สปน.เปิดผลสรุป ปชช.ร้องทุกข์ศูนย์ร้องเรียนรัฐบาล 8 หมื่นเรื่อง ดำเนินการยุติ 7 หมื่น พบอันดับ 1 สังคมและสวัสดิการ 4 หมื่นกว่าเรื่อง รองลงมาการเมือง-การปกครองเกือบ 8 พันเรื่อง
วันนี้ (28ธ.ค.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์และเสนอความคิดเห็นช่องทางการร้องทุกข์1111 ( 5 ช่องทาง) ประจำปีงบประมาณ 2562 ว่า มีประชาชนรายย่อยมาใช้บริการ 80,075 ราย แบ่งเป็นมายื่นเรื่องที่จุดบริการประชาชน 1111 จำนวน 2,037 ราย และกลุ่มมวลชน 244 กลุ่ม โดยทั้งหมด 80,319 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 72,899 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 90.76 เปอร์เซ็นต์ รอผลการพิจารณา 7,420 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 9.24 เปอร์เซ็นต์ โดยผ่านช่องทางสายด่วนของรัฐบาล 1111 มากที่สุด จำนวน 123,990 ครั้ง รองลงมาคือช่องทาง ตู้ ปณ.1111 ไปรษณีย์ โทรสาร จำนวน 8,626 ครั้ง ช่องทางเว็บไซต์ www.1111.go.th จำนวน 5,223 ครั้ง จุดบริการประชาชน 1111 จำนวน 3,081 ครั้ง โมบายแอพพลิเคชั่น PSC 1111 จำนวน 1,418 ครั้ง ตู้ ปณ. 444 จำนวน 176 ครั้ง และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จำนวน 1 ครั้ง ส่วนเรื่องที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการเองจนเป็นที่ยุติไม่ได้ส่งให้หน่วยงานดำเนินการ จำนวน 26,977 เรื่อง
โดยเรื่องที่ต้องประสานกระทรวง จำนวน 20,238 เรื่อง แบ่งเป็นกระทรวงการคลังอันดับ 1 จำนวน 4,656 เรื่อง กระทรวงคมนาคม 3,096 เรื่อง กระทรวงมหาดไทย 2,772 เรื่อง กระทรวงยุติธรรม 1,613 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 1,273 เรื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1,205 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 1,184 เรื่อง ขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมน้อยสุด คือ 54 เรื่อง ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ จำนวน 7,894 เรื่อง แบ่งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 7,006 เรื่อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 198 เรื่อง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) 172 เรื่อง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 149 เรื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย 122 เรื่อง และอื่นๆ 247 เรื่อง ส่วนรัฐวิสาหกิจ แบ่งเป็น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 684 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 580 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 549 เรื่อง ธนาคารออมสิน 469 เรื่อง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 306 เรื่อง และอื่นๆ 2,281 เรื่อง
นอกจากนี้ ประเภทเรื่องหลักที่ประชาชนร้องทุกข์มากที่สุด คือ สังคมและสวัสดิการ จำนวน 48,880 เรื่อง การเมือง-การปกครอง จำนวน 7,936 เรื่อง เศรษฐกิจ จำนวน 7,601 เรื่อง การร้องเรียนกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 7,331 เรื่อง กฎหมาย จำนวน 4,793 เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3,659 เรื่อง และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อำนวยความสะดวก จำนวน 119 เรื่อง แบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ 17,563 เรื่อง ภาคกลาง 14,924 เรื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ8,024 เรื่อง ภาคใต้ 6,507 เรื่อง ภาคเหนือ 4,814 เรื่อง ภาคตะวันออก 4,296 เรื่อง และต่างประเทศ/ไม่ระบุ 24,191 เรื่อง
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการแจ้งเรื่อง อันดับหนึ่ง คือ เรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์41,053 เรื่อง รองลงมา คือ เสนอข้อคิดเห็น/ให้ข้อมูล 18,056 เรื่อง แจ้งเหตุด่วน/ เหตุร้าย/เหตุฉุกเฉิน 13,705 เรื่อง แจ้งเบาะแส 6,718 เรื่อง ชมเชย/อวยพร/ ให้กำลังใจ 657 เรื่อง ขอข้อมูล/ขอเอกสาร 75 เรื่อง และขอคำแนะนำปรึกษา 55 เรื่อง
