xs
xsm
sm
md
lg

มหาดไทย มึนตึ้บ! ตีความ “ปืนแบลงค์กัน” คนทั่วไปครอบครอง-นำเข้า ผิด กม.อาวุธปืน หรือไม่?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ฝ่ายกฎหมาย มหาดไทย มึนตึ้บ! ตีความ “ปืนแบลงค์กัน” คนทั่วไปครอบครอง-นำเข้าเพื่อการค้า เข้าข่ายอาวุธปืน หรือสิ่งเทียมอาวุธปืน ตาม พ.ร.บ.ปี 2490 หรือไม่ หลัง “ตำรวจไซเบอร์” ขอหารือเดินหน้ายุทธการ “CyberCop” “ปค.” ยันอาจกระทบผู้ประกอบการ ขอใบ ป.4 เพื่อจำหน่าย อาจถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาจาก จนท. ส่วน “สป.มท.” ยกหนังสือ อสส.-คำพิพากษา แถมชี้กฤษฎีกา ตีความ “บีบีกัน” ไม่ใช่อาวุธปืน

วันนี้ (21 ก.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย กระทรวงมหาดไทย คณะที่ 1 ได้พิจารณาข้อหารือ เพื่อตีความสถานะของ “ปืนแบลงค์กัน” ตามที่ผู้แทนกรมการปกครอง เสนอ

ซึ่งเป็นไปตามที่ กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) ได้มีหนังสือ สอบถามรายละเอียดปืนแบลงค์กัน และเครื่องกระสุนชนิดนี้

“จัดว่า เป็นอาวุธปืน หรือสิ่งเทียมอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปีน พ.ศ. 2490 หรือไม่ อย่างไร และบุคคลใดจะครอบครอง หรือนำเข้า เพื่อการค้าจะต้องมีการขออนุญาตแบบใดและมีขั้นตอนทางกฎหมายอย่างไร”

เบื้องต้น คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายฯ เห็นว่า ในลำดับแรก “กรมการปกครอง” ควรพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ อาวุธปืน ปี 2490 ที่มุ่งคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยจากบรรดาอาวุธทั้งหลาย

จึงควรมีนโยบายการควบคุมปืนแบลงค์กัน โดยพิจารณาจากศักยภาพและอันตรายของปืนแบลงค์กัน ว่า เมื่อนำไปใช้จะเป็นอันตราย มากน้อยเพียงใด

“มากกว่าที่จะอาศัยการตีความนิยาม ว่าเป็นอาวุธปืนหรือสิ่งเทียม อาวุธปืน รวมทั้งต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับปืนแบลงค์กัน ต่อผู้สุจริตด้วย”

เนื่องจากเป็นความผิดทางอาญาที่ได้กำหนดอายุความไว้ยาว อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนที่ต้องเสี่ยง กับข้อกฎหมายที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบตีความขัดแย้งกัน

นอกจากนี้ “กรมการปกครอง” ควรดำเนินการศึกษาข้อมูลและแก้ไขปัญหา โดยการกำหนดมาตรการในการควบคุมและแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาต การนำเข้า การส่งออก การจำหน่าย การมีไว้ในครอบครอง

รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายโดยการกำหนด รายละเอียดในเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืนหรือสิ่งเทียมอาวุธปืนก็ตาม

โดยอาจจัดแบ่งเป็นกลุ่ม หรือประเภท ตามแต่ละชนิดและลักษณะของอาวุธ และกำหนดระดับการควบคุม กำหนดความผิด ในระดับความเข้มงวดที่แตกต่างลดหลั่นกันลงไป โดยอาจกำหนดนโยบายในการควบคุมและผ่อนปรนไว้ ในส่วนของบทเฉพาะกาล

“ดังนั้น จึงไม่ควรพิจารณาตีความว่าปืนแบลงค์กัน เป็นอาวุธปืนหรือสิ่งเทียม ตามนิยามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาวุธปีน ปี 2490”

แต่ควรจะแก้ไขปรับปรุง และกำหนดมาตรการต่างๆ รวมทั้งควรปรึกษาหารือกันระหว่างหน่วยงานผู้รับผิดชอบและใช้กฎหมายดังกล่าว และ มีความเห็นเพิ่มเติมว่าในช่วงนี้ “ควรชะลอการปรับใช้บังคับ” ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เปี 2490 กับปืนแบลงค์กันไว้ก่อน

และเร่งศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติอาวุธปืน เปี 2490 ต่อไป

ทั้งนี้ ในขณะที่อยู่ระหว่างการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย อาจออกหนังสือสั่งการ หรือกำหนดแนวทาง ตามที่ศาลหรือพนักงานอัยการ ได้วางแนวปฏิบัติไว้ และบังคับใช้กฎหมายตามหน้าที่และอำนาจ ซึ่งมีอยู่ตามกฎหมายฉบับปัจจุบัน ที่กำหนดไว้ในเรื่องการขออนุญาตน่าเข้าหรือจำหน่าย

