xs
xsm
sm
md
lg

“วิษณุ” ชี้ช่องหากศาล รธน.ตัดสินอยู่ครบ 8 ปี บัญชีนายกฯสำรอง มีแค่ 5 คน แต่นายกฯ รักษาการ “บิ๊กป้อม” ชื่อแรก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย” ชี้ หากศาล รธน.ตัดสินอยู่ครบ 8 ปี บัญชีนายกฯสำรอง มีแค่ 5 คน แต่นายกฯ รักษาการ “บิ๊กป้อม” ชื่อแรก ฉะคนปูดไม่มีงานทำ พูดสร้างกระแสเล่นๆ เผย นายกฯสำรอง หรือรักษาการยุบสภาได้แต่ไม่มีใครเคยทำ วันนี้ (2 พ.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็น มีผู้เสนอนายกฯสำรอง ว่า สำรองแปลว่าอะไร สำรองตอนนี้หรือหลังเลือกตั้งนั้นตนยังไม่ทราบและคำพูดคำนี้มีคนพูดขึ้นก่อนและไม่ทราบความหมายต้องไปถามคนที่พูด โดยไม่ต้องพูดถึงนายกสำรองหรือไม่สำรอง ต้องเริ่มต้นจากการดูบัญชีรายชื่อนายกฯที่เหลืออยู่ 5 คนหากไม่เอาใน 5 คนนี้ก็ต้องใช้รัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้ใช้คนนอกบัญชีนี้ได้ แต่จะเรียกว่าสำรองหรือไม่นั้น ไม่รู้ ยืนยันว่าการรักษาการนายกฯ จะว่างเว้นไม่ได้

ส่วนหากมีการสมมติว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอยู่ในวาระครบ 8 ปี คนที่จะเป็นรักษาการคนต่อไป คือ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ลำดับถัดไปเป็นตนเองโดย เป็นหน้าที่ของ นายชวน หลีกภัย ประธาน สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้จัดทำเพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายวิษณุ ระบุว่า นายกฯรักษาการสามารถยุบสภาได้แต่ไม่เคยมีใครทำ

ขณะเดียวกัน ยังคงใช้บัญชีที่มีอยู่ 5 คน ที่เรียกว่า นายกฯสำรอง ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายอนุทิน ชาญวีรกูล, นายชัยเกษม นิติสิริ, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นี่คือ บัญชีนายกฯสำรอง ไม่รู้ว่าจะไปรวบรวมเสียงในสภาหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของนายชวนเป็นผู้เสนอ และขอเสียงสนับสนุนเหมือนครั้งก่อน และลงมติแข่งขันกัน ใครได้คะแนนสูงสุดก็เป็นนายกฯไป ไม่มีสิทธิเสนอคนนอก ยกเว้นแต่จะล้มบัญชีที่มีอยู่แล้วเอาบัญชีใหม่ และประธานสภาก็เรียกประชุมให้ครบ 500 เสียง จาก 750 เสียง ให้มีความเห็นชอบ จากนั้นจะต้องเรียกประชุมสภาลงมติกันอีกครั้ง นายวิษณุไม่ตอบว่าทำได้ยากหรือไม่แต่มีความซับซ้อน

ส่วนนายกฯรักษาการคนใหม่นั้น จะต้องอยู่ในวาระแค่เดือนมีนาคม 2566 ไม่รู้ว่าคนที่ออกมาพูดาต้องการอะไร มาพูดเรื่องนายกฯสำรอง มองว่า เรื่องนี้ไม่งงที่มีเรื่องวาทกรรมเกิดขึ้น อาจจะมีหลายคนที่ไม่มีอะไรทำว่างๆ ก็ปล่อยคำพูดให้เกิดการสับสนเล่นและให้นักข่าวตะคลุบนำเสนอข่าว เพราะมีความแปลกไม่เคยได้ยิน สุดท้ายก็หายไปกับสายลมและแสงแดด
 
ส่วนประเด็นการคำนวณสัดส่วน ส.ส. บัญชีรายชื่อว่าจะหาร 100 หรือ 500 นั้น ให้กรรมาธิการลงมติและเข้าประชุมวาระสามให้ผ่านสภาก่อนจากนั้นให้ส่งไปให้องค์กรอิสระคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.พิจารณาและตอบมา หากยังไม่ได้ข้อสรุป มีการถกเถียงกันอยู่ ก็ต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งในช่วงที่ยังไม่มีกฎหมายลูกใช้สามารถยุบสภาได้แต่จะมีปัญหายุ่งได้ แต่จะกลับไปใช้กฎหมายเดิมไม่ได้เนื่องจากแก้รัฐธรรมนูญไปแล้ว ซึ่งบางคนก็เสนอให้ กกต.ออกระเบียบประกาศใช้ได้เลยหรือบางคนก็ให้ออกพระราชกำหนด ซึ่งมองว่าปัญหายังไม่เกิดอย่าพึ่งไปคิดแต่เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะตัดสินใจอย่างไรก็ต้องเผชิญกับศาลรัฐธรรมนูญทุกทาง


กำลังโหลดความคิดเห็น