สภาพัฒน์ เปิด 8 ข้อสั่งการ นายกรัฐมนตรี รับหลักการ ร่วมจังหวัด/ท้องถิ่น/เอกชน ขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 "กาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี" ระหว่างประชุม ครม.สัญจร พ่วงรับข้อเสนอพัฒนาพื้นที่ 7 ด้าน สั่งการสารพัดกระทรวง/หน่วยงาน นำเข้าแผน 12 สภาพัฒน์ แผน 20 ปียุทธศาสตร์ชาติ ย้ำให้ใช้งบประมาณตามความจำเป็นของโครงการ เร่งด่วนจ่อให้งบฯ63 "เพิ่มเติม" ส่วนโครงการในพื้นที่ ให้มท. บรรจุเข้าแผนดันขอ งบฯ64 ในอนาคต
วันนี้ (18 พ.ย.) มีรายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สภาพัฒน์ ได้รายงานสรุป ข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในระหว่างการการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรี กับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน และผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี) ในช่วงการประชุม ครม.นอกสถานที่ ณ จังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 1/2562 ในวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย
1. ด้านเกษตร กลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุน ดังนี้
1.1 โครงการพัฒนาต้นแบบระบบการตัดอ้อยสดและบรรทุกอ้อย เข้าโรงงานเพื่อลดต้นทุน ลดมลพิษลดการสูญเสีย ลดความเดือดร้อนของชุมชนและนักท่องเที่ยว
(1) การพัฒนาต้นแบบระบบการตัดอ้อยสดและบรรทุกอ้อยเข้าโรงงาน (2) การวิจัยและ พัฒนาอุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องจักรกลทางการเกษตรเพื่อสนับสนุนการเก็บเกี่ยวอ้อย (3) การเพิ่มผลิตภาพ แรงงานสาขาพนักงานขับรถตัดอ้อย (4) การติดตามและเฝ้าระวัง และตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ และ (5) การศึกษารูปแบบศูนย์การบริหารขนส่งและตรวจวัดคุณภาพอ้อย และคัดแยกสิ่งปนเปื้อนออกจากอ้อยตามแนวนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy)
1.2 โครงการการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมชุมชน เพื่อส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 สู่เชิงพาณิชย์ ด้วยการน่าความรู้นวัตกรรมมาใข้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร พัฒนาสินค้าเกษตรนวัตกรรมหรือ สินค้าเกษตรจากวัสดุเหลือใช้ผ่านกระบวนการแปรรูปและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมผลผลิตให้ได้มาตรฐาน การรับรอง รวมถึงการพัฒนาเชื่อมโยงผลผลิตเกษตรสับผู้ประกอบการและกลุ่มอุตสาปกรรมในพื้นที่
ทั้งนี้ นายกฯ ข้อสั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ร่วมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาต้นแบบระบบการตัดอ้อยสดและบรรทุกอ้อย เข้าโรงงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อลดต้นทุน ลดมลพิษ ลดการสูญเสีย ลดความเดือดร้อนของชุมชนและ นักท่องเที่ยวในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 โดยกำหนดรายละเอียดแผนการดำเนินงานและรูปแบบ การบริหารจัดการแบบบูรพาการ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย ต้องไม่ได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบจากโครงการ รวมทั้งใช้กลไกภาครัฐที่มอผูในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ด้วยนวัตกรรมชุมชนสู่เชิงพาณิชย์ โดยให้ความสำคัญ พืชเกษตรหลัก ได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง กล้วย เป็นต้น
เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับ พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 รวมทั้งเชื่อมโยงกับโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ของประเทศ หากโครงการได้กำหนดรูปแบบและวิธีการดำเนินงาน รวมทั้งกำหนดผลสัมฤทธิ์ด้านต่างๆ ที่ชัดเจน ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานสำนักงบประมาณ พิจารณางบประมาณสำหรับดำเนินการ ตามขั้นตอนต่อไป"
2. ด้านการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุน ดังนี้
2.1 โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาเมืองเก่ากาญจนบุรีและ สองฝั่งแม่นํ้าแควน้อยแควใหญ่ ดังนี้
