ก้าวไกลมั่นใจได้เสียงหนุน “พิธา” นั่งนายกฯ เชื่อมั่นเพื่อไทยไม่ถอนตัวจากปมตำแหน่งประธานสภา ยืนยันเก้าอี้นี้ต้องเป็นของพรรค คาดอีก 2 สัปดาห์จบ หากไร้ปัญหาแทรกที่พรรคก้าวไกล
น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงความคืบหน้าการตั้งรัฐบาลและการเจรจานโยบาย ว่า ได้ลงนามพรรคร่วมรัฐบาล ทิศทางได้รับการตอบรับในเชิงบวก ทั้งจากพรรคร่วมและประชาชน หลังจากเราชัดเจนเรื่องจุดยืนและนโยยานพรรค ทาง ส.ว.เข้าใจมากขึ้น และยอมรับในหลักการโหวตให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯมากขึ้น แต่เรายังเดินหน้าเจรจากับ ส.ว.เป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้เสียงสนับสนุนให้ครบ เชื่อมั่นว่า เราจะได้เสียงมากพอที่จะโหวจให้ นายพิธา เป็นนายกฯได้
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า หลังจากได้เดินสายพบปะพูดคุย คือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งขอบคุณที่ยอมรับวิสัยทัศน์ของนายพิธา เราเน้นการสร้างเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม ลดเหลื่อมล้ำ และเราจะเดินหน้าต่อเนื่อง สภาแรงงงาน หอการค้า เชื่อว่า การพูดคุยจะทำให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นใจนโยบายของเรา
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ส่วนตำแหน่งประธานสภา เรายังยืนยันต้องเป็นของพรรคก้าวไกล เพราะมี 3 วาระ ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันกฎหมาย 45 ฉบับตามนโยบายพรรค กฎหมายของพรรคอื่นและกฎหมายที่เสนอโดยประชาชน จะได้ทำอย่างรวดเร็ว เพื่อผลักดันวาระแก้รัฐธรรมนูญให้เดินหน้าอย่างราบรื่น เปิดทางร่างรัฐธรรมนูญใหม่มาจาก ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นวาระสำคัญที่พรรคร่วมเห็นตรงกัน ถ้าจะทำภารกิจนี้ให้ลุล่วงต้องประชุมอีกหลายครั้ง ต้องมีประธานสภาที่มีเจตจำนงแน่วแน่ถึงจะทำภารกิจนี้ได้ลุงล่วง วาระต่อมาคือผลักดันให้เกิดรัฐสภาโปร่งใส เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ผลักดันให้เกิดสภาเยาวชนเพื่อรับฟังเสียงของเยาวชนที่ยังม่มีสิทธิเลือกต้งในัจจุบัน เพื่อให้มีที่ทางได้แสดงออก
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า เรื่องจำนวน ส.ส.ที่มีลดลงจากการประกาศของ กกต. ส.ส.เขตของพรรคลดลงจาก 113 เหลือ 112 ที่นั่ง เป็นสิ่งที่เราเห็นข้อผิดพลาดอยู่แล้ว เรายังยืนยัน ส.ส.เขตที่ 112 บัญชีรายชื่อ 39 ที่นั่ง จำนวน ส.ส.ของก้าวไกลจะอยู่ที่ 151 ส่วนที่ลดลงเป็นไปตามที่คาดการณ์ ไม่เป็นกังวลหรือกระทบต่อการจัดตั้งรัฐบาล
ช่วงนี้เป็นการเจรจาพรรคร่วมรัฐบาลในเรื่องของจัดแบ่งกระทรวง ตำแหน่งสำคัญต่างๆ และหารือนโยบายในส่วนที่เห็นต่าง ที่ผ่านมาเอ็มโอยูแถลงนโยบายที่เห็นร่วมแต่ยังมีบางส่วนที่เห็นต่าง จำเป็นต้องหารือ เช่น เรื่องค่าแรง 450 บาท ทางพรรคเพื่อไทยให้สัญญาณทางบวกว่าไม่ขัดข้องถ้าก้าวไกลดำเนินนโยบายนี้ หรือดิจิทัลวอลเล็ต ถ้าพรรคใดทำแล้วมีผลกระทบต่อนโยบายอื่น ตรงนี้เป็นแนวทางพูดคุยเพื่อเป็นข้อสรุปแถลงต่อรัฐสภา
