สธ.ระดมสมองผู้บห.-ผู้ปฏิบัติงาน กรมวิชาการ เขตสุขภาพ และอสม. จัดทำแผนงานรองรับนโยบายสำคัญปีงบ 64 ภายใต้แนวคิด “ก้าวข้ามความท้าทาย สู่อนาคตสาธารณสุขไทย” ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ พร้อมขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ เพื่อคน-เศรษฐกิจ-ประเทศแข็งแรง
วันนี้ (23 ก.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ร่วมเปิดงานแสดงผลงานวิชาการและการประชุมเชิงปฏิบัติงานเพื่อจัดทำแผนงานรองรับนโยบายสำคัญด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ภายใต้แนวคิด ก้าวข้ามความท้าทาย สู่อนาคตสาธารณสุขไทย (Fly Together to the Future “New Normal Healthcare”) โดยมีอธิบดี ผู้บริหาร/ ผู้แทนกรมวิชาการและเขตสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 600 คน
.
นายอนุทินกล่าวว่า ตลอด 1 ปีที่ตนได้เข้ามาทำงาน ได้เห็นพลังที่เข้มแข็งของคนกระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถฟันฝ่าวิกฤตมาได้หลายเหตุการณ์ ด้วยการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งในระดับนโยบาย ระดับหน่วยงานในจังหวัดและพื้นที่ ตลอดจน อสม. จึงไม่สงสัยเลยว่าทำไมการสาธารณสุขไทยจึงประสบความสำเร็จ รวมทั้งความร่วมมือและใส่ใจในสุขภาพของประชาชน ทั้งตนเอง ครอบครัว และชุมชน ทำให้ไทยเป็นผู้นำการให้บริการด้านสุขภาพ เป็นที่ยอมรับในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุด ถือเป็นการพลิกโฉมการสาธารณสุขครั้งใหม่ที่จะก้าวข้ามความท้าทายที่เกิดขึ้นสู่บริบทใหม่ นอกเหนือจากองค์กรผู้นำด้านสุขภาพสู่บทบาทสำคัญการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจของประเทศ คนไทยแข็งแรง เศรษฐกิจไทยแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง
.
ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่อนาคตสาธารณสุขไทย ในปีงบประมาณ 2564 ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริและโครงการเฉลิมพระเกียรติเพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และกำหนดจุดมุ่งเน้นประเด็นสำคัญเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ได้แก่ การสร้างระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้กับ อสม. หมอประจำบ้าน เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนคนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัวครบ 3 คน ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสุขภาพ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและเพิ่มมูลค่านวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพ มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ผลักดัน สมุนไพร กัญชา กัญชง เพื่อสุขภาพ เร่งวิจัยและคิดค้นผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ขับเคลื่อน 30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างมีคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำ ยึดหลัก ธรรมาภิบาลโปร่งใส ในการบริหาร ถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และต้องสร้าง “กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแห่งความสุข” เพราะบุคลากรถือเป็นหัวใจขององค์กร
.
นายอนุทินกล่าวต่อว่า วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จะเริ่มปีงบประมาณใหม่ พร้อมด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ ผู้บริหารชุดใหม่ ให้สานต่อนโยบายที่ทำดีอยู่แล้วให้สำเร็จ โดยร่วมมือกัน ทั้งภายในและภายนอกกระทรวง เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงเรียนแพทย์ หน่วยบริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร กระทรวงหลาโหม เป็นต้น โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานระบบสาธารณสุขของประเทศ
สำหรับเรื่องงบประมาณขอให้เร่งรัดการใช้งบประมาณที่ค้างท่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริการประชาชน หากยังค้างท่อก็จะประสบปัญหาในการทำงบประมาณขาขึ้นได้ โดยเฉพาะงบก่อสร้างของโรงพยาบาลต่างๆ ที่ประสบปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน หากผู้รับเหมาไม่ทำตามสัญญาขอให้ยกเลิกสัญญา ไม่ต้องกังวลเรื่องการฟ้องร้อง กลับกันยังสามารถเรียกเงินค้ำประกันคืน ระงับการชำระค่างวด ไม่มีทางเสียเปรียบ หากเอาจริงเอาจังงานก็จะขับเคลื่อนไปได้
.
“การขับเคลื่อนการสาธารณสุขไทยในอนาคตอีก 1 ปีข้างหน้า เป็นการส่งมอบของขวัญด้านสุขภาพให้กับประชาชน จากแรงกายแรงใจของชาวกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรทุกคนถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก้าวข้ามความท้าทายสู่อนาคตการสาธารณสุขไทย” นายอนุทินกล่าว
.
ด้านดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วิกฤตสุขภาพจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนหันมารักษาสุขภาพและดูแลสุขอนามัยตนเองเพิ่มขึ้น เป็นโอกาสอันดีที่จะขับเคลื่อนด้านการส่งเสริมสุขภาพให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม ให้มีสุขภาพแข็งแรง ลดการเจ็บป่วย ลดการสูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาโรค โดยมุ่งเน้น 4 ประเด็นคือ 1. สุขภาพดีวิถีใหม่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบ New Normal ใช้หลัก 3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ซึ่งแต่ละคนมีอาชีพและไลฟ์สไตล์ต่างกัน จะต้องส่งเสริมกระตุ้นให้ออกกำลังกายตามแบบที่ชอบและสะสมจนเป็นนิสัย นอกจากนี้ ดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัยและ ผู้สูงวัย ทั้งด้านกาย จิต สังคม ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์มาช่วยในการบริการประชาชน ลดแออัด ลดรอคอย เข้าถึงบริการได้มากขึ้น เป็น New Normal Medical Care ซึ่งได้นำร่องที่ปัตตานี เพิ่มความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน โดยขอให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลต่างๆ ปรับปรุงระบบข้อมูลภายใน 1 ปี ให้เป็น Digital Health Platform เดียวกัน
วันนี้ (23 ก.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ร่วมเปิดงานแสดงผลงานวิชาการและการประชุมเชิงปฏิบัติงานเพื่อจัดทำแผนงานรองรับนโยบายสำคัญด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ภายใต้แนวคิด ก้าวข้ามความท้าทาย สู่อนาคตสาธารณสุขไทย (Fly Together to the Future “New Normal Healthcare”) โดยมีอธิบดี ผู้บริหาร/ ผู้แทนกรมวิชาการและเขตสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 600 คน
.