(1) ขอเร่งรัดการขอใช้พื้นที่และการบริหารจัดการเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ "โรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี" เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ โดยการจัดซื้อสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ (เครื่องจักร) ภายในอาคารโรงงานกระดาษเก่าคืนจากภาคเอกชน สำรวจและออกแบบปรับปรุงตัวอาคาร โรงงานกระดาษและพื้นที่ภายในสำหรับใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ภูมิเมืองกาญจน์ สำรวจและออกแบบปรับปรุงตัวอาคารและพื้นที่ภายในอาคาร "สโมสรโรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี" สำรวจและออกแบบก่อสร้างกำแพง บริเวณโดยรอบโรงงานกระดาษ
(2) ปรับภูมิทัศน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางนํ้า โดยการปรับปรุง "เขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณดงบัวและบึงบัว" ก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กต่อจากสะพานสมเด็จพระสังฆราช - บึงบัว ระยะทาง 165 เมตร ปรับปรุงภูมิทัศน์ "ท่าเทียบเรือขุนแผน" ปรับปรุงภูมิทัศน์และ ท่าเทียบเรือ (พื้นที่ตั้งทัพรับศึก บัานลิ้นช้าง)
(3) เพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายนํ้าในพื้นที่เมืองเก่ากาญจนบุรี โดยสำรวจและออกแบบก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองเก่ากาญจนบุรี
(4) โครงการออกแบบและก่อสร้างจุดชมวิว Sky Walk ในพื้นที่เมืองเก่ากาญจนบุรี โดยสำรวจและออกแบบ ก่อสร้างจุดชมวิว Sky Walk ในพื้นที่เมืองเก่ากาญจนบุรี
(5) โครงการออกแบบและก่อสร้างหอคอยชมวิว แม่นํ้าสามสาย ในพื้นที่เมืองเก่ากาญจนบุรี โดยการสำรวจและออกแบบก่อสร้าง และก่อสร้างหอคอยชมวิว แม่นํ้าสามสายในพื้นที่เมืองเก่ากาญจนบุรี
2.2 โครงการก่อสร้างเส้นทางพุทธธรรม และปรับปรุงภูมิทัศน์ พุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี โดยขอรับการสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทางพุทธธรรมและปรับปรุง ภูมิทัศน์พุทธมณฑล เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวของกลุ่มทวารวดีให้มีมาตรฐาน
2.3 โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มการส่งเสริมต่อยอดการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม โดย
(1) อนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถาน ประกอบด้วย วัดอรัญญิกาวาส ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี วัดขนอน ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี วัดคงคาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี วัดมหาธาตุวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี วัดคุ้งกระถิน ต.คุ้งนํ้าวน อ.เมืองราชบุรี วัดม่วง ต.บัานม่วง อ.บัานโปง จ.ราชบุรี วัดโขลงสุวรรณคีรี ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี กำแพงเมืองสุพรรณบุรี อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี และวัดโบสถ์ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี
(2) การจัดทำสื่อนำชมโบราณสถาน จ.ราชบุรี เพื่อการท่องเที่ยวด้วย ระบบ QR CODE
(3) การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ชุมชน ต.คุ้งกระถิน อ.เมือง จังหวัดราชบุรี
(4) การส่งเสริมและต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนจีนแคะ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น รับไปพิจารณาเร่งรัดโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาเมืองเก่า กาญจนบุรี และสองฝั่งแม่น้ำแควน้อยแควใหญ่
โดยเน้นอัตลักษณ์ท้องถิ่นและส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง หากมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการให้กระทรวงมหาดไทยประสาน สำนักงบประมาณ พิจารณางบประมาณมาดำเนินการ และเสนอให้คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พิจารณาตามกฎหมายและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
ยังให้ ให้กระทรวงมหาดไทยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นตัน
