สสว.ต่อยอด SME Knowledge Center ตั้งเป้า SME ไทย เข้าถึงองค์ความรู้ผ่าน SME Knowledge Center 2 แสนรายเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ผ่านหลักสูตรออนไลน์และสร้างเครื่องมือให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียมากขึ้น ในรูปแบบ New Normal รองรับวิกฤติโควิด 19
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. แถลงข่าว เดินหน้าโครงการ SME Knowledge Center เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ครบในทุกมิติ อย่างต่อเนื่อง โดย SME Knowledge Center เป็นโครงการที่จัดทำและพัฒนาองค์ความรู้และข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการเพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจให้คำปรึกษา โดยเน้นให้ความรู้เป็นกลุ่มย่อย เช่นการ จัดทำกรณีศึกษา เวิร์กชอปหรือสัมมนาต่าง ๆ ครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อมประเมินความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น เฟชบุ๊ก ไลน์ ยูทูบ รวมถึงดูแลระบบโครงสร้างให้เหมาะสม ทั้งผู้สอนและผู้ประกอบการ และมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด สำหรับองค์ความรู้ทั้งหมดในโครงการดังกล่าว สสว. ได้จัดบนแพลตฟอร์ม www.smeknowledgecente.com เพื่อให้ใช้งานง่าย และสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่ ๆ ที่น่าสนใจอยู่เสมอ รวมถึงมีการจัดสัมมนาหรืออบรมในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ขาดโอกาสเข้าถึงทางทางเทคโนโลยี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวิสาหกิจรายย่อย
“SME Knowledge Center ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้รับการสัมภาษณ์เพื่อนำเสนอสินค้าในพื้นที่และนำมาผลิตเป็นสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยมีแนวทางในการเพิ่มโอกาสหรือเพิ่มช่องทางใหม่ ๆ ในการให้กับผู้ประกอบการและเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ประกอบการอื่นๆ โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร จำนวน 940,684 ราย”นายวีระพงศ์กล่าว
นายวีระพงศ์ กล่าวเสริมว่าในปี 2562 SME Knowledge Center มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือเข้ารับคำปรึกษาธุรกิจในด้านต่าง ๆ มากกว่า 4,500 ราย จากเป้าหมาย 4,00 ราย และมีผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ www.smeknowledgecente.com มากถึง 250,000 ครั้งต่อปี ซึ่งเกินเป้าที่วางไว้ 200,000 ราย
สำหรับในปีนี้คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ สสว. ยังเพิ่มแนวคิดให้กับผู้ประกอบการที่กำลังต่อสู้กับความท้าทายใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติจาก โควิด-19 หรือการทำธุรกิจแบบ New Normal โดยแนะว่า ผู้ประกอบการต้องเร่งทำ 4 อย่างด้วยกันคือ สร้างทักษะใหม่ๆ หรือ New Skill Set การพัฒนาคนในองค์กร (Retraining) การพัฒนาทักษะ
เดิม ๆ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น (Reskilling แบบรอบด้าน) และต้องเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างเต็มตัว (Digitalization) และจากการที่ค่า GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย ของไตรมาสแรกปี 2563 ลดลงร้อยละ 1.8 ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์ โควิด-19 โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น โรงแรมและร้านอาหาร ที่ค่า GDP ลดลงไปมากถึงร้อยละ 24.1 ดังนั้น สสว.ก็จะเร่งเข้าดูแลภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมมากเป็นพิเศษ ซึ่งผู้ประกอบการก็ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับการท่องเที่ยวแบบ New Nomal และต้องปรับตัวให้ เหมาะสมแพทฟอร์ม เช่นกัน โดยความรู้ที่จะนำมาอบรมในการปรับตัวครั้งนี้ เป็นเรื่องของการเน้นลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เน้นกระบวนการลดความซ้ำซ้อนและนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย และพัฒนาองค์ความรู้ในด้านตลาดดิจิทัล เป็นต้น