นายกรัฐมนตรี ชี้แจงจำเป็นต้องตราพ.ร.ก. 3 ฉบับ เพื่อรับมือ ฟื้นฟู และเสริมความเข้มแข็งทางศก.ประเทศจากผลกระทบโควิด-19 ย้ำ โปร่งใส ทั่วถึง เป็นไปตามระเบียบการเงินการคลัง มั่นใจชำระหนี้ได้
วันนี้ (27 พ.ค.) เวลา 10.30 น. ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฏร โดยนายชวน หลีกภัย. ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานที่ประชุม โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยมีวาระสำคัญเรื่องด่วนการพิจารณาพระราชกำหนด 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 2.พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 และ 3.พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 โดยคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์ ได้เสนอหลักการและเหตุผลในการตราพระราชกำหนด 3 ฉบับ ว่า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคืนกลับมาสู่ประเทศ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขสถานการณ์และหยุดยั้งการระบาดของโรคระบาดโควิด-19 เพื่อสร้างความพร้อมด้านสาธารณสุขของประเทศ เพื่อเยียวยาเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพจากมาตรการควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค โดยรัฐบาลจะต้องใช้เงินในการดำเนินการดังกล่าวจำนวน 1 ล้านล้านบาทซึ่งไม่อาจดำเนินการได้ตามปกติหรือใช้การกู้เงินของรัฐบาลที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันได้ จึงต้องมีการออกพระราชกำหนดเพื่อดูแลและฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
“การตราพรก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท ถือเป็นทางเลือกสุดท้ายที่รัฐบาลตัดสินใจดำเนินการ เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศและป้องกันภัยพิบัติสาธารณะซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงความห่วงใยในประเด็นในการรักษาวินัยการเงิน การคลังของประเทศ และความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน จึงได้กำหนดหลักการที่สอดคล้องกับวินัยการเงินการคลังของรัฐ เพื่อเป็นกรอบการกู้เงินไว้ในกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่ กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท โดยลงนามในสัญญากู้ไม่เกิน วันที่ 30 กันยายน 2564 “
พล.อ.ประยุทธ์กล่าว่าเพื่อเป็นการรักษาวินัยในการใช้เงิน รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการใช้เงินตามพระราชกำหนด ได้แก่ 1.กำหนดวงเงิน 450,000 ล้านบาท ที่ต้องนำเงินไปใช้ในแผนงานเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส-19 2.กำหนดวงเงิน 555,000 ล้านบาท ที่ต้องนำไปใช้ตามแผนเพื่อชดเชยเยียวยาให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และ 3.กำหนดวงเงิน 400,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ตามแผนงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อชดเชยเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีอํานาจอนุมัติปรับเปลี่ยนกรอบวงเงินได้ตามความจำเป็น และ เพื่อให้การใช้จ่ายสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง จึงกำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนงานหรือโครงการก่อนเสนอ ครม. และจำกัดการดำเนินโครงการพร้อมทั้งรายงานต่อ ครม. รวมถึงต้องมีการจัดทำรายงานผลการใช้เงินให้รัฐสภาทราบภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งเป็นรายงานที่ครอบคลุมรายละเอียดขอลการกู้เงิน วัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายเงินกู้และผลที่ได้รับจากการใช้จ่ายเงิน
นายกฯกล่าวว่า และจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกจึงต้องมีแผนงานเพื่อให้ประชาชนดำรงอยู่ได้ไปพร้อมกับการรักษาสภาพเศรษฐกิจซึ่งเป็นเครื่องจักรของประเทศ จึงได้มีมาตรการพักชำระหนี้ การกำหนดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำทั้งกับประชาชนและผู้ประกอบการ ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ลดค่าการใช้น้ำ ลดค่าใช้ไฟฟ้า ขยายเวลาการชำระค่าน้ำและค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน ชะลอการจ่ายภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และมาตรการชดเชยรายได้ให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
“ขอยืนยันว่าการกู้คืนภายใต้พระราชกำหนดไม่กระทบต่อหนี้สาธารณะและกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งเมื่อรวมการก่อหนี้ในครั้งนี้แล้วมีอัตราการก่อหนี้ สาธารณะต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ หรือ จีดีพี อยู่ที่ 57.6% ซึ่งถือว่าไม่เกินกรอบการก่อหนี้สาธารณะคงค้างต่อจีดีพีที่กำหนดไว้ว่าหนี้สาธารณะต้องไม่เกินกรอบ 60% ของจีดีพี ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลสามารถบริหารจัดการในการชำระหนี้ได้ และยืนยันว่าการตราพระราชกำหนดครั้งนี้เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จึงต้องมีการตราพระราชกำหนดดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาตามหลักการและเหตุผลดังที่กล่าวมา และขอขอบคุณสมาชิกทุกคน ที่มีความห่วงใยต่อการใช้เงินจำนวนดังกล่าว”พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
