“กมธ.ดีอีเอส” เร่งติดตามการวางระบบ 5G “กัลยา” ต้องเตรียมรับอุตสาหกรรมการผลิตใหม่ยุค “Telemedicine-Automation-Robotics” เผยเตรียมเชิญ “โอเปอเรเตอร์-กสทช.” แจงความคืบหน้าหลังเปิดสภาฯ “เศรษฐพงค์” แนะต้องเตรียมแรงงานให้พร้อม เพิ่มทักษะทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ
เมื่อวันที่ 4 พ.ค. น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอีเอส) สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ขณะนี้ กมธ.ดีอีเอส ได้เริ่มติดตามการวางโครงข่าย 5G อย่างจริงจังว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว และมีปัญหาอุปสรรคอย่างไร โดยเรามีแผนว่าเมื่อมีการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะได้เชิญตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ให้บริการ, สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มาชี้แจงความคืบหน้าหลังจากที่ได้มีการประมูลคลื่น 5G ผ่านไปแล้วตั้งแต่กลางเดือน ก.พ.
น.ส.กัลยากล่าวต่อว่า เราเห็นว่าโครงข่าย 5G จะทำให้เกิดโอกาสใหม่ในอุตสาหกรรมไทย เพราะวันนี้อุตสาหกรรมไทยยังเป็นเชิงอุตสาหกรรมโลกเก่าอยู่ ที่เป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิม แต่โครงข่าย 5G จะนำเราไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น Telemedicine ซึ่งตอนนี้ทั่วโลกให้การยอมรับระบบสาธารณสุขไทยแล้ว เราจึงต้องฉวยโอกาสตอนนี้ปรับระบบ 5G ให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัย การขนส่ง การท่องเที่ยว ภาคเกษตรกรรม เป็นต้น ส่วนการลงทุนในยุคต่อไปจากนี้ หลังจากผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไป บริษัทระดับโลกอาจจะไม่มีการมาลงทุน หรือถอนทุนออกไป หากเทคโนโลยีของเราไม่พัฒนาเข้าสู่ Automation และ Robotics เพราะมีการมองกันแล้วว่าคนเป็นปัญหาของระบบการผลิต เพราะเมื่อเกิดวิกฤตแล้วคนออกมาทำงานไม่ได้ ก็ต้องพึ่งระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ เพื่อให้การผลิตเดินหน้าต่อไปได้
ประธาน กมธ.ดีอีเอส กล่าวต่อว่า จะติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียโอกาส ทั้งที่เรามีศักยภาพในการที่จะพัฒนาระบบหรือโครงข่าย 5G ให้ทัดเทียมและมีคุณภาพเท่ากับหรือดีกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะเวลานี้ที่เกิดวิกฤตโควิด-19 แพทย์และผู้ป่วยไม่สามารถสัมผัสใกล้ชิดกันได้ ดังนั้น การใช้ระบบโครงข่ายและเทคโนโลยี 5G จะทำให้การแพทย์ก้าวหน้า และแพทย์กับคนไข้ไม่ต้องสัมผัสกันโดยตรง สามารถลดขั้นตอนการพบปะกันได้ เป็นส่วนหนึ่งที่กรรมาธิการให้ความสำคัญและเกาะติดอย่างใกล้ชิด และโครงสร้าง 5G จะตอบสนองนวัตกรรมต่างๆ ด้วย ถ้าเราไม่พัฒนาเทคโนโลยีของเราให้เข้าสู่ Automation หรือ Robotics ก็จะแข่งขันไม่ได้ มีหลายคนบอกว่า โควิดทำให้เศรษฐกิจถดถอย ยอมรับว่าจริง แต่ก็มีธุรกิจ การค้ารูปแบบใหม่เกิดขึ้น การพัฒนาก็ต้องเปลี่ยนไป เราต้องอยู่ให้ได้อย่างยั่งยืน แต่ก็ต้องวางมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย ซึ่งกรรมาธิการก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้
“เมื่อก่อนนี้คนไข้หลายคนต้องหาหมอหลายส่วนเพราะมีหลายโรค แต่เทคโนโลยีสามารถหาหมออย่างพร้อมเพรียงกันได้ ขณะเดียวกัน ปัจจุบันทุกคน Work from home คนก็ต้องปรับพฤติกรรมตัวเองทั้งหมด เรียนรู้การใช้เทคโนโลยี ค้าขายออนไลน์มากขึ้น พฤติกรรมเราต้องเปลี่ยนหมดเลยเพื่อรองรับเรื่องเหล่านี้” น.ส.กัลยากล่าว
ด้าน พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย ฐานะรองประธาน กมธ.ดีอีเอส กล่าวว่า เมื่อเราเตรียมพร้อมในด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ แล้ว รวมถึงมีการพัฒนาโครงสร้าง 5G แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่เราต้องเตรียมพร้อมคือ เรื่องบุคลากรที่ต้องมีการพัฒนาด้านทักษะให้มีความพร้อมในการทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับการผลิตแบบอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาลสามาระดำเนินการได้เลย เช่น การอบรมทักษะ ศึกษา เรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่สามารถทำได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตแบบอัตโนมัติ หรือบุคลากรทางการแพทย์ก็ต้องรองรับ Telemedicine รวมถึงให้ความรู้กับ SME ในเชิงของอุตสาหกรรมใหม่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องเตรียมพร้อม เพราะเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ก็มีภัยคุมคามใหม่เช่นกัน ดังนั้น การเรียนรู้ก็ต้องปรับรูปแบบให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงด้วย
เมื่อวันที่ 4 พ.ค. น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอีเอส) สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ขณะนี้ กมธ.ดีอีเอส ได้เริ่มติดตามการวางโครงข่าย 5G อย่างจริงจังว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว และมีปัญหาอุปสรรคอย่างไร โดยเรามีแผนว่าเมื่อมีการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะได้เชิญตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ให้บริการ, สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มาชี้แจงความคืบหน้าหลังจากที่ได้มีการประมูลคลื่น 5G ผ่านไปแล้วตั้งแต่กลางเดือน ก.พ.