รับไปพิจารณา "โครงการก่อสร้างเส้นทางพุทธธรรม และปรับปรุงภูมิทัศน์พุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี" หากมีแผนงาน/ โครงการ/กิจกรรมที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการ ให้กระทรวงมหาดไทยประสานสำนักงบประมาณบรรจุไว้ในแผนการปฎิษัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามกฎหมายและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังให้กระทรวงวัฒนธรรม ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดส้อม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้นรับไปพิจารณาเร่งรัดโครงการสร้างมูลค่าเพิ่ม การส่งเสริมต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หากมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และ พร้อมดำเนินการให้กระทรวงวัฒนธรรม ประสานสำนักงบประมาณพิจารณางบประมาณมาดำเนินการ และ เสนอให้คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พิจารณาตามกฎหมายและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
3. ด้านการบริหารจัดการนํ้า กลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุน ดังนี้
3.1 โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูและแหล่งน้ำลำสมุห์ อ.เมือง และอ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแลัง โดยการขุดลอกเพิ่ม ประสิทธิภาพการกักเก็บความกว้าง 20 - 332 เมตร ความยาว 2,112 เมตร ความลึกเฉลี่ย 6 เมตร ปริมาณนํ้ากักเก็บรวม 2,433,688 ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาอุทกภัย พื้นที่ประมาณ 9,374 ไร่ บรรเทาภัยแล้ง พื้นที่เกษตร 4,200 ไร่
3.2 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง จ.สุพรรณบุรี ประกอบด้วย
(1) ขออนุมัติในหลักการเพื่อสนับสนุนเชิงนโยบายจำนวน 1โครงการ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยทวีป อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
(2) ขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการศึกษา ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 1 โครงการ ประกอบด้วย โครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงการส่งนํ้าและบำรุงรักษากระเสียว จ.สุพรรณบุรี
(3) ขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินการก่อสร้างปีงบประมาณ 2563 จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการสถานีสูบนํ้าปากคลองมะขามเฒ่า - กระเสียว โครงการปรับปรุงคลองมะขามเฒ่า - อู่ทอง พร้อมอาคารประกอบ โครงการสถานีสูบนากระเสียว กม. 47+290 คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี โครงการขุดลอกบึงปลายนํ้าเทศบาล ต.ท่าเสด็จ หมู่ที่ 4 อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี และ อนุรักษ์ฟื้นฟูนํ้าตกพุม่วง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
3.3 โครงการการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำแม่กลอง เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้
(1) ขอสนับสบุบงบประมาณดำเนินการก่อสร้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการพัฒนาแหล่งนํ้าในพื้นที่แห้งแล้ง จ.กาญจนบุรี จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย ฝาย 8 แห่ง และแก้มลิง 1 แห่ง และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นนํ้า ลุ่มนํ้าแม่กลอง โดยปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูต้นนํ้าและพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ
(2) ขออนุมัติในหลักการเพื่อสนับสนุนเชิงนโยบายโครงการขยายความจุอ่างเก็บน้ำลำอีซู ต.หนองรี อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี แผนดำเนินการระยะเวลา 4 ปี (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2568)
(3) ขออนุมัติในหลักการเพื่อสนับสนุนเชิงนโยบายโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะเพินบน จ.กาญจนบุรี แผนดำเนินการระยะเวลา ๓3 ปี (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2568)
3.4 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มแม่กลอง เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อเพิ่มปริมาณเก็บกักนํ้าระบบกระจายนํ้า และเพิ่มประสิทธิภาพระบบเก็บกักและกระจายนํ้าเดิมให้สูงขึ้น จ.ราชบุรี ประกอบด้วย
(1) ขออนุมัติในหลักการเพื่อสนับสนุนเชิงนโยบายจำนวน 9 โครงการ ได้แก่ โครงการอ่างเก็บนํ้าบ้านโป่งพรหมอันเนื่องมาจากพระราฃดำริ ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี สถานีสูบนํ้าด้วยไฟฟ้าวัดอัมพวัน สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านคลองแค สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านลาดเมธงกร สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส้งนํ้าบ้านคุ้งนํ้าวน อาคารบังคับน้ำกลางคลองระบายน้ำสายใหญ่บางป่า กม. 16+300