คำต่อคำ นายกฯ ชี้แจง พ.ร.ก.ฯ ต่อสภาผู้แทนราษฎร
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติกระผม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอกราบเรียน ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 เห็นชอบให้มีการตรา พระราชกำหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และ ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ซึ่งพระราชกำหนดได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 ที่ผ่านมาโดยที่บทบัญญัติมาตรา 172 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดให้ การตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และ ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกาหนดนั้น ต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า
โอกาสนี้ รัฐบาลจึงขอกราบเรียนต่อสภาผู้แทนราษฎรถึงเหตุผลและ ความจำเป็น ในการตราพระราชกำหนด และสาระสาคัญของพระราชกำหนด ซึ่งกำหนดวงเงินกู้ไว้ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท ดังนี้
เหตุผลและความจำเป็น
ด้วยในปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนาหรือCOVID-19อย่างรุนแรงทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นภาวการณ์แพร่ระบาดใหญ่ ทั่วโลก (Pandemic) ซึ่งโรค COVID-19 ดังกล่าวเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ทางการ แพทย์ยังไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกัน จึงส่งผลให้จานวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกและ ภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลา สิ้นสุดของการแพร่ระบาดของโรคได้ สถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบ อย่างรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนทุกสาขาอาชีพในวงกว้าง การดำเนินมาตรการควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคของรัฐบาล ประเทศต่างๆ อาทิ มาตรการปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายคน (Lockdown) มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ส่งผลให้ การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทุกภาคส่วนทั่วโลกเกิดภาวะชะงักงัน อย่างฉับพลัน ทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกและของประเทศไทยหดตัวลงอย่าง รุนแรงและรวดเร็ว
สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปี 2563 โดยในไตรมาสแรก เศรษฐกิจไทยปรับตัวลง ติดลบร้อยละ 1.8 ถือเป็นการ ชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจไทยครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2557 ทั้งนี้ ภาคบริการ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2563 จากการดำเนินมาตรการควบคุมการเดินทางของประเทศต่าง ๆ ส่งผล ให้ในไตรมาส 1 ปี 2563 จานวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 6.69 ล้านคน ลดลง ร้อยละ 38.01 จากไตรมาส 1 ปี 2562 ในขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยว อยู่ที่ 332,013 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 40.39 เช่นกัน
สถานการณ์ระบาดภายในประเทศที่เริ่มพบจานวนผู้ติดเชื้อในเดือน มกราคม 2563 และมีการระบาดหนักขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือน มีนาคม 2563 ทาให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องดาเนินมาตรการปิดพื้นที่เพื่อ ป้องกันการเคลื่อนย้ายคน (Lockdown) และมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยการปิดสถานประกอบการ สถานบริการต่างๆ รวมถึงสนามบิน เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคอย่างเป็นขั้น เป็นตอน จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทาง เศรษฐกิจและการจ้างงานของประชาชนในทุกสาขาอาชีพ สาหรับประเทศไทย มีการประมาณการว่าการระบาดจะกระทบต่อรายได้ของประเทศไทยในปี 63 ลดลงถึง 8 แสนล้านบาท และคนว่างงานอาจจะสูงถึง 6 แสนคน โดยเมื่อต้น เดือนพฤษภาคม สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยหรือGDP ปี2563อยู่ที่ติดลบร้อยละ5.0-6.0โดยภาคที่ ได้รับผลกระทบอย่างมาก ได้แก่ ภาคการค้าระหว่างประเทศที่เกิดจากการ ชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมและประเทศคู่ค้าที่สาคัญของไทย อาทิ จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ ภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด ที่อาจยืดเยื้อ โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 จะปรับตัวลดลงรุนแรง มากขึ้นกว่าช่วงไตรมาสแรก จากการดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดของ โรคอย่างเข้มข้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม แม้ว่าในการแก้ไขวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมารัฐบาลจะได้พยายามทุกวิถีทางในการบริหารจัดการแหล่งเงิน ภายใต้กรอบกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในส่วนของการจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจำปี 2563 งบกลาง รายการสำรองจ่ายฉุกเฉินหรือจำเป็น การปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และการจัดทาพระราชบัญญัติโอน งบประมาณรายจ่ายปี 2563 แต่แหล่งเงินดังกล่าวมีไม่เพียงพอและไม่ทันกับ สถานการณ์ที่จะยุติการระบาดของโรคและช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบในทุกภาคส่วนได้ ดังนั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศให้กลับมาสู่สภาวะปกติ โดยเร็ว รัฐบาลจึงมีความจาเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขสถานการณ์และ หยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความ พร้อมด้านสาธารณสุขของประเทศเพื่อรองรับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น การเยียวยาประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบในการ ประกอบอาชีพจากมาตรการควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคของ รัฐบาล ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมภายหลังสถานการณ์การ แพร่ระบาดสิ้นสุด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวรัฐบาลประมาณการว่า จำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วนประมาณ 1 ล้านล้านบาท จึงไม่อาจดำเนินการ โดยวิธีการงบประมาณตามปกติหรือการกู้เงินของรัฐบาลตามกฎหมายที่ใช้ บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ สถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็น รีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และเป็นทางเลือกสุดท้ายของรัฐบาลในการ ตราพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
สาระสาคัญของกฎหมาย
ท่านประธานสภาฯ ที่เคารพครับ ในการตราพระราชกาหนดให้ อานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาทในครั้งนี้ รัฐบาลตระหนัก ถึงข้อห่วงใยของท่านทั้งหลายต่อประเด็นการรักษาวินัยการเงินการคลังของ ประเทศ ความคุ้มค่า และความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินกู้ดังกล่าว รัฐบาลจึง ได้กาหนดหลักการสำคัญที่สอดคล้องกับกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ เพื่อเป็นกรอบวินัยในการกู้เงินไว้ในกฎหมายฉบับนี้ โดยสรุปได้ดังนี้1. กำหนดให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอานาจกู้ เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 ล้านบาท โดยจะต้องลงนามในสัญญากู้เงินหรือออกตราสารหนี้ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 25642. การกู้เงินตามพระราชกำหนดฉบับนี้จะต้องนำไปใช้จ่ายตาม วัตถุประสงค์ภายใต้แผนงานหรือโครงการตามบัญชีท้ายพระราชกาหนด ซึ่งประกอบด้วย 3 แผนงานหลัก ได้แก่(1) แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และ สาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของ COVID-19 วงเงิน 45,000 ล้านบาท(2) แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 วงเงิน 555,000 ล้านบาท และ(3) แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 วงเงิน 400,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในกรณีจำเป็นคณะรัฐมนตรีสามารถอนุมัติปรับ กรอบวงเงินภายใต้แผนงานหรือโครงการตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
3. เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ พระราชกาหนดฯ ได้กาหนดให้มี “คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองแผนงานหรือโครงการ ก่อนเสนอ คณะรัฐมนตรีอนุมัติ รวมทั้งกากับดูแลการดำเนินโครงการและรายงาน ความก้าวหน้าต่อคณะรัฐมนตรี
4. การดำเนินแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เป็นไป ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยคำแนะนาของคณะกรรมการ กลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ซึ่งปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้ออกระเบียบ สานักนายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดกระบวนการพิจารณากลั่นกรองและอนุมัติ โครงการ ตลอดจนขั้นตอนการบริหารจัดการโครงการเรียบร้อยแล้ว
5. เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ พระราชกำหนดฯ ได้กำหนด ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานผลการกู้เงินภายใต้ พระราชกาหนดฯ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ ภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้น ปีงบประมาณด้วย ซึ่งรายงานดังกล่าวจะครอบคลุมถึงรายละเอียดของการ กู้เงิน วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ ได้รบัหรือคาดว่าจะได้รับ
ท่านประธานสภาฯ ที่เคารพครับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงต้นปีมาจนถึงกลางปี 2563 เป็นการแพร่ระบาดที่มีความ รุนแรงมากที่สุดในรอบ 100 ปี และส่งผลต่อเศรษฐกิจรวมทั้งตลาดเงินและ ตลาดทุนทั่วโลก รัฐบาลจึงมีความจาเป็นที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือประชาชน และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ เพื่อรักษาศักยภาพของเครื่องจักรทาง เศรษฐกิจของประเทศไว้ ให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้หลังจากที่สถานการณ์ การระบาดคลี่คลาย โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการออกมาตรการดูแลและ เยียวยาผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งทางตรงทางอ้อม ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โดยในมาตรการระยะที่ 1 เป็น การช่วยบรรเทาภาระทางการเงินของประชาชน โดยการพักชาระหนี้ประชาชน ที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่าแก่ ผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังมีการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของ นายจ้างและลูกจ้าง การลดค่าน้าค่าไฟ การขยายเวลาชำระค่าน้าค่าไฟ รวมทั้งการคืนเงินประกันค่าใช้ไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ส่วนมาตรการ
ระยะที่ 2 รัฐบาลได้มีการชะลอการจ่ายภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคล การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชนและผู้ประกอบการ ตลอดจนมาตรการชดเชยรายได้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน 2563 การแพร่ ระบาดของ COVID-19 ในประเทศยังคงลุกลาม รัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนิน มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค อาทิ การปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการ เคลื่อนย้ายคน (Lockdown) มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการประกอบอาชีพของประชาชนในทุกสาขาอาชีพ
ดังนั้น เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และสร้างความเชื่อมั่นของ ประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการดูแลและ เยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 ระยะที่ 3 โดยออกมาตรการสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่าเพิ่มเติมสาหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) รวมทั้งการตราพระราชกาหนด 3 ฉบับที่คณะรัฐมนตรีนาเสนอ ต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในคราวนี้ ซึ่งเป็นการดูแลผลกระทบจาก สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่
1.มิติด้านการสาธารณสุข : รัฐบาลให้ความสาคัญกับการแก้ไขปัญหา สถานการณ์การระบาดของCOVID-19 เป็นลาดับแรกพระราชกาหนดกู้เงินฯ จึงได้กาหนดวงเงิน 45,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์และ สาธารณสุข เพิ่มเติมจากเงินงบประมาณที่รัฐบาลได้มีการอนุมัติใช้งบกลาง รายการสารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจาเป็นเพื่อดาเนินการไปแล้ว
2. มิติด้านสภาพคล่องเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ: รัฐบาลได้ให้ความสาคัญกับการเพิ่ม สภาพคล่องให้แก่ประชาชนทุกภาคส่วน รวมถึงผู้ประกอบการ โดย พระราชกำหนดกู้เงินฯ ได้กำหนดวงเงินเยียวยาให้แก่ประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ วงเงิน 555,000 ล้านบาท เพิ่มเติมจากวงเงินที่รัฐบาลได้ อนุมัติเดิมอีก 45,000 ล้านบาท ทำให้ในระยะแรกรัฐบาลสามารถช่วยเหลือ ประชาชนและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในเบื้องต้นได้ถึง 26 ล้านคน ครม. ได้มีมติ 26 พฤษภาคม 2563 เพิ่มเติมการช่วยเหลือและเยียวยาประชาชน ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่เป็นกลุ่มอื่น เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และกลุ่ม เปราะบาง
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ตราพระราชกำหนดการ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft Loan) ที่ใช้กลไกระบบการเงินและสถาบันการเงินในการเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นการต่อยอดมาตรการของรัฐอื่นๆ ในการเพิ่ม สภาพคล่องให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ ที่ได้ดาเนินการไปแล้ว
3. มิติด้านรักษาเสถียรภาพทางการเงิน : เนื่องจากเสถียรภาพของ ระบบการเงินเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงเป็นหน้าที่ ของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินในช่วงภาวะวิกฤต โดยพระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคง ทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. BSF) จะเป็นกลไกสาคัญใน การสร้างความเชื่อมั่นในตลาดตราสารหนี้เพื่อให้ตลาดตราสารหนี้ยังคง สามารถทาหน้าที่เป็นแหล่งระดมทุนที่สาคัญของประเทศรองลงมาจาก ธนาคารพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. มิติด้านการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคมภายหลังจากการแพร่ ระบาด : เมื่อวิกฤติ COVID คลี่คลายลง รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูความ เชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพราะหากล่าช้าความ เสียหายและผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะเพิ่มสูงขึ้น พระราชกาหนดกู้เงินฯ จึงได้กำหนดวงเงินสาหรับฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมไว้จานวน 400,000 ล้านบาท เพื่อให้ภาครัฐมีแหล่งเงินทุนเพียงพอเพื่อพลิกฟื้นกิจกรรม ทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยรัฐบาลจะเน้นสาขาเศรษฐกิจที่มีความ ได้เปรียบและมีโอกาสสร้างการเติบโต เช่น เกษตรอัจฉริยะ เกษตรมูลค่าสูง เกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหาร Bio-Economy การท่องเที่ยว ที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน อุตสาหกรรมการให้บริการ (Hospitality Industry) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโครงการจะต้องมุ่งเน้นให้เกิดการสร้าง งานและสร้างอาชีพของเศรษฐกิจฐานราก กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและ เอกชน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงต้องเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อรองรับการใช้วิถีชีวิตรูปแบบ ใหม่ภายหลังวิกฤตการระบาดของ COVID-19 (New Normal) ด้วย
ท่านประธานสภาฯ ที่เคารพครับ ในการตราพระราชกำหนดกู้เงินฯ ใน ครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานะหนี้ของประเทศ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สภาฯ แห่งนี้ และประชาชนมีความมั่นใจในการบริหารหนี้สาธารณะ ของรัฐบาล กระผมขอเรียนเพิ่มเติมว่า การกู้เงินของรัฐบาลในวงเงิน 1 ล้านล้านบาทภายใต้พระราชกำหนดฉบับนี้ และเมื่อรวมกับการกู้เงินกรณี อื่นๆ แล้วจะไม่กระทบต่อกรอบการบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายวินัย การเงินการคลังของรัฐ โดยประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ (GDP) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 มีสัดส่วนร้อยละ 57.96 ซึ่งไม่เกินกรอบร้อยละ 60
สำหรับแนวทางการกู้เงินในเบื้องต้นจะพิจารณาแหล่งเงินกู้ในประเทศเป็น หลัก ขณะเดียวกันก็จะพิจารณาเงื่อนไขและต้นทุนการกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ ต่างประเทศอีกทางหนึ่ง เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสารองหากสภาพคล่องใน ประเทศไม่เพียงพอด้วย ทั้งนี้ เพื่อไม่เป็นการแย่งเงินทุนกับภาคเอกชน ที่จาเป็นต้องระดมเงินจากตลาดการเงินในช่วงเวลาเดียวกัน (Crowding out Effect) สาหรับในด้านการชาระหนี้นั้น กระทรวงการคลังได้มีการวาง แผนการชาระหนี้อย่างเป็นระบบ เพื่อกระจายความเสี่ยงและดูแลต้นทุนการกู้เงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นการชาระหนี้ภายใต้พระราชกาหนด จึงยังคงอยู่ในระดับที่รัฐบาลสามารถบริหารจัดการได้
นอกจากนี้ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกาหนดนี้เป็นไปอย่าง คุ้มค่า โปร่งใส และตรวจสอบได้ รัฐบาลให้ความสาคัญยิ่งในการกาหนด กระบวนการกลั่นกรองโครงการผ่านกลไกของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้ จ่ายเงินกู้ ซึ่งจะต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอยู่ภายใต้ แผนงานและโครงการที่กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชกาหนดเท่านั้น และ ต้องมีการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมและความคุ้มค่าของโครงการ ตลอดจนความจำเป็นเร่งด่วน ไม่ซ้าซ้อนกับเงินงบประมาณ และหน่วยงานมี ความพร้อมดาเนินการได้ทันที
ท่านประธานสภาฯ ที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติครับ รัฐบาล พิจารณาแล้วเห็นว่าการสร้างความพร้อมด้านสาธารณสุข การช่วยเหลือ ประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบในการประกอบ อาชีพ ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคม ภายหลังสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรค COVID-19 สิ้นสุดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศให้ กลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็วเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจาเป็นรีบด่วนอันมิอาจ หลีกเลี่ยงได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกาหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้ เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทาง เศรษฐกิจของประเทศ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสภาผู้แทนราษฎรจะได้พิจารณา อนุมัติ พระราชกำหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา เพื่อประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของ ประเทศต่อไปขอบพระคุณครับ