น.ส.กัลยากล่าวต่อว่า เราเห็นว่าโครงข่าย 5G จะทำให้เกิดโอกาสใหม่ในอุตสาหกรรมไทย เพราะวันนี้อุตสาหกรรมไทยยังเป็นเชิงอุตสาหกรรมโลกเก่าอยู่ ที่เป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิม แต่โครงข่าย 5G จะนำเราไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น Telemedicine ซึ่งตอนนี้ทั่วโลกให้การยอมรับระบบสาธารณสุขไทยแล้ว เราจึงต้องฉวยโอกาสตอนนี้ปรับระบบ 5G ให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัย การขนส่ง การท่องเที่ยว ภาคเกษตรกรรม เป็นต้น ส่วนการลงทุนในยุคต่อไปจากนี้ หลังจากผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไป บริษัทระดับโลกอาจจะไม่มีการมาลงทุน หรือถอนทุนออกไป หากเทคโนโลยีของเราไม่พัฒนาเข้าสู่ Automation และ Robotics เพราะมีการมองกันแล้วว่าคนเป็นปัญหาของระบบการผลิต เพราะเมื่อเกิดวิกฤตแล้วคนออกมาทำงานไม่ได้ ก็ต้องพึ่งระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ เพื่อให้การผลิตเดินหน้าต่อไปได้
ประธาน กมธ.ดีอีเอส กล่าวต่อว่า จะติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียโอกาส ทั้งที่เรามีศักยภาพในการที่จะพัฒนาระบบหรือโครงข่าย 5G ให้ทัดเทียมและมีคุณภาพเท่ากับหรือดีกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะเวลานี้ที่เกิดวิกฤตโควิด-19 แพทย์และผู้ป่วยไม่สามารถสัมผัสใกล้ชิดกันได้ ดังนั้น การใช้ระบบโครงข่ายและเทคโนโลยี 5G จะทำให้การแพทย์ก้าวหน้า และแพทย์กับคนไข้ไม่ต้องสัมผัสกันโดยตรง สามารถลดขั้นตอนการพบปะกันได้ เป็นส่วนหนึ่งที่กรรมาธิการให้ความสำคัญและเกาะติดอย่างใกล้ชิด และโครงสร้าง 5G จะตอบสนองนวัตกรรมต่างๆ ด้วย ถ้าเราไม่พัฒนาเทคโนโลยีของเราให้เข้าสู่ Automation หรือ Robotics ก็จะแข่งขันไม่ได้ มีหลายคนบอกว่า โควิดทำให้เศรษฐกิจถดถอย ยอมรับว่าจริง แต่ก็มีธุรกิจ การค้ารูปแบบใหม่เกิดขึ้น การพัฒนาก็ต้องเปลี่ยนไป เราต้องอยู่ให้ได้อย่างยั่งยืน แต่ก็ต้องวางมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย ซึ่งกรรมาธิการก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้
“เมื่อก่อนนี้คนไข้หลายคนต้องหาหมอหลายส่วนเพราะมีหลายโรค แต่เทคโนโลยีสามารถหาหมออย่างพร้อมเพรียงกันได้ ขณะเดียวกัน ปัจจุบันทุกคน Work from home คนก็ต้องปรับพฤติกรรมตัวเองทั้งหมด เรียนรู้การใช้เทคโนโลยี ค้าขายออนไลน์มากขึ้น พฤติกรรมเราต้องเปลี่ยนหมดเลยเพื่อรองรับเรื่องเหล่านี้” น.ส.กัลยากล่าว
ด้าน พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย ฐานะรองประธาน กมธ.ดีอีเอส กล่าวว่า เมื่อเราเตรียมพร้อมในด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ แล้ว รวมถึงมีการพัฒนาโครงสร้าง 5G แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่เราต้องเตรียมพร้อมคือ เรื่องบุคลากรที่ต้องมีการพัฒนาด้านทักษะให้มีความพร้อมในการทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับการผลิตแบบอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาลสามาระดำเนินการได้เลย เช่น การอบรมทักษะ ศึกษา เรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่สามารถทำได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตแบบอัตโนมัติ หรือบุคลากรทางการแพทย์ก็ต้องรองรับ Telemedicine รวมถึงให้ความรู้กับ SME ในเชิงของอุตสาหกรรมใหม่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องเตรียมพร้อม เพราะเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ก็มีภัยคุมคามใหม่เช่นกัน ดังนั้น การเรียนรู้ก็ต้องปรับรูปแบบให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงด้วย