จบไปแล้วสำหรับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท ภายหลังจากที่ ส.ส.อภิปรายแล้วเสร็จ และรัฐมนตรีชี้แจงครบถ้วนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยใช้เวลาพิจารณา 3 วัน 3 คืนแล้ว ผลปรากฏว่า มี ส.ส.ลงมติเห็นด้วย จำนวน 278 เสียง ไม่เห็นด้วย 194 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง
ถือว่า การเสนอ พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2566 ที่นำเสนอโดยรัฐบาล ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม และคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบร่วมกันเพราะเป็นกฎหมายการเงิน หากไม่ผ่าน นายกรัฐมนตรี ต้อง “ยุบสภา” เนื่องจากเป็นการนำเสนอในวาระแรก
ปรากฏว่า คะแนนเสียง “เห็นด้วย” ผ่านฉลุย พร้อมคำถามที่ว่า เสียงที่เพิ่มขึ้นมาจำนวนมากมาย มาจากที่ใด ? นั่นคือความหมาย เพราะมีนัยที่สำคัญทางการเมืองในขณะนี้
เป็นการเมืองในช่วงปลายรัฐบาล ที่เหลือเวลาอีกไม่กี่เดือน เป็นคะแนนที่มองเห็นทิศทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่ใช้ระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
รัฐบาลจะต้องเข้าสู่เวทีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นในอีก ไม่ช้า... ไม่นาน...
คะแนนเสียงที่สนับสนุนรัฐบาลในขณะนี้ ทุกๆ คะแนนเสียง มีคุณค่า และมีความหมาย อันสำคัญยิ่งต่อรัฐบาล ที่จะวัดพลังให้มีแรงโหมทำงานให้กับประชาชน ในช่วงท้ายนี้ ทั้งเรื่องกัญชา กัญชง การพัฒนาระบบสาธารณสุข การพัฒนาระบบโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อแก้ปัญหาปากท้องประชาชน หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ทุเลาเบาบางลง
ในการเข้าไปดูเนื้อในของผลการโหวต จะพบว่า พรรคภูมิใจไทย ซึ่งเข้ามาร่วมรัฐบาล ได้รับเลือกตั้ง เข้ามา 51 เสียง จากวิกฤตการณ์ทางการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ ทำให้มี ส.ส. ย้ายพรรค เข้ามาเพิ่มในพรรคภูมิใจไทย รวมแล้วมีจำนวน 61 คน โดยมี ส.ส.2 คนต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ จึงเหลือ ส.ส. 59 ที่นั่ง
จากการตรวจสอบการลงคะแนนเสียง ในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2566 พบว่า มี ส.ส. มาโหวตเพิ่ม ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย จาก 59 ที่นั่ง แปรเปลี่ยนเป็น 77 เสียง ทำให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล เดินเข้าสู่การพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ 2566 ครั้งนี้ ด้วยความมั่นใจ
คนวงในย่อมรู้ดีว่า ผลการลงคะแนนแบบเป็นทางการ ล้วนปรากฏชื่อเหล่านี้ เป็นสัดส่วนของ “พรรคภูมิใจไทย” อันมีที่มาจากพรรคต่างๆ ประกอบไปด้วย
“พรรคเพื่อไทย” ที่โหวต ”เห็นด้วย” 7 คน ประกอบไปด้วย 1. นางผ่องศรี แซ่จึง 2. นายจาตุรงค์. เพ็งนรพัฒน์ 3. นายธีระ ไตรสรณกุล 4. นายนิยม ช่างพินิจ 5. จักรพรรดิ ไชยสาส์น 6. สุชาติ ภิญโญ 7. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร
“พรรคก้าวไกล” ที่โหวต ”เห็นด้วย” 4 คน ประกอบด้วย 1. นายคารม พลพรกลาง 2. นายเอกภพ เพียรพิเศษ 3. นายพีรเดช คำสมุทร 4. นายขวัญเลิศ พานิชมาท
เศรษฐกิจไทย ที่โหวต “เห็นด้วย” 3 คน 1. นายธนัสถ์ ทวีเกิ้อกูลกิจ 2. นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ 3. นายธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์
พรรคภูมิใจไทย (ที่เข้ามาใหม่ 4 คน) 1. นายเอกราช ช่างเหลา 2. นายวัฒนา ช่างเหลา 3. นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม 4. พรพิมล ธรรมสาร
ตัวเลขนี้เป็นแปรผลทางการเมืองในอนาคตที่จะถึง เพราะเท่ากับ 18 คน ที่เข้าร่วมงานทางการเมืองกับพรรคภูมิใจไทย แบบเป็นทางการ เปิดเผยชัดเจนและตรงไปตรงมา ซึ่งจะส่งผลให้พรรคภูมิใจไทย มีเสียงในปัจจุบัน มากถึง 77 เสียง เป็นต้นทุนสำคัญ ที่พร้อมเข้าสู่สนามเลือกตั้งในครั้งหน้า บวกด้วยอุดมการณ์ “เพื่อปากท้องประชาชน” ที่มีการทำงานที่ชัดเจน “พูดแล้วทำ” ซึ่งทำสำเร็จในหลายเรื่อง ทั้ง เรื่อง “กัญชาทางการแพทย์และเศรษฐกิจ” “เงินตอบแทน อสม.1,500 บาท/เดือน”, การเพิ่มสิทธิประโยชน์ ด้วย “App สมาร์ท อสม.” “ฟอกไตฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย”, “30 บาทรักษาทุกที่”, มะเร็งรักษาทุกที่”, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน “MRmap เชื่อมต่อการขนส่ง บก ราง น้ำ อากาศ”, การแก้หนี้ กยศ. “ปลดภาระผู้ค้ำประกัน” ช่วยเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น, ต่อต้าน “การใช้สารเคมีพิษ ภาคการเกษตร” และนโยบายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามสโลแกนใหม่ของพรรคภูมิใจไทย ”พูดแล้วทำ คนไทยต้องรอด” ภูมิใจไทย จึงเป็นพรรคที่น่าจับตาที่สุด ทั้งการคัดสรรบุคคล และผลงาน .