xs
xsm
sm
md
lg

สามนิ้วเจ็บ! “ศักดิ์เจียม-ทักษิณ” เห็นแย้งประณาม รัสเซีย “แม้ว” เหน็บ แสดง “คนตัวเล็กโดนคนตัวใหญ่รังแก” ได้ดี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพ “ศักดิ์เจียม-ทักษิณ” เห็นแย้ง “สามนิ้ว” ไม่ควรประณามรัสเซีย ขอบคุณข้อมูล-ภาพจากเพจฟซบุ๊ก  THE TRUTH
ตบหน้ากันชัดๆ! “ศักดิ์เจียม-ทักษิณ” เห็นแย้ง “สามนิ้ว” ไม่ควรประณามรัสเซีย “แม้ว” เหน็บ “ยูเครน” ทำให้ตะวันตกเห็น “คนตัวเล็กโดนคนตัวใหญ่รังแก” ได้ดี ย้อนเงื่อนไขสงคราม “สหรัฐฯ-NATO” มีเอี่ยว?

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ (3 มี.ค.) เพจฟซบุ๊ก THE TRUTH โพสต์ประเด็น สามนิ้วหัวร้อน! “สมศักดิ์เจียม-ทักษิณ” จูงมือแซะ “สาวกส้มแดง” พร้อมเห็นด้วยรัฐบาลไทย ไม่ควรประณาม “รัสเซีย” แถมตำหนิยูเครน!?

โดยระบุว่า สืบเนื่องจากกรณีการประชุมฉุกเฉินของสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ลงมติด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 141 ต่อ 5 เสียง เรียกร้องให้รัสเซียยุติการรุกรานยูเครน และถอนกองทัพทั้งหมดออกไปโดยทันทีนั้น

ก่อนหน้านี้ พรรคก้าวไกล ได้ออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในประเด็นนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเข้าข้างยูเครน รวมถึงแอบประณามรัสเซียไปด้วยในตัว ที่ทำการรุกรานส่งกองกำลัง และใช้ความรุนแรงกับยูเครน จนทำให้หลายๆ คนออกมาปรามเป็นอย่างมาก และสนับสนุนขอให้ประเทศไทยแสดงออกถึงความเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

แต่ก็ไม่เป็นผล เมื่อกลุ่มสามนิ้ว ต่างพากันรุมประณามรัสเซียผ่านช่องทางต่างๆ ที่ตนเองมีอยู่ ทำให้เกิดเป็นเชื้อไฟลุกลาม ต่อต้านรัสเซีย

ภาพ การประชุมฉุกเฉินของสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ขอบคุณข้อมูล-ภาพจากเพจฟซบุ๊ก  THE TRUTH
ล่าสุด นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศไทย และผู้ต้องหาหนีคดี ได้ออกมาพูดถึงในประเด็นดังกล่าว โดยเป็นการตำหนิยูเครน พร้อมทั้งเตือนให้ประเทศไทยวางตัวเป็นกลางโดยมีรายละเอียดว่า

“แต่น่าตำหนิว่า ตอนที่ปูตินขู่มาแล้วทำไมไม่ไปคุยกับเขา ถ้าเป็นตน ตนจะวิ่งไปคุยกับปูตินเลยว่าจะไม่ไปเป็นสมาชิกนาโต้ แต่ขอไครเมียคืนได้ไหมที่คุณยึดไป ให้เป็นประเทศเท่ๆ เหมือนเดิม แล้วเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อาจจะไปเป็นสมาชิกอียูเพื่อเศรษฐกิจแต่ไม่ยุ่งเรื่องการเมือง แต่ปรากฏว่าเขาไม่ทำ

เมื่อปูตินบุกเข้ามา เขาก็แสดงได้ดีให้ตะวันตกเห็นใจว่าคนตัวเล็กโดนคนตัวใหญ่รังแก และวันนี้ชวนนางงาม แชมป์มวยมาถือปืนเข้าสู้ แล้วก็ถ่ายรูปลงสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ก แล้วก็สมัครสมาชิกอียูตรงนี้ถือว่าเขาเก่ง แต่ที่ควรจะคุยก่อนกลับไม่ไปคุย”