นายอนุทินกล่าวว่า ตลอด 1 ปีที่ตนได้เข้ามาทำงาน ได้เห็นพลังที่เข้มแข็งของคนกระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถฟันฝ่าวิกฤตมาได้หลายเหตุการณ์ ด้วยการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งในระดับนโยบาย ระดับหน่วยงานในจังหวัดและพื้นที่ ตลอดจน อสม. จึงไม่สงสัยเลยว่าทำไมการสาธารณสุขไทยจึงประสบความสำเร็จ รวมทั้งความร่วมมือและใส่ใจในสุขภาพของประชาชน ทั้งตนเอง ครอบครัว และชุมชน ทำให้ไทยเป็นผู้นำการให้บริการด้านสุขภาพ เป็นที่ยอมรับในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุด ถือเป็นการพลิกโฉมการสาธารณสุขครั้งใหม่ที่จะก้าวข้ามความท้าทายที่เกิดขึ้นสู่บริบทใหม่ นอกเหนือจากองค์กรผู้นำด้านสุขภาพสู่บทบาทสำคัญการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจของประเทศ คนไทยแข็งแรง เศรษฐกิจไทยแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง
.
ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่อนาคตสาธารณสุขไทย ในปีงบประมาณ 2564 ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริและโครงการเฉลิมพระเกียรติเพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และกำหนดจุดมุ่งเน้นประเด็นสำคัญเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ได้แก่ การสร้างระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้กับ อสม. หมอประจำบ้าน เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนคนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัวครบ 3 คน ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสุขภาพ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและเพิ่มมูลค่านวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพ มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ผลักดัน สมุนไพร กัญชา กัญชง เพื่อสุขภาพ เร่งวิจัยและคิดค้นผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ขับเคลื่อน 30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างมีคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำ ยึดหลัก ธรรมาภิบาลโปร่งใส ในการบริหาร ถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และต้องสร้าง “กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแห่งความสุข” เพราะบุคลากรถือเป็นหัวใจขององค์กร
.
นายอนุทินกล่าวต่อว่า วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จะเริ่มปีงบประมาณใหม่ พร้อมด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ ผู้บริหารชุดใหม่ ให้สานต่อนโยบายที่ทำดีอยู่แล้วให้สำเร็จ โดยร่วมมือกัน ทั้งภายในและภายนอกกระทรวง เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงเรียนแพทย์ หน่วยบริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร กระทรวงหลาโหม เป็นต้น โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานระบบสาธารณสุขของประเทศ
สำหรับเรื่องงบประมาณขอให้เร่งรัดการใช้งบประมาณที่ค้างท่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริการประชาชน หากยังค้างท่อก็จะประสบปัญหาในการทำงบประมาณขาขึ้นได้ โดยเฉพาะงบก่อสร้างของโรงพยาบาลต่างๆ ที่ประสบปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน หากผู้รับเหมาไม่ทำตามสัญญาขอให้ยกเลิกสัญญา ไม่ต้องกังวลเรื่องการฟ้องร้อง กลับกันยังสามารถเรียกเงินค้ำประกันคืน ระงับการชำระค่างวด ไม่มีทางเสียเปรียบ หากเอาจริงเอาจังงานก็จะขับเคลื่อนไปได้
.
“การขับเคลื่อนการสาธารณสุขไทยในอนาคตอีก 1 ปีข้างหน้า เป็นการส่งมอบของขวัญด้านสุขภาพให้กับประชาชน จากแรงกายแรงใจของชาวกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรทุกคนถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก้าวข้ามความท้าทายสู่อนาคตการสาธารณสุขไทย” นายอนุทินกล่าว
.
ด้านดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วิกฤตสุขภาพจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนหันมารักษาสุขภาพและดูแลสุขอนามัยตนเองเพิ่มขึ้น เป็นโอกาสอันดีที่จะขับเคลื่อนด้านการส่งเสริมสุขภาพให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม ให้มีสุขภาพแข็งแรง ลดการเจ็บป่วย ลดการสูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาโรค โดยมุ่งเน้น 4 ประเด็นคือ 1. สุขภาพดีวิถีใหม่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบ New Normal ใช้หลัก 3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ซึ่งแต่ละคนมีอาชีพและไลฟ์สไตล์ต่างกัน จะต้องส่งเสริมกระตุ้นให้ออกกำลังกายตามแบบที่ชอบและสะสมจนเป็นนิสัย นอกจากนี้ ดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัยและ ผู้สูงวัย ทั้งด้านกาย จิต สังคม ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์มาช่วยในการบริการประชาชน ลดแออัด ลดรอคอย เข้าถึงบริการได้มากขึ้น เป็น New Normal Medical Care ซึ่งได้นำร่องที่ปัตตานี เพิ่มความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน โดยขอให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลต่างๆ ปรับปรุงระบบข้อมูลภายใน 1 ปี ให้เป็น Digital Health Platform เดียวกัน