xs
xsm
sm
md
lg

สลค.เวียนสรุปรายงานกู้เงินญี่ปุ่น 1.3 หมื่นล้าน ก่อนมีราชกิจจาฯ จ่อชง “กฤษฎีกา” เร่งทำคำรับรอง ส่ง JICA ให้สัญญาเงินกู้มีผล มิ.ย.นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สลค. เวียน สรุปรายงาน ก.คลัง กู้เงิน 5 หมื่นล้านเยน หรือ 1.3 หมื่นล้านบาท จากรัฐบาลญี่ปุ่น แก้ปัญหาเศรษฐกิจจากผลพวงโควิด-19 ก่อนออกเป็นราชกิจจาบุเบกษา ให้เป็นไปตามแผนการเบิกจ่ายงวดแรกภายใน มิ.ย.นี้ เตรียมส่ง “กฤษฎีกา” เร่งจัดทำคำรับรองทางกฎหมาย “Legal Opinion” นำส่งคำรับรองให้ JICA พิจารณา ให้สัญญาเงินกู้มีผลบังคับใช้

วันนี้ (10 มิ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เวียนมติคณะรัฐมนตรี 7 มิ.ย. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง

ได้รายงานผลการกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับ COVID-19 Crisis Response Emergency Support Loan เป็นมติ ครม.ที่ยืนยันตามมติ (26 เม.ย.) เรื่องเดียวกัน

นอกจากนี้ ยังแจ้งภาพถ่ายหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาล ญี่ปุน (Exchange of Notes) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 แผ่น

ภาพถ่ายสัญญาเงินกู้ จำนวน 19 แผ่น รวมถึงประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุน 1 แผ่น และสำเนา 5 ชุด

สำหรับ เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงสัญญาเงินกู้ เพื่อนำไปใช้จ่ายในแผนงาน/โครงการภายใต้ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564

รายงานฉบับนี้ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 ได้มีการลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือ ทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ป่น (Exchange of Notes) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรไทย ร่วมกับ H.E. Mr. Kazuya Nashida เอกอัครราชทูตญี่ปุนประจำประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลญี่ปุน

และต่อมา เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2565 รมว.คลังได้ลงนามในสัญญาเงินกู้ COVID-19 Crisis Response Emergency Support Loan ร่วมกับ Mr. Morita Takahiro ในนามหัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือ ระหว่างประเทศของญี่ปุน (Japan International Cooperation Agency : JICA) ลำนักงานประจำประเทศไทย วงเงิน 50,000 ล้านเยน (1.3 หมื่นล้านบาท)

หนังสือระบุด้วยว่า เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเฃื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564

“ประกอบมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในการกู้เงิน แต่ละครั้งกระทรวงการคลัง ต้องประกาศในราชกิจจาบุเบกษาภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ทำสัญญากู้ในการนี้”

อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลัง มีแผนการเบิกจ่ายเงินกู้งวดแรกภายในเดือนมิถุนายน 2565 จึงจำเป็นต้องขอให้เลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ลงประกาศกระทรวงการคลังในราชกิจจานุเบกษา และรายงานผลการลงนามดังกล่าวมา เพื่อคณะรัฐมนตรีทราบในโอกาสแรก

เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกถุษฎีกา สามารถดำเนินการจัดทำคำรับรองทางกฎหมาย (Legal Opinion) และกระทรวงการคลัง จะได้นำส่งคำรับรองทางกฎหมายให้ JICA พิจารณา ให้สัญญาเงินกู้มีผลบังคับใช้ต่อไป

ช่วงค่ำวานนี้ (9 มิ.ย.) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นดังกล่าว หลังจากได้ลงนามในสัญญาเงินกู้กับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565

เป็นเงินกู้สกุลเงินเยน จำนวน 50,000 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 13,432.35 ล้านบาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนขายถัวเฉลี่ยของเงินบาทกับเงินเยน ณ วันลงนามในสัญญา คือ 26.8647 บาท ต่อ 100 เยน) อายุเงินกู้ 15 ปี ระยะปลอดการชำระคืนเงินต้น 4 ปี

อัตราดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 0.01 ต่อปี กำหนดชำระปีละ 2 งวด โดยชำระในวันที่ 20 พฤษภาคม และวันที่ 20 พฤศจิกายน ของแต่ละปี อัตราค่าธรรมเนียมการกู้เงิน (Front-End Fee) ร้อยละ 0.20 ของวงเงินกู้โดยต้องชำระภายใน 60 วัน หลังจากสัญญาเงินกู้มีผลบังคับใช้

กำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ทุกวันที่ 20 พฤษภาคม และวันที่ 20 พฤศจิกายน โดยชำระต้นเงินกู้งวดแรกในวันที่ 20 พฤษภาคม 2569 และชำระคืนต้นเงินกู้งวดสุดท้ายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2580

เพื่อนำไปใช้จ่ายสำหรับแผนงาน/โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564.


กำลังโหลดความคิดเห็น