วันนี้(1 ก.พ.)ศาสตราจารย์ระพีพรรณ คำหอม หัวหน้าโครงการ พัฒนาและเสริมสมรรถนะกลไกและเครือข่ายการดูแลทางสังคมของสหวิชาชีพเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการตามที่ได้รับการสนับสนุนโครงการจากกองทุน สสส. เปิดเผยว่าโครงการนี้นับเป็นครั้งแรกที่รวบรวมเครื่องมือการทำงานของทางสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ทั้งหมด 23 เครื่องมือ ประเมินผู้ป่วย รวมไปถึงจัดทำแผนดูแลด้านสุขภาวะ สามารถใช้ร่วมกันกับวิชาชีพอื่นๆ ได้ เพื่อให้เกิดมาตรฐาน และความน่าเชื่อถือในการทำงาน สามารถนำไปออกแบบบริการสวัสดิการสังคม การจัดการรายกรณี ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ และดูแลได้ถึงระดับปฐมภูมิ ซึ่งจากการดำเนินโครงการ 12 แซนด์บ็อกซ์ ทำให้นักสังคมสงเคราะห์พัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลในการทำงาน ลดกระดาษ ลดเวลาการทำงาน และหากมีการเชื่อมต่อได้อย่างสมบูรณ์ การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามคาดหวังว่าโครงการในปีที่2นั้น จะพัฒนาระบบ Platform Social Telecare ให้เข้าไปสู่การทำงานร่วมกัน ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.)
ศาสตราจารย์ระพีพรรณเปิดเผยว่าโครงการในระยะต่อไปจะพยายามเชื่อมโยงกับระบบนักสังคมสงเคราะห์ท้องถิ่นหรือนักสังคมสงเคราะห์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อให้เกิดการทำงานแบบไร้รอยต่อ
นายวัชระอมศิริคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดเผยว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรวบรวมเครื่องมือใน Platform Social Telecareได้มากขนาดนี้เป็นเรื่องใหม่ของนักสังคมสงเคราะห์จึงทำให้ทุกคนตื่นเต้นและได้ใช้ประโยชน์จากการเสริมทักษะสมัยใหม่แม้อาจจะต้องปรับวิธีการทำงานจากเดิมที่คุ้นเคยกับการบันทึกด้วยกระดาษแต่เครื่องมือใน Platform Social Telecareจะช่วยประมวลและแสดงผลได้อย่างรวดเร็วชัดเจน ซึ่งการออกแบบจะต้องมีความยืดหยุ่นและแม่นยำมากขึ้นอย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบเพื่อตอบโจทย์การใช้งานสำหรับนักสังคมสงเคราะห์ต้องใช้เวลาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นางเยาวเรศคำมะนาดนายกสมาคมนักสังคมสงเคราะห์การแพทย์ไทยกล่าวว่า นักสังคมสงเคราะห์ในระบบบริการสุขภาพ จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ในยุคnext normalที่ต้องเรียนรู้เรื่องของดิจิทัลทั้งเรื่องของPlatform Social Telecareหรือ Telehealthซึ่งสามารถเรียนรู้ระหว่างการทำงานได้ด้วยระบบสนับสนุนเช่นที่โครงการฯดำเนินงานอยู่ในขณะนี้และจะขยายผลต่อไปอย่างแน่นอนจึงอยากเชิญชวนนักสังคมสงเคราะห์ทั่วประเทศเข้ามาร่วมเรียนรู้เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและระบบบริการ
นางสโรทร ม่วงเกลี้ยง นักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพเชื่อว่าหากสามารถพัฒนา Platform Social Telecareจะเป็นการพัฒนาการทำงานกับมนุษย์ด้วยการใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือ จะสามารถทำให้นักสังคมสงเคราะห์ทำงานได้เร็วขึ้นจัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วนได้แม่นยำมากขึ้นครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และ”ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
ดร.ขนิษฐาบูรณพันศักดิ์หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกล่าวว่าการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์มีความท้าทายเพราะต้องทำงานกับหลากหลายกลุ่มอาทิคนพิการผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางและคนจนเมืองซึ่งมีความยากลำบากจึงต้องบูรณาการองค์ความรู้หลากหลายศาสตร์ทั้งความรู้ทางสังคมความรู้เรื่องสิทธิความรู้ทางกฏหมายความรู้เรื่องเครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์และองค์ความรู้ทางดิจิทัลต่างๆมาร่วมขับเคลื่อนขณะที่วิชาชีพอื่นๆก็สามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้ได้ซึ่งสามารถมั่นใจได้ว่าเครื่องมือ Platform Social Telecare นำไปสู่การประเมินที่ได้มาตรฐานและวางแผนการช่วยเหลือและบำบัดต่างๆได้ซึ่งในโครงการระยะต่อไปจะทำให้เห็นภาพทำเนียบของทรัพยากรต่างๆในแต่ละพื้นที่ด้วย