ส่วนการเจรจาต่อรอง ต้องไปพูดคุยในรายละเอียดว่าได้กระทรวงไปแล้ว พรรคขอตำแหน่งประธานสภา ไม่ใช่เซึ่งรื่องผิดแผกเพราะเรามีวาระที่ชัดเจน เราต้องพูดคุยกันว่าวาระเหล่านี้จะทำงานร่วมกันได้อย่างไร
เมื่อถามว่ามีการมองว่าพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลมีการแทงกันข้างหลัง น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ไม่เป็นความจริง เราซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน ปรากฎการณ์แทงกันข้างหลังไม่มีจากพรรคก้าวไกล อะไรที่เป็นข้อกังวลไม่จริงใจต่อกัน สามารถพูดคุยกันได้ ตอนนี้เราไม่มีความเชื่อใดๆ ว่า พรรคเพื่อไทยจะถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลครั้งนี้ หลังจากได้พูดคุยกันหลายครั้ง เรายังเชื่อมั่นว่าเพื่อไทยจะไม่ถอนตัวจะอยู่ร่วมกับเราต่อไปไม่ว่าจะมีตำแหน่งประธานสภาหรือไม่ก็ตาม
เมื่อถามว่า ได้วางตัวประธานสภาหรือยัง ใช่บุคคลที่ปรากฏเป็นข่าวหรือไม่ น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า มีการพูดคุยกันแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าประธานสภาเป็นใคร แต่มีหลายคนที่เหมาะสม ไม่เฉพาะควบคุมการประชุม แต่ต้องขับเคลื่อนการทำงานต่างๆ ยังไม่มีการตกลงใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งตัวประธานสภาและตัวรัฐมนตรี เป็นเพียงข่าวที่คาดการณ์กัน ในอดีตอาจมีประธานสภาที่มีอายุน้อย ซึ่งต้องให้โอกาสที่จะเข้ามาทำ ไม่เช่นนั้น การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นยาก จะเปิดรายชื่อในช่วงใกล้เปิดประชุมสภา
เมื่อถามถึงปัญหาขัดแย่งระหว่าง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กับ น.ต.ศิธา ทิวารี แกนนำพรรคไทยสร้างไทย อาจบานปลายทำให้เกิดการถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า เราคิดว่า น.ต.ศิธา และ นพ.ชลน่าน เป็นผู้ใหญ่ทั้งคู่ คิดว่า การมีข้อพิพาทกันจะคลี่คลายในแนวทางที่ดีได้ เมื่อทั้งสองฝ่ายอารมณ์เย็นลงและได้พูดคุยกัน ไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาในการ่วมงานกันในอนาคต
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ส่วนการจัดสรรตำแหน่งต่างๆ จะจัดสรรอย่างเป็นธรรม สะท้อนจากจำนวน ส.ส. ซึ่งกระบวนการเจรจาต่อรองยังทำอย่างต่อเนื่อง ไม่อยากให้ฟันธงในเรื่องของตัวเลข ทั้งนี้ จำเป็นต้องหารือกับพรรคร่วมในประเด็นต่างๆ ไม่อยากให้เป็นการส่งสัญญาญว่าเลือกกระทรวงกันแต่อย่างใด เพราะกระบวนการเจรจาในเรื่องตำแหน่งยังไม่เสร็จ การที่ก้าวไกลยึดถือนโยบายของพรรคเป็นหลักอาจเป็นการไม่ให้เกียรติพรรคร่วมรัฐบาล