ประตูระบายนํ้ากลางคลอง ร.2 ซ้าย บางป่า (ลำถ่อแพ) กม.5+500 คลองส่งนํ้า 1 ซ้าย-1 ขวา-3 ขวา-12 ซ้ายและ โครงการคลองขุดลัดราชบุรี
(2) ขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินการก่อสร้างปีงบประมาณ 2563 จำนวน 3 กิจกรรม ประกอบด้วย ก่อสร้างฝาย จำนวน 4 แห่ง กิจกรรมก่อสร้างระบบกระจายนํ้า จำนวน 4 แห่ง และก่อสร้าง/ปรับปรุงอาคารชลประทาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการนํ้า จำนวน 11 แห่ง
3.4 โครงการศึกษาและสำรวจออกแบบแหล่งนํ้าบึงโชคบัญชา (แก้มลิง) โดยขอรับการสนับสนุนการศึกษาสำรวจการติดตั้งประตูนํ้าและเครื่องสูบนํ้าเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในภาคเกษตรกรรมและขุมชน
โดยนายกรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการและให้สำนักงานทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า การเชื่อมต่อกับระบบการบริหารจัดการลุ่มนํ้าในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง และเชื่อมโยงลุ่มนํ้าโขง-ชี-มูล ทั้งระบบ
รวมทั้งสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนก่อนเริ่มดำเนินการ โดยต้องเตรียมความพร้อมของโครงการในทุกด้าน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้ทันที ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับแผนงบประมาณของหน่วยงานให้สามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นเร่งด่วนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดลำดับความสำคัญของโครงการเสนอคณะกรรมการลุ่มนํ้าเพื่อพิจารณาบรรจุในแผนปฏิบัติการลุ่มนํ้าตามขั้นตอน สำหรับโครงการศึกษาและสำรวจออกแบบแหล่งนํ้าบึงโชคบัญชา (แก้มลิง) ให้กระทรวงมหาดไทยประสาน สำนักงานทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ พิจารณาในรายละเอียดก่อนดำเนินการต่อไป
4 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุน ดังนี้
4.1 ด้านการคมนาคม โดยขอให้เร่งรัดดำเนินการ
(1) โครงการ ปรับปรุงทางหลวงชนบท 4049 แยกทางหลวง 3264 - อ.อู่ทอง อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
(2) โครงการทางหลวงแนวใหม่เชื่อมต่อสามแยกวังมะนาว - บรรจบทางหลวงหมายเลข 3410
(3) โครงการก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน จำนวน 4 รายการ ดังนี้ ก่อสร้างสะพานและทางแยกต่างระดับ สะพานข้ามแม่นํ้าแม่กลองบนทางหลวงหมายเลข 4 (สะพานสิริลักขณ์) ก่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4 ตอนหลุมดิน- ห้วยชินสีห์ ในช่วง กม. 102+200-กม. 108+000 จ.ราชบุรี ระยะทาง 4.8 กิโลเมตร ก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3087 ราชบุรี - แก้มอ้น ในช่วง กม. 0+0000 - กม. 3+800 จ.ราชบุรี ระยะทาง 3.8 กิโลเมตร
และ ก่อสร้างสะพานและทางแยกต่างระดับ หมายเลข 330 สะพานธนะรัชต์ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 330 บริเวณ กม. 1+166 ทางเข้า จ.ราชบุรี ระยะทาง 140 เมตร โครงการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพทางและระบบระบายน้ำหมายเลข 3291 เจดีย์หัก - หนองหอย ช่วง กม. 0+000 - กม. 9+242 จ.ราชบุรี ระยะทาง 9.242 กิโลเมตร
โครงการก่อสร้างชยายทางหลวงหมายเลข 3208 นํ้าพุ -เหมืองผาปกค้างคาว จ.ราชบุรี โครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3291 เตาปูน - เบิกไพร ช่วง กม. 32+382 - กม. 41+000 จ.ราชบุรี ระยะทาง 8.618 กิโลเมตร โครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3273 โคกสูง - หนองเป็ด ช่วง กม. 0+000 - กม.16 + 447 ระยะทาง 16.447 กิโลเมตร จังหวัดราชบุรี
โครงการก่อสร้างอุโมงค์และทางลอด ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนคลองอีจางถึงหลุมดิน กม. 82+600 (บ้านข้อง) อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โครงการก่อสร้างอุโมงค์และทางลอดทางหลวงหมายเลข 4 ตอนสระกระเทียม - คลองอีจาง กม. 74+400 (แยกหัวทุ่ง)หนองโพ จ.ราชบุรี และ โครงการปรับปรุงถนนตามผังเมืองสายมนตรีสุริยวงค์ เชื่อมถนนสายบายพาส ประกอบด้วย ก่อสร้างถนนตาม ผังเมืองสายมนตรีสุริยวงค์ เชื่อมถนนสายบายพาสสาย ช.7 และ ปรับปรุงถนนตามผังเมืองสายมนตรีสุริยวงค์ เชื่อมถนนสายบายพาส สายชอยวาสนาดี
