xs
xsm
sm
md
lg

"ธรรมนัส"ติดตามกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินป่าสงวนโซน E เชียงราย

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รมช.ธรรมนัส ร่วมหารือติดตามการจัดทำพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโซน E จำนวน 11 ป่า ในพื้นที่ จ.เชียงราย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามการจัดทำพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โซน E (ที่กรมป่าไม้มอบให้ ส.ป.ก. ตามมติ ครม.) จำนวน 11 ป่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ต.ห้วยสัก อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงราย (ส.ป.ก.เชียงราย) มีพระราชกฤษฏีกาประกาศเป็น เขตปฏิรูปที่ดิน 921,138 ไร่ โดยมีพื้นที่ดำเนินการในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงราย จำนวน 17 อำเภอ ประมาณ 588,001 ไร่ และได้ดำเนินการจัดที่ดินให้เกษตรกรไปแล้ว จำนวน 70,738 ราย 102,846 แปลง เนื้อที่ 578,813 ไร่ ซึ่งจากข้อมูลการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินดังกล่าวข้างต้น ยังคงมีพื้นที่จำนวน 11 ป่า เนื้อที่ประมาณ 122,614 ไร่ ที่รอดำเนินการ ในส่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้มีการนำข้อมูลเสนอเข้าพิจารณา แต่ยังคงอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนของหน่วยที่เกี่ยวข้อง ทำให้พื้นที่ 11 พื้นที่ดังกล่าว ยังไม่สามารถนำมาดำเนินการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินได้


“ในวันนี้ได้ร่วมหารือจัดทำพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โซน E จำนวน 11 ป่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พร้อมรับฟังปัญหาความเดือดร้อนจากพี่น้องเกษตรกร ยังคงมีปัญหาอีกหลายประการที่จะต้องเร่งแก้ไข เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร ปัญหาที่มีเกษตรกรยังไม่ได้รับเอกสารสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ทางกระทรวงเกษตรฯนั้น พร้อมเร่งให้ความช่วยเหลือหาทางออกและดำเนินการแก้ไขต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว


ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าวอีกว่า จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ทั้งหมด 7,298,981 ไร่ เป็นพื้นที่เขตดําเนินการปฏิรูปที่ดิน จํานวน 588,001 ไร่ โครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดส่วนใหญ่ยังเป็นภาคเกษตรกรรมมาโดยตลอด พืชทางเศรษฐกิจ ที่สําคัญของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสําปะหลัง สัประรด ลําไย ลิ้นจี่ ยางพารา ชา กาแฟ และสัตว์เศรษฐกิจสําคัญ ได้แก่ โคเนื้อ โคนม กระบือ สุกร และสัตว์ปีก ส่วนสัตว์น้ําเศรษฐกิจ สําคัญ ได้แก่ ปลานิล ปัจจัยด้านทรัพยากรที่ดิน จึงมีความจําเป็นพื้นฐานสําคัญสําหรับการบริหารจัดการ และนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจากแนวทางนโยบายของรัฐบาล ที่มองเห็นถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในเรื่องการบริหารจัดการที่ดิน การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และทรัพยากรดินของประเทศ หากพี่น้องเกษตรกรมีที่ดินทํากิน ก็จะนํามาสู่การพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สมดุล เป็นธรรมและยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม












กำลังโหลดความคิดเห็น