่องดี/ชั่ว/ถูก/ผิด”
ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน “เอ็ดดี้” อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า
“ลูกชายของผมเรียนหนังสือที่ออสเตรเลียตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม ที่ออสเตรเลียนักเรียนทุกโรงเรียนต้องสวมเครื่องแบบนักเรียนด้วย ที่ต่างจากเมืองไทย คือ เครื่องแบบนักเรียนมีทั้งเสื้อแขนสั้นแขนยาว กางเกงมีขาสั้นขายาว มีเสื้อกันหนาว เด็กผู้หญิงใส่ได้ทั้งกางเกงหรือกระโปรง สาเหตุที่เลือกได้หลากหลายเนื่องจากสภาพอากาศ โดยเลือกใส่ตามสภาพอากาศของแต่ละวัน แต่ละฤดู
โดยนักเรียนชั้นอนุบาลและประถม (ต้องใช้คำว่า) จะถูกบังคับให้สวมหมวกด้วย เนื่องจากออสเตรเลียมีรังสีจากแสงแดดแรงและเป็นอันตราย ค่าเล่าเรียน ค่าครองชีพ ไม่ได้จะบอกเพื่อคุยอวด แต่บอกเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ลูกหลานไทยว่าปีละเป็น…… ก็ยังต้องแต่งชุดนักเรียน
นักเรียนในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ ที่ล้วนเป็นประเทศที่ร่ำรวยและเจริญก้าวหน้า ก็ต้องสวมเครื่องแบบนักเรียน”