4.2 ด้านไฟฟ้า โดยขอรับการสนับสนุนการศึกษาแนวทางการปรับปรุงสายไฟฟ้าลงดินในบริเวณเขตพื้นที่เมืองเก่า จ.ราชบุรี จ.กาญจนบุรี และจ.สุพรรณบุรี โดยขอรับการสนับสนุนเป็นกิจกรรมนำร่องที่จ.ราชบุรี พื้นที่เขตเมืองเก่าบริเวณถนนวรเดช ถนนอัมรินทรี และถนนไกรเพชร ชึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวและอาคารอบุรักษ์ที่สำคัญอยู่บริเวณดังกล่าว
4.3 ด้านประปา โดยขอรับการสนับสนุน ดังนี้
(1) งานวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี 1 รายการ คือ บริเวณต.ดอนตาเพชร
(2) งานวางท่อขยายเขตจำหน่ายนํ้าในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี 4 รายการ ประกอบด้วย บริเวณเทคบาลต.บ้านดอน บริเวณหมู่บ้านสามชุก - วัดลำพญา ต.สามชุก อ.สามชุก บริเวณต.ทัพหลวง อ.หนองหญ้าไซ และบริเวณ ต.บ้านโพธ อ.เมืองสุพรรณบุรี
(3) งานวางท่อขยายเขตจำหน่ายนํ้าในพื้นที่ จ.ราชบุรี 20 รายการ ประกอบด้วย บริเวณหมู่ 1- 4 ต.คุ้งกระถิน อ.เมืองราชบุรี บริเวณซอย ถ.หนองสะเดาบน หมู่ที่ 6 และซอยห้วยปลาดุก ซอย 4 ต.หินกอง อ.เมืองราชบุรี บริเวณซอยถนนทุ่งไล่ไก่ หมู่ที่ 9 ต.หินกอง อ.เมืองราชบุรี และงานวางท่อขยายเขตนํ้าบริเวณ ชุมชนบ้านต้นมะม่วงพัฒนา หมู่ที่ 2 ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี บริเวณวัดลาดเมธังกร หมู่ที่ 6 ต.บางป่า อ.เมืองราชบุรี ถึง แยกวัดท่าเรือ หมู่ที่ 2 ต.แพงพวย อ.เมืองราชบุรี
แยกถนนเลี่ยงเมืองราชบุรี - สี่แยกห้วยชินสีห์ ต.อ่างทอง อ.เมือง บริเวณโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย อ.ปากท่อ บริเวณบ้านหนองรี ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม บริเวณหมู่ 3 ต.เบิกไพร อ.บ้านโปง บริเวณ หมู่ที่ 8 บ้านเขาช้าง ต.หนองกระทุ่ม อ.ปากท่อ บริเวณหมู่ที่ 1,5 ต.ชัฎปาหวาย อ.สวนผึ้ง บริเวณโรงสูบบ่อ 2 ถึงถนนบายพาสจอมบึง (3087) หมู่ที่ 3 ต.จอมบึง อ.จอมบึง
บริเวณหมู่ที่ 5 บ้านเขาถ่าน ต.ดอนทราย อ.ปากท่อ บริเวณปากทางเช้าบ้านขุนพิทักษ์ถึงสี่แยกบ้านรางห้าตำรึง ต.ขุนพิทักษ์ อ.ดำเนินสะดวก บริเวณปากทางเข้าวัดสอนประดิษฐ์ หมู่ 3 ถึงวัดปรกเจริญ หมู่ 6 ต.ตาหลวง อ.ดำเนินสะดวก บริเวณตลาดเสรีเก่าถึงโรงเรียนอภิบาลกุลบุตร หมู่ 3 ต.ตรีสุราษฎร์ อ.ดำเนินสะดวก บริเวณปากทางเข้าโรงแรมผึ้งหลวง หมู่ 10 ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก
บริเวณบ้านสนามชัย ซอย 10 หมู่ 4 ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก บริเวณโรงแรมผึ้งหลวงรีสอร์ท หมู่ 8 ต.ศรีสุราษฎร์ อ.ตำเนินสะดวก บริเวณ ปากคลองเต็กเฮง หมู่ 8 ต.ศรีสุราษฎร์ อ.ดำเนินสะดวก และ บริเวณบ้านหนองสลิตและ ซอยบ้านตาหลวง หมู่ 2 ต.ตาหลวง อ.ดำเนินสะดวก
โดย นายกฯ เห็นชอบในหลักการและให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น เร่งพิจารณาดำเนินการตามความจำเป็นเร่งด่วน โดยจัดลำดับความสำคัญตามกรอบและเป้าหมายของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้านการคมนาคมขนส่ง ที่เน้นความเชื่อมโยงและสนับสนุนภาคการผลิตและบริการ การค้าการลงทุน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และประโยชน์ที่ประชาชน
ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 และพื้นที่เชื่อมโยงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) และยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ก่อนดำเนินการ รวมทั้งสร้างความรับรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเห็นถึงความสำคัญโครงการที่ได้มีการจัดสรรงบประมาณ และโครงการที่กำลังดำเนินการของรัฐบาลเป็นระยะด้วย
ให้กระทรวงมหาดไทย รับไปพิจารณาในรายละเอียดการปรับปรุงสายไฟฟ้าลงดินในบริเวณเขตพื้นที่เมืองเก่า จ.ราชบุรี จ.กาญจนบุรี และจ.สุพรรณบุรี โดยให้พิจารณาเส้นทางที่มีความจำเป็นและความพร้อมดำเนินการก่อน รวมทั้งงานวางท่อขยายเขตจำหน่ายนํ้า ในพื้นที่จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี และจ.ราชบุรี หากมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการ
ให้กระทรวงมหาดไทยประสานสำนักงบประมาณ บรรจุไว้ในแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และให้เสนอคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
5. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุน ดังนี้