ส่วนที่มีโผหลุดออกมาเป็นการคาดการณ์ของหลายฝ่ายที่อยากเห็นหน้าตาของ ครม. ต้องรอให้การเจรจายุติหรือสิ้นสุดให้ได้ผลแน่ชัดเพื่อยืนยันอีกคั้ครั้ง ส่วนที่กกต.รับรองผลได้เร็วขึ้น เราจะจัดตั้งรัฐบาลได้เร็วขึ้น จากเดินคาด 45-60 วัน ถ้าใช้ไม่ถึง ก็ไม่ถึง 2 สัปดาห์จะทำให้กระบวนการต่างๆรวดเร็วยิ่งขึ้น คิดว่าเรื่องการเจรจาสามารถทำให้จบได้รวดเร็วเช่นกัน น่าจะประมาณ 2 สัปดาห์น่าจะจบ ถ้าไม่มีปัญหาอื่นมาแทรก
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ส่วนของ ส.ว.นั้น มี ส.ว.บางส่วนออกมาเปิดเผยว่าจะโหวตอย่างไร เราให้เกียรติและเคารพ ส.ว.ทุกท่าน เรารวบรวมได้อยู่ที่ 19 คน อาจจะตรงกับหลายสื่อ ซึ่งตัวเลขอยู่ที่ 16-20 คน ที่ประกาศหน้าสื่อ ทั้งนี้ ส.ว.เห็นทิศทางบวกจากการพูดคุย ส.ว.บางคนไม่อยากประกาศต่อสาธารณะ ทำให้สิ่งเราเห็นมีบางส่วนเท่านั้น แต่ยิ่งใกล้วันโหวต ยินดียอมรับในหลักากรประชาธิปไตย เราไม่ได้บิกให้เห็นด้วยกับก้าวไกลในการดำเนินนโยบายแต่ขอให้ ส.ว.เคารพในหลักการประชาธิปไตยโหวตให้พรรคที่ได้ ส.ส.สูงสุดในสภา จากการพูดคุยรายบุคคลทำให้คลายความกังวลหลายเรื่อง เรายังมั่นใจว่าตัวเลขที่รวบรวมและเดินหน้าพูดคุย รวมถึงสัญญาญต่างๆ ที่ได้รับจาก ส.ว. จะเป็นไปในทางบวก ได้เสียงครบถ้วนเพียงพอจัดตั้งรัฐบาลได้
เมื่อถามถึงกรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ยื่นยุบ 8 พรรคที่ร่วใลงนามในเอ็มโอยู เข้าข่ายผิดพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ไม่กังวล คิดว่า การลงนามในเอ็มโอยูไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย การตีความว่า พ.ร.ป.พรรคการเมืองจะเป็นกฎหมายที่ไม่ได้เขียนไว้จะทำไม่ได้เลย มันถูกต้องแล้วหรือยัง จึงไม่กังวลในเรื่องที่นายเรืองไกร ยื่นหนังสือดังกล่าว
เมื่อถามถึงข่าวพรรคจะให้ น.ส.ศิริกัญญา ดำรงตำแหน่ง รมว.คลัง น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ต้องเป็นมติพรรคในการจัดสรรตำแหน่งต่างๆ ตอนนี้เดินหน้าทำงานในฐานะทีมเจรจาอย่างต่อเนื่อง ถ้าพรรคมอบหมายก็ยินดีที่จะรับตำแหน่ง
เมื่อถามว่า ตำแหน่งประธานสภา อาจเป็นเงื่อนไขทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ไม่เป็นข้อกังวลที่เราต้องการตำแหน่งประธานสภา จากนี้กระบวนการเจรจาตกลงตามวาระที่เสนอต่อสาธารณะ จะนำไปพูดคุยกับเพื่อไทย เราไม่กังวลใจเรื่องการเสนอชื่อนายกฯเป็นคนอื่น แข่งกันตั้งรัฐบาลเพราะเราเชื่อใจพรรคเพื่อไทยจะร่วมหัวจมท้ายไปกับเราในการจัดตั้งรัฐบาล
ส่วนกระแสข่าวฟรีโหวตในตำแหน่งประธานสภา น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า คิดว่า ตามกระบวนการเจรจาจะได้ข้อยุติก่อนถึงให้ฟรีโหวต การที่ประชาชนชุมนุมถือเป็นเสรีภาพ เราคงไม่ยับยั้ง เป็นเรื่องที่เราต้องพิจารณาว่ากระทบกับ ส.ว.ลงคะแนนให้นายพิธา เป็นนายกฯหรือไม่ ที่ผ่านมา พูดคุย ส.ว.มีข้อกังวลใจเรื่องนี้ แต่ไม่ใช่เรื่องชุมนุม เป็นเรื่องการใช้ถ้อยคำที่รุนแรงต่อกัน 4 ปีที่ผ่านมา เราอภิปรายในเชิงหลักการ ไม่ได้โจมตีบุคคลใด บทบาทหน้าที่ ส.ว.มาพร้อมกับ รธน.60 เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เราติดล็อกอยู่ตรงนี้