สภาฯ รับทราบรายงานประจำปี 62 ศาลรัฐธรรมนูญ ส.ส.ก้าวไกล รุมจวกคำวินิจฉัยสร้างขัดแย้งในสังคม-ได้งบมากแต่ใช้ไม่คุ้มค่า
วันนี้ (13 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในที่ประชุมพิจารณารับทราบรายงานประจำปี 2562 ของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่การอภิปราย ส.ส.พรรคก้าวไกล หลายคนได้ลุกขึ้นอภิปรายตั้งข้อสังเกตต่อการวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้กระทำอย่างเปิดเผย และไม่ได้ให้ความเป็นธรรม เช่น กรณีการยุบพรรคไทยรักษาชาติ และพรรคอนาคตใหม่ มีการให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และมีการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยหรือไม่ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม รวมถึงการใช้งบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้จำนวนมาก มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่าหรือไม่
โดยนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.นครปฐม พรรคก้าวไกล อภิปรายตอนหนึ่งว่า ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา หลายหน่วยงานในประเทศไทยมีการจัดหลักสูตรระยะสั้นจำนวนมาก ในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญก็เช่นกัน ในทางปฏิบัติควรใช้เงินอย่างคุ้มค่าในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ ไม่ควรทำหลักสูตรแพงๆ แล้วสร้างเครือข่าย อะไรที่ไม่ใช่หน้าที่ก็ไม่ควรทำ ยกตัวอย่างหลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย ที่มีมาตั้งแต่ปี 2556 หลักสูตรนี้ต่อหัวต่อคนเป็นหลักแสนบาท และมีการเดินทางไปดูงานต่างประเทศ ถามว่าตอบสนองต่อพันธกิจการให้ความรู้ต่อประชาชนทุกระดับ ทุกพื้นที่อย่างไรบ้าง โดยจะต้องมีรายงานความคุ้มค่าด้วยถ้าไม่มีความคุ้มค่าก็ควรตัดทิ้งไป ทั้งนี้ ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญลอยตัวจากการตรวจสอบ จึงถึงเวลาแล้วที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเรียกศรัทธาจากประชาชนกลับคืนมาด้วยการใช้งบอย่างคุ้มค่า ต้องรับใช้ประชาชนอย่างกล้าหาญแทนการรับใช้ผู้มีอำนาจ และกลับมาเป็นศาลของประชาชน เพื่อรักษาความสมดุลของระบบการเมือง
ด้านนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ชี้แจงว่า หลักสูตรการอบรมตลอดหลักสูตรเพียง 1.2 แสนบาท ไม่ถึง 3 แสนบาท และวิทยากรส่วนใหญ่เป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรซึ่งเป็นวิทยากรโดยตำแหน่ง เป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นที่ยอมรับ ยืนยันเป็นการใช้งบที่ประหยัดคุ้มค่า ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์รวมที่ยึดโยงรัฐธรรมนูญ ภารกิจ และเป้าหมาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ และทุกองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐอยู่ภายใต้กฎหมายทั้งสิ้น นอกจากนี้ ศาลเป็นองค์กรที่ตั้งรับคดีที่เข้ามาสู่ศาล และคดีเหล่านั้นเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะแก้ไขเยียวยาให้ยุติ
วันนี้ (13 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในที่ประชุมพิจารณารับทราบรายงานประจำปี 2562 ของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่การอภิปราย ส.ส.พรรคก้าวไกล หลายคนได้ลุกขึ้นอภิปรายตั้งข้อสังเกตต่อการวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้กระทำอย่างเปิดเผย และไม่ได้ให้ความเป็นธรรม เช่น กรณีการยุบพรรคไทยรักษาชาติ และพรรคอนาคตใหม่ มีการให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และมีการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยหรือไม่ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม รวมถึงการใช้งบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้จำนวนมาก มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่าหรือไม่
โดยนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.นครปฐม พรรคก้าวไกล อภิปรายตอนหนึ่งว่า ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา หลายหน่วยงานในประเทศไทยมีการจัดหลักสูตรระยะสั้นจำนวนมาก ในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญก็เช่นกัน ในทางปฏิบัติควรใช้เงินอย่างคุ้มค่าในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ ไม่ควรทำหลักสูตรแพงๆ แล้วสร้างเครือข่าย อะไรที่ไม่ใช่หน้าที่ก็ไม่ควรทำ ยกตัวอย่างหลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย ที่มีมาตั้งแต่ปี 2556 หลักสูตรนี้ต่อหัวต่อคนเป็นหลักแสนบาท และมีการเดินทางไปดูงานต่างประเทศ ถามว่าตอบสนองต่อพันธกิจการให้ความรู้ต่อประชาชนทุกระดับ ทุกพื้นที่อย่างไรบ้าง โดยจะต้องมีรายงานความคุ้มค่าด้วยถ้าไม่มีความคุ้มค่าก็ควรตัดทิ้งไป ทั้งนี้ ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญลอยตัวจากการตรวจสอบ จึงถึงเวลาแล้วที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเรียกศรัทธาจากประชาชนกลับคืนมาด้วยการใช้งบอย่างคุ้มค่า ต้องรับใช้ประชาชนอย่างกล้าหาญแทนการรับใช้ผู้มีอำนาจ และกลับมาเป็นศาลของประชาชน เพื่อรักษาความสมดุลของระบบการเมือง
ด้านนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ชี้แจงว่า หลักสูตรการอบรมตลอดหลักสูตรเพียง 1.2 แสนบาท ไม่ถึง 3 แสนบาท และวิทยากรส่วนใหญ่เป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรซึ่งเป็นวิทยากรโดยตำแหน่ง เป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นที่ยอมรับ ยืนยันเป็นการใช้งบที่ประหยัดคุ้มค่า ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์รวมที่ยึดโยงรัฐธรรมนูญ ภารกิจ และเป้าหมาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ และทุกองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐอยู่ภายใต้กฎหมายทั้งสิ้น นอกจากนี้ ศาลเป็นองค์กรที่ตั้งรับคดีที่เข้ามาสู่ศาล และคดีเหล่านั้นเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะแก้ไขเยียวยาให้ยุติ