xs
xsm
sm
md
lg

“เสรี” รับ ส.ว.กังวลตั้ง ส.ส.ร.บัญญัติสถาบันอยู่ใต้ รธน.ย้อนญัตติที่แก้ ปชช.ได้อะไร

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (แฟ้มภาพ)
“ส.ว.เสรี” อภิปรายเผยท่าที ส.ว. กังวลตั้ง ส.ส.ร. อ้างมีสมาชิกบางคนอภิปรายต้องการให้ รธน.ใหม่ บัญญัติให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งคำถามญัตติแก้ไข รธน. ปชช.ได้อะไรบ้าง

วันนี้ (24 ก.ย.) นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันว่า วุฒิสภามีความคิดความร่วมมือทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพ ให้ได้ประโยชน์กับประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้น การทำหน้าที่วุฒิสภาจึงต้องทำหน้าที่ด้วยความรอบคอบ การตัดสินใจจะต้องเป็นประโยชน์จริงๆ โดยญัตติเสนอจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ทั้ง 2 ญัตติ ก็พิจารณาโดยตระหนักถึงผลที่จะออกมา หากมีการตั้ง ส.ส.ร. จะทำหน้าที่ได้สมประโยชน์ กับความตั้งใจของสมาชิกรัฐสภาที่เสนอญัตติหรือไม่ เพราะ ส.ส.ร. ทำหน้าที่แทนคนทั่วประเทศยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อพิจารณากระบวนการแล้ว ยังมีข้อกังวลใจว่า การทำหน้าที่ของ ส.ส.ร.จะทำด้วยหน้าที่ที่อิสระหรือไม่ หรือจะไม่ถูกแทรกแซง เพราะการให้มีคนนอกที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่ยกร่างเป็นคณะใหม่ จะต้องทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์อย่างแท้จริง และที่ต้องพึงระมัดระวัง ข้อเสนอประเด็นต่างๆ ที่จะนำมาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะมีผลกระทบหรือมีส่วนใดที่จะเกิดปัญหากับประเทศชาติกับอนาคตหรือไม่

ดังนั้น จากการที่ได้ฟังสมาชิกท่านหนึ่งอภิปรายไปแล้ว เกี่ยวกับการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทางวุฒิสภาก็มีความกังวลใจว่ากรอบหรือวิธีคิดจะไปแค่นั้นหรือไม่ หรือหากมีคนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ใน ส.ส.ร. สิ่งที่เกิด ส.ส.ร.จะถูกกดดันหรือไม่ จึงห่วงว่าข้อเสนอในอนาคตจะไปไกลกว่าที่คิด แต่ก็ดีว่า จะทำให้ ส.ว.ตัดสินใจง่ายขึ้น และเป็นสิทธิแต่ละคน

ส่วนอีก 4 ญัตติ ที่แก้ไขรายมาตรา นายเสรี กล่าวว่า ถ้าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งที ข้อเสนอ 4 ญัตติยังน้อยเกินไปกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ลงทุนหมื่นล้าน แต่มีแค่ 4 ถึง 5 ประเด็น จึงมองว่าน้อยไปไหม แก้ปัญหาชาติ ปากท้องประชาชนจริงหรือไม่ หรือเอาแค่ความต้องการโดยอ้างอิงสิทธิเสียงของประชาชน อยากเห็นรัฐธรรมนูญที่ทำบ้านเมืองสงบ มีการตรวสอบ การบริหารประเทศมั่นคง ส.ส., ส.ว. อยู่ครบสมัย 4 ปี มีระบบการเมืองที่แข็งแรง แต่ที่เสนอมายังไม่เห็นว่าประชาชนจะได้อะไร


กำลังโหลดความคิดเห็น