วันนี้ (28ธ.ค.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์และเสนอความคิดเห็นช่องทางการร้องทุกข์1111 ( 5 ช่องทาง) ประจำปีงบประมาณ 2562 ว่า มีประชาชนรายย่อยมาใช้บริการ 80,075 ราย แบ่งเป็นมายื่นเรื่องที่จุดบริการประชาชน 1111 จำนวน 2,037 ราย และกลุ่มมวลชน 244 กลุ่ม โดยทั้งหมด 80,319 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 72,899 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 90.76 เปอร์เซ็นต์ รอผลการพิจารณา 7,420 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 9.24 เปอร์เซ็นต์ โดยผ่านช่องทางสายด่วนของรัฐบาล 1111 มากที่สุด จำนวน 123,990 ครั้ง รองลงมาคือช่องทาง ตู้ ปณ.1111 ไปรษณีย์ โทรสาร จำนวน 8,626 ครั้ง ช่องทางเว็บไซต์ www.1111.go.th จำนวน 5,223 ครั้ง จุดบริการประชาชน 1111 จำนวน 3,081 ครั้ง โมบายแอพพลิเคชั่น PSC 1111 จำนวน 1,418 ครั้ง ตู้ ปณ. 444 จำนวน 176 ครั้ง และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จำนวน 1 ครั้ง ส่วนเรื่องที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการเองจนเป็นที่ยุติไม่ได้ส่งให้หน่วยงานดำเนินการ จำนวน 26,977 เรื่อง
โดยเรื่องที่ต้องประสานกระทรวง จำนวน 20,238 เรื่อง แบ่งเป็นกระทรวงการคลังอันดับ 1 จำนวน 4,656 เรื่อง กระทรวงคมนาคม 3,096 เรื่อง กระทรวงมหาดไทย 2,772 เรื่อง กระทรวงยุติธรรม 1,613 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 1,273 เรื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1,205 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 1,184 เรื่อง ขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมน้อยสุด คือ 54 เรื่อง ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ จำนวน 7,894 เรื่อง แบ่งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 7,006 เรื่อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 198 เรื่อง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) 172 เรื่อง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 149 เรื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย 122 เรื่อง และอื่นๆ 247 เรื่อง ส่วนรัฐวิสาหกิจ แบ่งเป็น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 684 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 580 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 549 เรื่อง ธนาคารออมสิน 469 เรื่อง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 306 เรื่อง และอื่นๆ 2,281 เรื่อง
นอกจากนี้ ประเภทเรื่องหลักที่ประชาชนร้องทุกข์มากที่สุด คือ สังคมและสวัสดิการ จำนวน 48,880 เรื่อง การเมือง-การปกครอง จำนวน 7,936 เรื่อง เศรษฐกิจ จำนวน 7,601 เรื่อง การร้องเรียนกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 7,331 เรื่อง กฎหมาย จำนวน 4,793 เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3,659 เรื่อง และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อำนวยความสะดวก จำนวน 119 เรื่อง แบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ 17,563 เรื่อง ภาคกลาง 14,924 เรื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ8,024 เรื่อง ภาคใต้ 6,507 เรื่อง ภาคเหนือ 4,814 เรื่อง ภาคตะวันออก 4,296 เรื่อง และต่างประเทศ/ไม่ระบุ 24,191 เรื่อง
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการแจ้งเรื่อง อันดับหนึ่ง คือ เรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์41,053 เรื่อง รองลงมา คือ เสนอข้อคิดเห็น/ให้ข้อมูล 18,056 เรื่อง แจ้งเหตุด่วน/ เหตุร้าย/เหตุฉุกเฉิน 13,705 เรื่อง แจ้งเบาะแส 6,718 เรื่อง ชมเชย/อวยพร/ ให้กำลังใจ 657 เรื่อง ขอข้อมูล/ขอเอกสาร 75 เรื่อง และขอคำแนะนำปรึกษา 55 เรื่อง