เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตสายเคเบิลใยแก้วนำแสง พร้อมคณะเข้ายื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาล เร่งแก้ปัญหาราคาและกำหนดมาตรการลดนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศหลังกระทบภาคการผลิตส่อธุรกิจปิดตัว
ที่ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ชั้น 1 อาคารสำนักงาน ก.พ. ดร.วรศักดิ์ ฉัตรแก้ว เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตสายเคเบิลใยแก้วนำแสง พร้อมคณะเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้หน่วยงานที่รัฐถือหุ้นใหญ่ และโครงการของรัฐ ใช้สายเคเบิลใยแก้วนำแสง ที่ผลิตในประเทศไทย หวังกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในประเทศ หลังประสบสภาวะวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด – 19 โดยมี นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับหนังสือ
โดย ดร.วรศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้เข้ายื่นหนังสือ เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรี ช่วยเหลือ และ พิจารณามาตรการให้กับกลุ่มบริษัทด้านสายเคเบิ้ลใบแก้วนำแสงของไทย ที่ประสบปัญหา หลังภาครัฐมีการนำเข้าสายเคเบิ้ล จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำโครงสร้างราคาผิดเพี้ยนและต่ำกว่าท้องตลาด โรงงานในประเทศถูกกดราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิตจึงไม่สามารถแข่งขันได้ กระทบถึงการจ้างงานรวมถึงคุณภาพของสินค้าต่ำกว่ามาตรฐานที่ต้องการ
ทั้งนี้ ดร.วรศักดิ์ ยอมรับว่า อุตสาหกรรมกลุ่มนี้ ต้องประคองราคามาถึง 2 ปี ก่อนหน้านี้ไทยสามารถผลิตและใช้สิ้นค้าได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันใช้ในไทยเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ อีก 70 เปอร์เซ็นต์นำเข้าจากต่างประเทศ จนกระทั่งประสบวิกฤติโควิดในประเทศซ้ำอีก จึงต้องการให้ รัฐบาล หามาตการช่วยเหลือตามที่เคยมีนโยบายให้กระตุ้นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเป็นอันดับแรก พิจารณาออกมาตรการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมผลิตสายเคเบิลใยแก้วนำแสงในประเทศไทยพร้อมกำหนดให้องค์กรภาครัฐใช้สายเคเบิลใหญ่แก้วนำแสงที่ผลิตในประเทศไทยเป็นอันดับแรกและระบุไว้ในข้อกำหนดทางเทคนิคของเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง เพราะในประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศรัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านภาษีเงินงบประมาณสนับสนุนหรือมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตสายเคเบิลใหญ่แก้วนำแสงจะเดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ พิจารณากลไกราคา การนำเข้าสายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงจากต่างประเทศในปริมาณสูงและโครงสร้างราคาขายที่บิดเบือนต่ำกว่าราคามาตรฐานกลางที่องค์กรภาครัฐกำหนด เพราะอาจจะให้ภาคอุตสาหกรรมในไทยต้องปิดตัวในอนาคต พร้อมขอให้เร่งรัดไต่สวนกระบวนการทุ่มตลาดให้เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน