xs
xsm
sm
md
lg

“ดร.ส้ม” หวั่นความรุนแรงในครอบครัวเพิ่ม ช่วงโควิด-19 ระบาด แนะผู้พบเหตุโทร.แจ้ง 1300

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์” ห่วงประชาชนเครียดจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น วอนสังคมช่วยกันสอดส่อง พบเห็นการกระทำรุนแรงในครอบครัว โทร.แจ้ง 1300 ตลอด 24 ชม. หรือโทรปรึกษาปัญหาที่ 1330 และ 1325

สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยขณะนี้ดีขึ้นเรื่อยๆ เป็นที่น่าพอใจ จนรัฐบาลเริ่มผ่อนปรนมาตรการต่างๆ ลงบ้างแล้ว แต่ยังคงต้องเคร่งคัดในการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณะสุขกำหนด
การอยู่บ้านเพื่อป้องกันการรับเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ จึงยังคงเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันการระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้หลายครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้า แต่สำหรับบางครอบครัวอาจทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นได้เช่นกัน

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ (ดร.ส้ม) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 กรุงเทพมหานคร ปทุมวัน บางรัก สาทร พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้มีความหลากหลายทางเพศและกลุ่มเชื้อชาติพันธุ์ กล่าวว่า “ในช่วงที่ประชาชนต้องกักตัวอยู่บ้านจากวิกฤตโควิด-19 นั้น มีจำนวนผู้ได้รับความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น อาจเนื่องมาจากความกดดันหรือความเครียดที่เพิ่มขึ้น หรืออาจเพราะการเข้าถึงการช่วยเหลือทำได้ยากขึ้นจากสถานการณ์โควิด ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของคนในครอบครัวเท่านั้น แต่อยากให้ทุกคนในสังคมช่วยกันสอดส่องดูแล โดยหากพบเห็นความรุนแรง สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร.1300 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ผู้ที่ต้องการรับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต เช่น ขอคำแนะนำการรับมือกับความกดดันต่าง ๆ นอกจากจะสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษากับศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1330 แล้ว ยังสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง”


โดยในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ได้ระบุไว้ในมาตรา 5 “ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ที่พบเห็น หรือทราบการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว มีหน้าที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้”

ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ที่พบการกระทำความรุนแรงในครอบครัว (ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนบ้านหรือคนใกล้ชิด) ลังเลที่จะแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบ คือ การกลัวต่อการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา เช่น กลัวการถูกฟ้องหมิ่นประมาท แจ้งความเท็จ ดังนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ได้กำหนดให้ผู้แจ้งเหตุโดยสุจริตไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง ในมาตรา 6 วรรคแรก “การแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5 อาจกระทำโดยวาจา เป็นหนังสือทางโทรศัพท์ วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด”






กำลังโหลดความคิดเห็น