มีรายงานว่า ความเห็นของ “สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง” ต่อการตีความในการบังคับใช้กฎหมาย ระหว่างผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานสองหน่วยงาน “ปค. กับ สป.มท.” ซึ่งมีความเห็นแตกต่างกันว่า ปืนแบลงค์กัน เป็นอาวุธปืนตามความในมาตรา 4(1) หรือเป็นสิ่งเทียม อาวุธปืนตามความในมาตรา 4(4)

และกระสุนของปืนแบลงค์กันเป็นเครื่องกระสุนปืนตามความ ในมาตรา 4(2) หรือเป็นดอกไม้เพลิงตามความในมาตรา 4(4) แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้

“อาจกระทบต่อประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต ให้จำหน่ายหรือค้า ซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปืน (แบบ ป.4) และใบอนุญาตให้สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปืน (แบบ ป.2) อย่างถูกต้องตามกฎหมายจากนายทะเบียนท้องที่ โดยอาจถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ตามกฎหมายดังกล่าว และถูกดำเนินคดีอาญาได้”

ขณะที่ ความเห็นของของอีกฝ่าย “สำนักกฎหมาย สป.มท.” ยกข้อเท็จจริงตามหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส 0030.4/9060 ลงวันที่ 28 มิ.ย.2564 ได้มีคำสั่งชี้ขาด “ไม่ฟ้องคดีเกี่ยวกับการมีปืนแบลงค์กันไว้ในครอบครอง”

โดยได้อธิบายลักษณะของปืนแบลงค์กัน ว่า เป็นปืนเสียงเปล่า มีรูปร่างเป็นอาวุธปืนที่จำลองรูปแบบ และหลักการทำงานมาจากปืนจริงเท่านั้น

“แต่ไม่สามารถขับเคลื่อนกระสุนปืนจริงออกมาจากลำกล้องได้ มีแสงไฟและเสียงออกจากปลายกระบอกปืน ลำกล้องภายในมีแกนขวางลำกล้อง เพื่อป้องกัน การดัดแปลงอาวุธปืน ช่องใส่กระสุนปืนไม่สามารถขับเคลื่อนเครื่องกระสุนปืน หรือเม็ดกระสุนใดๆ ออกมาจากลำกล้องได้”

มีเพียงรูระบายแก๊สออกจากปลายกระบอก มีการคัดปลอกกระสุนเท่านั้น มีวัตถุประสงค์ เช่น ใช้ถ่ายท่าภาพยนตร์หรือสัญญาณปล่อยตัวนักกีฬา เมื่อเกิดการยิงจะเกิดเพียงเสียง และเปลวไฟออกจากลำกล้องปีนเท่านั้น ไม่ได้มีการส่งเครื่องกระสุนปืนออกมาด้วย

และเปลวไฟที่เกิดจากการยิงไม่มีอานุภาพและความรุนแรงที่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตได้ดังเช่นอาวุธปีน โดยทั่วไป

สป.มท. ยังยกคำพิพากษาของ ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ อ 401/2563 ที่ยกฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำผิดฐาน มีปืนแบลงค์กันไว้โนครอบครอง มาประกอบการตีความ

ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เคยให้ความเห็นตามเรื่องเสร็จที่ 846/2551 เกี่ยวกับลักษณะชอง BB GUN ว่า มิได้เป็นอาวุธปืน ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากสภาพโครงสร้างของ BB GUN ที่ผลิตจากพลาสติกและเหล็กธรรมดาบางส่วน

ซึ่งไม่มีความแข็งแรงทนทานเพียงพอที่จะใช้ BB GUN เป็นอาวุธส่งเครื่องกระสุนปืนได้

ดังนั้น ปืนแบลงค์กัน จึงเป็นเพียง “สิ่งเทียมอาวุธปีน” ตามมาตรา 4(4) แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และไม่ถือเป็นอาวุธปืนตามมาตรา 4(1) แต่เป็นเพียง “สิ่งเทียมอาวุธปืน” การมีไว้ในครอบครอง จึงไม่มีความผิด และไม่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติฯ แต่อย่างใด

มีรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตำรวจไซเบอร์ หรือ สอท.เปิดยุทธการ CyberCop cracked down on Online Scammers ตรวจยึดอาวุธปืนแบลงค์กันได้กว่า 2,000 กระบอก กระสุนปืนกว่าแสนนัด

โดยเจ้าของร้าน อ้างได้รับอนุญาตถูกต้องจากกรมการปกครอง โดยมีเอกสารใบ ป.5 ซึ่งเป็นใบอนุญาตจำหน่าย

จากการสืบสวน พบว่า มีการจำหน่ายอาวุธปืน ผิดกฎหมายให้แก่ประชาชนผ่านร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้ขยายผลและนำหมายค้นเข้าตรวจร้านค้า ได้มีการยึดของกลางไว้

โดยเจ้าหน้าที่ เห็นว่า จากการตรวจสอบของกลางข้างต้น “ไม่ใช่สิ่งเทียมอาวุธปืน” แต่จัดเป็นอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ปี 2490 และหลายครั้ง มีการนำไปก่อเหตุ


กำลังโหลดความคิดเห็น