“เศรษฐพงศ์” ตั้ง “กรรมการ กมช.” สมบูรณ์แล้วหรือยัง หลัง พ.ร.บ.ปลอดภัยไซเบอร์ฯบังคับใช้เกิน 90 วันแล้ว แต่ยังไม่เห็นชื่อ กก.ผู้ทรงคุณวุฒิ แนะผู้รับผิดชอบเร่งสร้างความชัดเจนด่วน ชี้ภัยคุกคามไซเบอร์เพิ่ม-รุนแรงขึ้นทุกวัน
เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดย พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย หารือต่อที่ประชุมว่า เรื่องที่ตนจะหารือต่อที่ประชุมสภาฯวันนี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยของการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตหรือระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าในทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากที่ผ่านมา พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่จะดูแลเรื่อง Cyber security บน critical infarstructure ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค.2562 ซึ่งหัวใจสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เขียนขึ้นมาเพื่อให้มีมาตรการหรือการกำหนดแนวทางเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ แต่การจะออกมาตรการต่างๆได้ จะต้องดำเนินการผ่านคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) หรือ National Cyber Security Committee (NCSC) โดยตามบทเฉพาะกาลของกฎหมายดังกล่าว มาตรา 78 ระบุว่าจะต้องมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการ กมช. ให้เสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.บังคับใช้ หมายความว่าตามกฎหมายต้องแต่งตั้งให้เสร็จตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาแล้ว
พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ตนยังไม่เห็นรายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะทำให้คณะกรรมการกมช. ครบองค์ประกอบ และตนยังไม่เห็นข่าวว่าได้มีการแต่งตั้งแล้วหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าว ถือเป็นสารตั้งต้น ที่จะเดินหน้าในขั้นตอนต่อไป คือการตั้งเลขาธิการ กมช. การตั้งคณะกรรมการกํากับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) และการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) เพื่อดูแลงานด้านกิจการบริหารงานทั่วไปของสำนักงาน ดังนั้นเมื่อยังไม่เห็นรายชื่อ กมช. ที่ครบสมบูรณ์ ก็เท่ากับว่าคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ก็ยังไม่เกิดเช่นกัน ซึ่งในส่วนคณะกรรมการ กกม. มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีหน้าที่กํากับดูแลการดําเนินงานของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รวมถึงกําหนดระดับของภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมรายละเอียดของมาตรการหรือการดําเนินการที่กําหนดขึ้น เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ อันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าวต่อว่า ผลกระทบที่ตามเมื่อองค์ประกอบในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ไม่ครบถ้วน คือไม่มีคณะกรรมการเข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแล ก็จะเกิดคำถามว่าประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคดิจิทัล จะเป็นไทยแลนด์ 4.0 แต่ยังไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจนเข้ามาดูแลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้อย่างไร ที่สำคัญภัยก่อการร้ายทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นทุกปี นโยบายประเทศไทยจะจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างไร เพราะเมื่อเรามีกฎหมายรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แล้ว ก็จะต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่กำหนดทิศทางด้วยว่าสรุปแล้วความปลอดภัยไซเบอร์จะครอบคลุมขอบเขตไปถึงไหน อย่างไร ถ้าไม่มีคณะกรรมการย่อยออกมา แล้วรายละเอียดที่ต้องทำตามกฎหมายซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว จะดำเนินการอย่างไร
“ผมจึงอยากถามไปยังหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่าได้มีการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กมช. แล้วหรือยัง ขอให้มีการชี้แจงให้สังคมรับทราบด้วย เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สามารถดำเนินการขั้นต่อไปได้ ทั้งการตั้งเลขาฯกมช. การตั้ง กกม. และการตั้ง กบส. และหากยังไม่มีการแต่งตั้ง ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ แล้วเร่งดำเนินการตามกฎหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้ได้โดยเร็ว เนื่องจากภัยคุกคามไซเบอร์เพิ่มจำนวนและความรุนแรงขึ้นทุกวัน เราจะรอช้าไม่ได้ เพราะเรื่อง Cyber Security มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งยวด หรือ critical information infrastructure protection และความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนทุกคน” พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าว.
เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดย พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย หารือต่อที่ประชุมว่า เรื่องที่ตนจะหารือต่อที่ประชุมสภาฯวันนี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยของการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตหรือระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าในทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากที่ผ่านมา พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่จะดูแลเรื่อง Cyber security บน critical infarstructure ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค.2562 ซึ่งหัวใจสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เขียนขึ้นมาเพื่อให้มีมาตรการหรือการกำหนดแนวทางเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ แต่การจะออกมาตรการต่างๆได้ จะต้องดำเนินการผ่านคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) หรือ National Cyber Security Committee (NCSC) โดยตามบทเฉพาะกาลของกฎหมายดังกล่าว มาตรา 78 ระบุว่าจะต้องมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการ กมช. ให้เสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.บังคับใช้ หมายความว่าตามกฎหมายต้องแต่งตั้งให้เสร็จตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาแล้ว
พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ตนยังไม่เห็นรายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะทำให้คณะกรรมการกมช. ครบองค์ประกอบ และตนยังไม่เห็นข่าวว่าได้มีการแต่งตั้งแล้วหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าว ถือเป็นสารตั้งต้น ที่จะเดินหน้าในขั้นตอนต่อไป คือการตั้งเลขาธิการ กมช. การตั้งคณะกรรมการกํากับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) และการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) เพื่อดูแลงานด้านกิจการบริหารงานทั่วไปของสำนักงาน ดังนั้นเมื่อยังไม่เห็นรายชื่อ กมช. ที่ครบสมบูรณ์ ก็เท่ากับว่าคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ก็ยังไม่เกิดเช่นกัน ซึ่งในส่วนคณะกรรมการ กกม. มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีหน้าที่กํากับดูแลการดําเนินงานของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รวมถึงกําหนดระดับของภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมรายละเอียดของมาตรการหรือการดําเนินการที่กําหนดขึ้น เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ อันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าวต่อว่า ผลกระทบที่ตามเมื่อองค์ประกอบในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ไม่ครบถ้วน คือไม่มีคณะกรรมการเข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแล ก็จะเกิดคำถามว่าประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคดิจิทัล จะเป็นไทยแลนด์ 4.0 แต่ยังไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจนเข้ามาดูแลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้อย่างไร ที่สำคัญภัยก่อการร้ายทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นทุกปี นโยบายประเทศไทยจะจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างไร เพราะเมื่อเรามีกฎหมายรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แล้ว ก็จะต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่กำหนดทิศทางด้วยว่าสรุปแล้วความปลอดภัยไซเบอร์จะครอบคลุมขอบเขตไปถึงไหน อย่างไร ถ้าไม่มีคณะกรรมการย่อยออกมา แล้วรายละเอียดที่ต้องทำตามกฎหมายซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว จะดำเนินการอย่างไร
“ผมจึงอยากถามไปยังหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่าได้มีการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กมช. แล้วหรือยัง ขอให้มีการชี้แจงให้สังคมรับทราบด้วย เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สามารถดำเนินการขั้นต่อไปได้ ทั้งการตั้งเลขาฯกมช. การตั้ง กกม. และการตั้ง กบส. และหากยังไม่มีการแต่งตั้ง ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ แล้วเร่งดำเนินการตามกฎหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้ได้โดยเร็ว เนื่องจากภัยคุกคามไซเบอร์เพิ่มจำนวนและความรุนแรงขึ้นทุกวัน เราจะรอช้าไม่ได้ เพราะเรื่อง Cyber Security มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งยวด หรือ critical information infrastructure protection และความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนทุกคน” พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าว.