xs
xsm
sm
md
lg

เคาะ 12 มาตรการแก้ปัญหาคุกคามทางเพศในที่ทำงาน จ่อชง ครม.เห็นชอบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (แฟ้มภาพ)
รองโฆษกรัฐบาล เผย “จุรินทร์” นั่งหัวโต๊ะประชุม คกก.ส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ กำหนด 12 มาตรการแก้ปัญหาคุกคามทางเพศในที่ทำงาน เตรียมชง ครม.เห็นชอบ

วันนี้ (13 ม.ค.) น.ส.วรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ 12 มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ประกอบด้วย 1) หน่วยงานต้องประกาศเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษรถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหา 2) จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ปัญหา 3) หน่วยงานต้องแสดงเจตนารมย์ในการส่งเสริมความเท่าเทรวมระหว่างบุคคล 4) หน่วยงานต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีโดยคำนึงถึงพื้นที่ปลอดภัยในหน่วยงานเช่นจัดห้องทำงานที่เปิดเผยโลกมองเห็นกันได้ชัดเจน 5) กำหนดกลไกการร้องทุกข์ภายในหน่วยงาน เช่น ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายหรือกลุ่มคุ้มครองคุณธรรมจริยธรรม 6) มีทางเลือกกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างไม่เป็นทางการ 7) การดำเนินการแก้ไขปัญหาต้องทำอย่างจริงจังและทันที 8) กรณีที่มีการร้องเรียนให้หัวหน้าหน่วยงานดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานทราบข้อเท็จจริง 9) หน่วยงานมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนและผู้เป็นพยาน 10) หน่วยงานต้องมีมาตรการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหา 11) หน่วยงานต้องรายงานผลการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานอย่างต่อเนื่องสำหรับหน่วยงานภาครัฐให้รายงานต่อผู้บริหารด้านเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย 12) ศูนย์ประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน (ศปคพ.) เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชนโดยรายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

มากไปกว่านั้น นายจุรินทร์ได้สั่งการให้เร่งดำเนินการรณรงค์ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยจะผนึกกำลังรัฐเอกชนจัดกิจกรรมการยุติการเลือกปฏบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ครอบคลุมประเด็น อาทิ การกีดกันการจ้างงาน การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน


กำลังโหลดความคิดเห็น