xs
xsm
sm
md
lg

“ปิยบุตร” ค้าน 2 ประเด็น MOU ร่วมรัฐบาลปมสถาบัน เตือนก้าวไกลระวังเป็นบ่วงรัดคอกระทบแก้ ม.112

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ ไม่เห็นด้วย 2 ประเด็นปมสถาบัน ในเอ็มโอยูร่วมรัฐบาล เตือนก้าวไกลระวังเป็นบ่วงรัดคอ เผย เนื้อหาแตกต่างจากเนื้อหาในร่างเอ็มโอยูเดิม กระทบแก้มาตรา 112

วันนี้ (22 พ.ค.) นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ในเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล ถึงประเด็นเอ็มโอยูร่วมรัฐบาลว่า

สองประเด็นที่ผมไม่เห็นด้วยกับ MOU การร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกล ผมขอแสดงความยินดีกับพรรคก้าวไกล ที่สามารถเจรจาการจัดตั้งรัฐบาลคืบหน้าไปอีกขั้นตอนและสนับสนุน เอาใจช่วยให้ตั้งรัฐบาลได้สำเร็จภายใต้การนำของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

ผมได้อ่าน MOU การร่วมรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกลแล้ว ผมไม่เห็นด้วยในสองประเด็น ซึ่งแตกต่างไปจากเนื้อหาที่ปรากฏในร่าง MOU สุดท้ายที่หลุดออกมาทางสื่อ

ประเด็นแรก การเพิ่มข้อความที่ว่า “ต้องไม่กระทบกับรูปแบบของรัฐและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำรงอยู่ในสถานะอันเป็นที่สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์”

เหตุผล ข้อความเหล่านี้ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่แล้วว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และรูปแบบของรัฐได้

การบัญญัติข้อความนี้ซ้ำลงไป ไม่ส่งผลใดๆ ในทางกฎหมายและในทางการเมือง เพราะอย่างไรเสีย รัฐบาลใดที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐและระบอบการปกครองได้อยู่แล้ว พวกที่ทำแบบนี้ได้ คือ พวกก่อการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญเท่านั้น

ตรงกันข้าม การเขียนลงไปแบบนี้ คือ การแสดงออกแบบ “กินปูนร้อนท้อง” หรือ “วัวสันหลังหวะ” เสียมากกว่า

นอกจากนั้น การเพิ่มถ้อยคำที่ว่า “สถานะอันเป็นที่สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์” ก็อาจเป็น “บ่วงรัดคอ” ที่ทำให้พรรคก้าวไกลต้องประสบปัญหาในการเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ในอนาคต

ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี ผมแสดงความเห็นทางวิชาการไว้หลายครั้งเกี่ยวกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแบบมาตรา 6 ที่ว่า “องค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” โดยเฉพาะประเด็นประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบทบัญญัตินี้ การเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญต่างประเทศ แนวทางการตีความของศาลรัฐธรรมนูญไทยที่ตีความกว้างขวางออกไปเกินความเป็นจริงจากเจตนารมณ์ของบทบัญญัตินี้ และเห็นว่า ควรปรับแก้บทบัญญัตินี้เสียใหม่ ให้สอดคล้องกับหลัก “พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิด เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีพระราชอำนาจทางการเมือง การบริหาร โดยแท้ แต่เป็นรัฐมนตรีผู้มีอำนาจและต้องรับผิด”

แต่นั่นเป็นความเห็นส่วนตัวของผม ส่วนพรรคก้าวไกลจะคิดอ่านแก้ไขเรื่องเหล่านี้หรือไม่ ก็เป็นเรื่องของพวกเขา (ซึ่งผมคิดว่าพวกเขาคงไม่แตะ)

ผมเห็นว่า การเพิ่มถ้อยคำนี้ลงไปใน MOU อาจจะไป “รัดคอ” พรรคก้าวไกลในภายหลังได้ เมื่อพรรคก้าวไกลเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 (ตามที่เคยเสนอไป และตามที่เคยแถลงเป็นนโยบาย) ก็อาจจะถูก ส.ส. ส.ว. และศาลรัฐธรรมนูญ นำมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญมาผสมผสานกับข้อความใน MOU ดังกล่าว มาขยายความตีความแบบพิสดาร เพื่อมัดไม่ให้พรรคก้าวไกลได้ใช้กลไกสภาแก้ไขมาตรา 112 ได้

ต้องไม่ลืมว่า ในส่วนแนวทางปฏิบัติ ข้อที่ 5 ใน MOU นี้ เปิดทางให้ ส.ส.ของแต่ละพรรคทำเรื่องอื่นๆ ได้ผ่านการตรากฎหมายในสภา แต่ “ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงนี้”

ประเด็นที่สอง การตัดเรื่องการผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมคดีเกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมือง ผ่านกลไกรัฐสภา ออกไป

เหตุผล พรรคก้าวไกลมีพันธกิจสำคัญที่รับมาจากความคาดหวังของประชาชน เยาวชน จำนวนมาก ในการยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่พัวพันกันมาตั้งแต่รัฐประหารปี 49 ผ่านเหตุการณ์ปี 53 ผ่านรัฐประหาร 57 และการชุมนุมของ “ราษฎร” ในปี 63-65

การจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้สำเร็จ ต้องใช้กลไกการนิรโทษกรรม ให้กับบุคคลที่ถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมืองเสียก่อน กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ใช่อาชญากรโดยสันดาน พวกเขาเพียงแต่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน เห็นไม่ตรงกันเท่านั้น แน่นอน การทำเรื่องเหล่านี้ได้สำเร็จ สุดท้ายต้องไปจบที่สภา เพราะต้องตราเป็นกฎหมายนิรโทษกรรม แต่มันจะผ่านได้ ก็ต้องมีเสียงข้างมากในสภาสนับสนุน ดังนั้น ถ้าทุกพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาล 313 เสียง เห็นตรงกันตั้งแต่วันนี้ ก็เป็น “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” ให้ประชาชนคนธรรมดาทุกกลุ่ม ทุกฝักฝ่าย ที่ออกมาชุมนุมทางการเมือง แสดงออกทางการเมือง






กำลังโหลดความคิดเห็น