xs
xsm
sm
md
lg

ย้ำ! ท้องถิ่น รู้ทัน “แก๊งอมเงินหลวง” หลังเสียหายสะสม 2.9 พัน ล. ปูด! ผู้มีอำนาจ-คนถือรหัส-คนเซ็น หัวขบวนโกงผ่านช่องว่าง “กรุงไทยออนไลน์”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มหาดไทย เวียนย้ำ! ท้องถิ่นทั่วประเทศ แนวทางป้องกัน “แก๊งอมเงินหลวง” หลังพบสะสมเสียหายแล้ว 2.9 พันล้าน เปิดข้อบกพร่อง พบผู้มีอำนาจ-คนถือรหัส-คนเซ็นอนุมัติ หัวขบวนโกง ตั้งแต่ขั้นโอนผ่านระบบ “กรุงไทยออนไลน์” ตั้งแต่ต้น จนจบขั้นตอน ทั้งรายการเบิกเท็จ แก้ไข statement ธนาคาร จี้ทุก อปท. สมัครใช้บริการรักษาความปลอดภัยแบบสองชั้น

วันนี้ (23 พ.ย.) มีรายงานจารกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ภายหลัง กระทรวงมหาดไทย เวียนหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ผ่าน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)

ขอให้ผู้ว่าฯ สั่งการผ่านนายอำเภอ ดำเนินการควบคุมและการป้องกันการทุจริตการจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หลังจากสื่อมวลชน มีการนำเสนอข่าวยักยอกเงินของ อปท. ที่อยู่ในกำกับหลายแห่ง ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาครัฐ

โดยเฉพาขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินในทุกขั้นตอน จะต้องปฏิบัติให้เน้นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินของ อปท.พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

“ว่าด้วยการการเขียนเช็คสั่งจ่าย ห้ามผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายเงิน ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คไว้ล่วงหน้า โดยยังมิได้ มีการเขียนหรือพิมพ์ชื่อผู้รับเงิน และจำนวนเงินที่สั่งจ่าย โดยเด็ดขาด”

คราวนั้น หนังสือยังเน้นไปที่ การจ่ายเงินโดยวิธีการโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online ในทุกขั้นตอน

“จะต้องปฏิบัติให้เน้นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการรับเงิน และการจ่ายเงินของ อปท. ผ่านระบบ KTB Corporate Online และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง ตามหนังสือที่อ้างถึง”

ล่าสุด สถ. ได้ส่งแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการทุจริตด้านการเงินการคลังของ อปท. ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด

โดยพบว่า มีข้อบกพร่องที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต เช่น การทุจริตจากการปฏิบัติงานระบบ KTB Corporate Online โดยเฉพาะการขอเบิกจ่ายเงินในระบบ ที่ดำเนินการเพียงคนเดียวตั้งแต่ต้น จนจบขั้นตอน

“เนื่องจากมีความรู้ในการเบิกจ่ายเงินและเป็นผู้ถือรหัสผู้ใช้งานส่วนบุคคล ทั้งบุคคลที่มีหน้าที่ นำเข้าข้อมูล (Company User Maker) และบุคคลที่มีหน้าที่อนุมัติ (Company User Authorizer)”

เมื่อพิมพ์ข้อมูลจากในระบบออกมาแล้ว มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง รายการที่เบิกเท็จ และมีการแก้ไข statement ของธนาคาร เพื่อให้ยอดคงเหลือตรงกับในรายงาน ผู้บังคับบัญชา ทำให้ไม่เห็นรายการเบิกเงินผิดปกติ

การมอบหมายบุคคลใดบุคคลหนึ่งแบบไม่เป็นทางการในการเข้าถึงข้อมูลและรหัสส่วนบุคคล เพื่อดำเนินการเข้าใช้งานในระบบจึงทำให้สามารถดำเนินการอนุมัติรายการต่างๆ นำไปสู่การกระทำทุจริตได้

กรณีการย้ายหรือมารับตำแหน่งใหม่ ไม่มีการมอบหมายงานที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และส่งมอบงานในหน้าที่ที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน

ระบบฯ สามารถโอนเงินให้แก่บุคคลที่มิใช่เจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิ ที่ได้รับเงินกับ อปท.ได้ โดยอาศัยการที่เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเข้าระบบแต่เพียงผู้เดียว

“การไม่กำกับดูแลผู้ที่มีหน้าที่ด้านการเงินการคลังอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดการกระทำทุจริต ไม่มีการสอบทานและตรวจสอบทำให้ผู้กระทำความผิดสามารถดำเนินการโดยไม่มีเอกสารการเบิกจ่ายใด ในการโอนเงินออกจากระบบ”

ด้านทักษะการเงินการคลังของบุคลากร พบว่า ผู้บริหารและผู้มีหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องด้านการเงินการคลังของ อปท. รวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่นำเข้าข้อมูล และบุคคลที่มีหน้าที่อนุมัติ ในระบบ

“ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเบิกจ่ายเงิน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย และหนังสือสั่งการ ที่เกียวข้อง หรือการเข้าใข้งานในระบบ โดยเฉพาะอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติ”

ในด้านการจ่ายเงินด้วยเช็คเจ้าหน้าที่ที่รับผิดขอบสามารถดำเนินการทุจริตปลอมลายมือผู้มือำนาจลงนามในเช็ค

“โดยที่ธนาคาร ไม่เกิดความสงสัยในการปลอมลายมือชื่อ เนื่องจากการมอบหมายให้บุคคลเพียงคนเดียวดำเนินการทุกขั้นตอน และมีความสนิทสนมกับธนาคารหรือหน่วยงานภายนอก”

สถ.ยังเน้นย้ำ ให้ อปท.ดำเนินการรักษาความปลอดภัยสองชั้น ด้วยการให้ อปท.ทุกแห่งที่ใช้งานระบบ KTB Corporate Online สมัครใช้บริการระบบรักษาความปลอดภัยแบบสองชั้น (Two-Factor Authentication (2FA))

“โดยก่อนการอนุมัติเบิกจ่ายเงินในระบบ ธนาคารจะส่งรหัสลับใช้ครั้งเดียว (One Time Password (OTP)) ไปที่เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบุคคลที่มืหน้าที่อนุมัติ (Company User Authorized ที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อให้นำรหัสสับดังกล่าวมากรอกใส่หน้าจอเพื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินในระบบ”

หรือ กรณีที่มีการทุจริตเกิดขึ้นให้แจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีและยึดอายัดบัญชีธนาคาร ของผู้กระทำความผิดหรือผู้เกี่ยวช้องตลอดจนสิ่งของหรือพยานหลักฐานต่างๆ ตามมาตรา 131 และมาตรา 132 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ข้อมูลของ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ที่แจ้งเวียนหน่วยงานราชการทั่วประเทศ

เกี่ยวกับการรายงานผลการเร่งรัด ติดตามกรณีเงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบ 6 เดือนแรก (1 ต.ค. 2564 - 31 มี.ค. 2565)

ระบุว่า กรณีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 รายการ พบว่า ความเสียหายถึง 22,140,809.10 บาท

โดยเฉพาะความเสียหายสูงสุดใน 42 รายการ คือ การทุจริตยักยอกเงินและทรัพย์สินราชการ 34 เรื่อง เสียหาย 66.7 ล้านบาทเศษ

ยังพบว่า มีการสะสมที่ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่ปี 2564 เป็นเรื่องที่รายงานสูงสุด คือ การทุจริตยักยอกเงินและทรัพย์สินราชการ เป็นของ อปท. กว่า 1,527 เรื่อง เสียหาย 2,903.10 ล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น