xs
xsm
sm
md
lg

“สุชาติ” ค้านตั้ง กมธ.วิสามัญสอบงบโควิด-19 ชี้ซ้ำซ้อน กมธ.สามัญ 35 คณะ เหน็บมาตรฐานเข้มกว่า พ.ร.ก.เงินกู้ยุค “มาร์ค-ปู”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี และ ประธาน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) (ภาพจากแฟ้ม)
ปธ.ส.ส.พปชร.ค้านตั้ง กมธ.วิสามัญสอบงบโควิด-19 ชี้ ซ้ำซ้อน กมธ.สามัญ 35 คณะ แถมสิ้นเปลืองเวลา-เบี้ยประชุม ทั้งที่อยู่ในสายตา สตง. และ ป.ป.ช และรายงานรัฐสภา พร้อมย้ำมาตรฐานเข้มกว่า พ.ร.ก.เงินกู้ยุคสมัย “อภิสิทธิ์-ยิ่งลักษณ์”

วันนี้ (30 พ.ค.) ที่รัฐสภา นายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี และ ประธาน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีพรรคฝ่ายค้าน และ พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้สภาตั้ง กมธ.วิสามัญขึ้นมาตรวจสอบการใช้เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ว่า ส่วนตัวตนไม่เห็นด้วยกับการตั้ง กมธ.วิสามัญฯดังกล่าว เพราะมีหน่วยงานราชการที่น่าเชื่อถือพิจารณาและกลั่นกรองอยู่แล้ว เช่น สภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง รวมทั้งในระดับพื้นที่จะต้องเสนอผ่านคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) กลั่นกรอง ก่อนเสนอให้ ครม.เป็นผู้อนุมัติโครงการตามที่เสนอมาเท่านั้น โดยนักการเมืองไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง ขณะที่สภาก็มี กมธ.สามัญฯ จำนวน 35 คณะ ซึ่งสามารถทำหน้าที่และสามารถตรวจสอบ พ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท ทั้ง 3 ฉบับ พวกเราที่เป็น ส.ส.ทุกคน ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ในฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องมั่นใจในระบบราชการที่เข้ามาดูแลงบประมาณตัวนี้ จึงไม่จำเป็นต้องตั้ง กมธ.วิสามัญฯ ให้ขึ้นมาทำงานซ้ำซ้อน เสียเวลาการทำงานกับทุกฝ่าย และรวมทั้งเสียงบประมาณของแผ่นดิน เกี่ยวกับเบี้ยประชุมอีกด้วย

ประธาน ส.ส.พปชร. กล่าวว่า ในส่วนที่ฝ่ายค้านคิดและเป็นข้อกังวลในการใช้งบประมาณเกรงว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชัน หรือใช้งบประมาณไปไม่ตรงวัตถุประสงค์นั้น ท่านต้องอย่าลืมว่า ประเทศไทยนั้นก็มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน( สตง.) และ คณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมตรวจสอบ ยิ่งโดยเฉพาะ พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านบาท ถือว่า มีกรอบดำเนินการที่รัดกุมโดยใช้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะมาบังคับใช้ กำกับติดตาม การเบิกจ่ายเงินกู้ และ ต้องมีการประเมินโครการต่างๆ นำเสนอต่อ ครม.ทุก 3 เดือน ส่วนการกำกับติดตามเงินกู้และผลสัมฤทธิ์ของโครงการ มาตรการต่างๆ เหล่านี้ ผมเชื่อและมั่นใจว่า ท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นั้น ได้คิดและวางแผนมาตรการต่างๆ ในการบริหารจัดการไว้แล้ว ซึ่งมีการรายงานต่อรัฐสภาภายใน 60 วันนับแต่สิ้นปีงบประมาณ ซึ่งถือว่ามีมาตรฐานตรวจสอบ หรือ มีการประเมิน KPI สูงกว่าเมื่อเทียบกับ พ.ร.ก.เงินกู้ในอดีต คือ พ.ร.ก.ไทยเข้มแข็งในปี 52 และ พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อวางระบบบริหารน้ำ ปี 2555


กำลังโหลดความคิดเห็น