ต่อมา นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้ต้องหาหนีคดี 112 ซึ่งขอลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวด้วยเช่นกันถึงท่าทีของประเทศไทย ซึ่งควรแสดงความเป็นกลาง ไม่แสดงท่าทีเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยมีรายละเอียดว่า

ผมเห็นด้วยอย่างกว้างๆ กับที่ทักษิณพูด
ท่าทีของไทยต่อรัสเซีย-ยูเครน คือ ไม่แสดงท่าทีเข้าข้างฝ่ายใด แต่เน้นเรื่องหลักสหประชาชาติ (ซึ่งอันที่จริงการย้ำหลักการนี้ ก็ย้ำกันหมดแหละ “เราไม่จำเป็นต้องกับประนาม แต่เรายืนยันเรื่องหลักการ…”)

ป.ล. บรรดาสาวกทักษิณจะได้หยุดคิดหน่อย (ขำดีในรายการเมื่อวานทูตจริงๆไม่เห็นด้วยกับทักษิณ) จะรอดูว่าจะเปลี่ยนท่าทีไหม หุหุ

ผมอยากย้ำว่า อันที่จริง การไม่แสดงท่าทีนั้น ไม่ใช่สิ่งผมชอบนัก แต่ผมเห็นว่า น่าจะดีกับไทยมากกว่า ผมเห็นว่าท่าทีของ “Trotskyists” ที่ว่า “ประณามปูตินที่รุกราน ประณามนาโต-อเมริกา ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประชาชนรัสเซีย-ยูเครน” มันดูดีทางหลักการ แต่ในทางปฏิบัติ ไม่ได้ผล และท่าทีที่เห็นๆ แม้แต่ปวิน, Andrew สฤณี ฯลฯ ก็เป็นแต่การผลิตซ้ำนาโต้เท่านั้น ส่วนเรื่องเอาด้วยกับรัสเซียอย่างหมอเหรียญทองนั้น เอาไว้ดูขำๆ....

ภาพ อานุภาพของ อาวุธนิวเคลียร์หากเกิดสงครามโลกครั้งที่สาม ขอบคุณข้อมูล-ภาพจากเพจฟซบุ๊ก  THE TRUTH
อย่างไรก็ตาม ที่น่าย้อนให้เห็น ก็คือ ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียมีที่มาที่ไปอย่างไร

ความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศเคยเป็นอดีตสหภาพโซเวียต ได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2013 สืบเนื่องจากข้อตกลงทางการเมืองและการค้าที่สำคัญกับสหภาพยุโรป หลังจากที่ วิกเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดี ซึ่งสนับสนุนรัสเซียในขณะนั้น ระงับการเจรจา โดยว่ากันว่า เป็นเพราะถูกกดดันจากมอสโก การประท้วงในเคียฟเป็นเวลาหลายสัปดาห์ได้ปะทุกลายเป็นเหตุการณ์รุนแรง

จากนั้นในเดือนมีนาคม 2014 รัสเซียผนวกไครเมีย ซึ่งเป็นคาบสมุทรปกครองตนเองทางตอนใต้ของยูเครนที่มีความจงรักภักดีต่อรัสเซียอย่างเข้มแข็ง โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องผลประโยชน์และพลเมืองที่พูดภาษารัสเซีย ทั้งนี้ หลังจากการลงประชามติที่ยูเครนและประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกไม่ยอมรับ รัสเซียก็สามารถผนวกไครเมียได้สำเร็จภายในเวลาไม่กี่วัน

หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคโดเนตสก์และลูฮันสก์ของยูเครนประกาศอิสรภาพจากเคียฟ ทำให้เกิดการต่อสู้อย่างหนักเป็นเวลาหลายเดือน แม้ว่าเคียฟและมอสโกจะลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงมินสค์ในปี 2015 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสและเยอรมนี แต่ก็มีการละเมิดหยุดยิงซ้ำแล้วซ้ำเล่า

จากตัวเลขของสหประชาชาติ มีพลเรือนเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งมากกว่า 3,000 คน ในยูเครนตะวันออกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2014

สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ได้ประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่อตอบโต้การกระทำของรัสเซียในคาบสมุทรไครเมียและยูเครนตะวันออก ซึ่งรวมถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อบุคคล หน่วยงาน และภาคส่วนที่สำคัญของเศรษฐกิจรัสเซีย

ด้านเครมลินกล่าวหายูเครน ว่า ปลุกปั่นความตึงเครียดในภาคตะวันออกของประเทศและละเมิดข้อตกลงหยุดยิงมินสค์

รัสเซียมองอย่างไร?
เครมลินปฏิเสธมาโดยตลอดว่า รัสเซียไม่ได้มีแผนที่จะบุกยูเครน โดยยืนกรานว่ารัสเซียจะไม่คุกคามใคร และการที่ประเทศเคลื่อนย้ายกองกำลังข้ามอาณาเขตของตนไม่ควรเป็นเหตุให้ต้องตื่นตระหนก

อย่างไรก็ดี มอสโกมองว่า การสนับสนุนยูเครนที่เพิ่มขึ้นจาก NATO ในแง่ของอาวุธ การฝึกทหาร และบุคลากรนั้น ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัสเซีย ทั้งยังกล่าวหาว่ายูเครนเพิ่มจำนวนกองกำลังของตนเองเพื่อเตรียมพร้อมที่จะยึดภูมิภาคดอนบาสกลับคืน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ยูเครนปฏิเสธ

ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เรียกร้องให้มีการทำข้อตกลงทางกฎหมาย เพื่อที่จะไม่ให้ NATO แผ่ขยายไปทางตะวันออกสู่พรมแดนของรัสเซีย โดยกล่าวว่าตะวันตกไม่ได้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ด้วยวาจาก่อนหน้านี้

ด้านเครมลินกล่าวในเดือนพฤศจิกายน ว่า สหรัฐฯ และประเทศสมาชิก NATO อื่นๆ ได้ส่งอาวุธและที่ปรึกษาทางทหารไปยังยูเครนแล้ว “แน่นอนว่าทั้งหมดนี้นำไปสู่ความรุนแรงเพิ่มขึ้นของสถานการณ์ที่ชายแดน” เขากล่าว

ขณะที่ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เตือนว่า หากสหรัฐฯ และพันธมิตร NATO ไม่เปลี่ยนแนวทางในยูเครน มอสโกมีสิทธิที่จะเลือกวิธีการในการรับรองผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของตนเอง

ภาพ บุคคลที่จะเป็นคำตอบของสงครามโลกครั้งที่สามหรือไม่ ขอบคุณข้อมูล-ภาพจากเพจฟซบุ๊ก  THE TRUTH
ยูเครนมองอย่างไร?
รัฐบาลยูเครนยืนยันว่า มอสโกไม่สามารถขัดขวางเคียฟจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับ NATO ได้ หากยูเครนเลือกที่จะทำเช่นนั้น

“รัสเซียไม่สามารถหยุดยูเครนไม่ให้ใกล้ชิดกับ NATO มากขึ้น และไม่มีสิทธิ์พูดอะไรด้วย” กระทรวงการต่างประเทศระบุในถ้อยแถลงที่ส่งถึง CNN หลังจากรัสเซียออกมาเรียกร้องให้ NATO ยุติการขยายกองกำลังไปทางตะวันออก

“ข้อเสนอของรัสเซียที่จะหารือกับ NATO หรือสหรัฐฯ เกี่ยวกับการรับประกันว่ากองกำลังพันธมิตรจะไม่ขยายไปยังตะวันออก ถือเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย” แถลงการณ์ระบุ

ยูเครนยืนยันว่า รัสเซียกำลังพยายามทำให้ประเทศสั่นคลอน โดยประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ได้ออกมาเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับแผนการทำรัฐประหารในยูเครน

ดีมีโทร คูเลบา รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน เตือนว่า แผนการรัฐประหารอาจเป็นส่วนหนึ่งของแผนของรัสเซียก่อนการรุกรานทางทหาร โดยระบุว่า รัสเซียสร้างแรงกดดันทางการทหารจากภายนอก ควบคู่กับการสั่นคลอนภายในประเทศ

ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศทวีความรุนแรงขึ้นจากวิกฤตพลังงานในยูเครน ซึ่งเคียฟเชื่อว่ามอสโกเจตนายั่วยุ นอกจากนี้รัฐบาลของเซเลนสกียังเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน ความนิยมของรัฐบาลชะงักงันท่ามกลางการระบาดของโควิดระลอกที่ 3 เมื่อเร็วๆ นี้ และปัญหาด้านเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้า

หลายคนไม่พอใจที่รัฐบาลไม่ได้ให้สวัสดิการแก่ประชาชนตามที่สัญญาไว้ รวมถึงไม่สามารถยุติความขัดแย้งทางตะวันออกของประเทศ ส่งผลให้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรุงเคียฟ

ในการปราศรัยเมื่อวันที่ 19 มกราคม เซเลนสกีได้เรียกร้องให้ชาวยูเครนอยู่ในความสงบ ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นว่ารัสเซียอาจรุกรานประเทศ อย่างไรก็ดี เขาเสริมว่า เขาเชื่อด้วยใจจริงว่าปีนี้ “จะผ่านไปโดยไม่มีสงคราม” กับรัสเซีย (THE STANDARD TEAM 23.01.2022)

ทั้งนี้ สำหรับจุดยืนของไทย เมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. วันนี้ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการต่างประเทศ รายงานท่าทีไทยต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซียกับยูเครนในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA)

ซึ่งไทยสนับสนุนความพยายามของยูเอ็นในการหาทางยุติสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสันติผ่านการเจรจาที่เป็นไปตามกฎบัตรของยูเอ็น และกฎหมายระหว่างประเทศ โดยไทยจะทำอย่างสุดความสามารถในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของพลเรือนที่ได้รับผลกระทบ อีกทั้งยังสนับสนุนการเรียกร้องขอให้ยุติความรุนแรงและการใช้อาวุธทันที

นอกจากนี้ ที่ประชุมสมาชิก UNGA ที่มีทั้งหมด 193 ประเทศ ได้ลงมติที่ประชุมด้วยคะแนนเสียง 141 เสียง ซึ่งรวมถึงไทย เรียกร้องให้รัสเซียหยุดใช้กำลังและถอนกองกำลังออกจากยูเครนโดยทันที แต่มี 5 เสียง ที่ไม่เห็นด้วย คือ เบลารุส เกาหลีเหนือ ซีเรีย เอริเทรีย รัสเซีย และงดออกเสียง 35 เสียง ซึ่งในจำนวนนี้มี สปป.ลาว เวียดนาม จีน อินเดีย และปากีสถาน.(ไทยรัฐออนไลน์)

แน่นอน, ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ความเห็นของ “สมศักดิ์ เจียม” กับ “ทักษิณ” ที่นานทีปีหนจะขัดแย้งกับความเห็น และท่าทีของ “สามนิ้ว” ทั้งยังดูเหมือน “สมศักดิ์ เจียม” จะต้องการสอนให้ “สามนิ้ว” ใช้ความคิดวิจารณญาณด้วยเหตุด้วยผลมากกว่าด้วยอารมณ์ด้วยซ้ำ

ทั้ง “ทักษิณ” และ “สมศักดิ์ เจียม” ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างการใช้อารมณ์กับการใช้เหตุผลเป็นอย่างไร เรื่องบางเรื่องไม่ใช่สักแต่ว่า ต้องการอยู่ฝ่ายไหน ก็ถือหางฝ่ายนั้น โดยไม่สนใจว่า จะมีปัญหาผลกระทบตามมาหรือไม่

เหนืออื่นใด เรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย คนไทย สิ่งที่ต้องระวังอย่างสูง ก็คือ การสร้างเงื่อนไขที่จะนำประเทศไทยเข้าร่วมกับสงคราม ที่ประเทศไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด เพราะนั่นคือ หายนะโดยแท้ บทเรียนในอดีตมีให้เห็นมาแล้ว หรือว่าไม่จริง!?


กำลังโหลดความคิดเห็น