5.1 โครงการพัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์และเครือข่ายบริการสุขภาพ จ.ราชบุรี ประกอบด้วย จัดสร้างอาคารสถานที่เพื่อรองรับการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ และ จัดหาครุภัณฑ์การแพทย์ เพื่อพัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญสำหรับการรักษาระดับตติยภูมิขั้นสูง
5.2 โครงการจัดหาอาคารเรียนและอาคารที่พักอาศัยวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี ประกอบด้วย อาคารโรงฝึกงาน 4 ชั้น ตามแบบรายการก่อสร้างสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแบบ สอศ.เลขที่ 49A04 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนอย่างครบวงจร อาคารเรียน 4 ชั้น และปฏิบัติการพร้อมครุภัณฑ์แบบ สอศ.เลขที่ 41A04/43 เพื่อรองรับผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอน และ อาคารแฟลต 4 ชั้น พร้อมครุภัณฑ์แบบ สอศ. เลขที่ 50A19
ทั้งนี้ นายกฯ เห็นชอบในหลักการและให้กระทรวงสาธารณสุข รับไปพิจารณาในรายละเอียดโครงการพัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์และเครือข่ายบริการสุขภาพ จ.ราชบุรี หากโครงการมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการให้กระทรวงสาธารณสุขจัดลำดับความสำคัญ และประสานสำนักงบประมาณพิจารณาบรรจุไว้ในแผนการปฏิบัติงาน และ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาดำเนินการโดยด่วน
รวมทั้งพิจารณายกระดับโรงพยาบาลเครือข่ายในกลุ่มจังหวัดหรือพื้นที่ห่างไกล ให้มีความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยสามารถรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ให้กระทรวงศึกษาธิการ รับไปพิจารณาในรายละเอียดโครงการจัดหาอาคารเรียนและอาคารที่พักอาศัยวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี หากโครงการมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่จะดำเนินการให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดลำดับความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนและประสาน สำนักงบประมาณพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มาดำเนินการในโอกาสแรก
6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสั่งแวดล้อม กลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุน ดังนี้
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบท่อรวบรวมและระบบบำบัดนํ้าเสียเทศบาลเมืองราชบุรี ประกอบด้วย การปรับปรุง พัฒนาสถานีบำบัดน้ำเสียเดิม จำนวน 1 แห่ง ปรับปรุงพัฒนาเส้นทางและระบบการบำบัดนํ้าเสีย จำนวน 8 แห่ง สามารถรองรับนํ้าเสียตามการออกแบบ 20,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
โดย นายกฯ ข้อสั่งการให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น เร่งพิจารณาดำเนินการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบท่อรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองราชบุรี หากมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการให้กระทรวงมหาดไทยประสานสำนักงบประมาณบรรจุไว้ในแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เป็นกรณีเร่งด่วน
ทั้งนี้ ให้มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการของภาครัฐด้วย
7. สำหรับ ข้อเสนอเชิงนโยบาย กลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุน ดังนี้
7.1 การปรับรูปแบบเพื่อลดผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ในพื้นที่ จ.ราชบุรี โดยเฉพาะในเขตอ.เมืองราชบุรี อ.บ้านโป่ง อ.โพธาราม และอ.ปากท่อ โดยขอรับการสนับสนุนให้มีการจัดวางระบบการจราจรที่ดีในอนาคต อาทิ จุดกลับรถ จุดตัด การจราจร และอุโมงค์ทางลอด
7.2 โครงการศึกษาแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่ง และโลจิสติกส์ เพื่อพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก (Western Economic Corridor : WEC) และสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว อาทิ โครงข่ายทางหลวงสายหลัก ทางหลวงสายรอง สิ่งอำนวยความสะดวก การขนส่ง ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า และสถานีขนส่งผู้โดยสาร
7.3 การศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและการค้าขายแดนของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 รองรับอุตสาหกรรมไมซ์ (Meeting, Incentive , Convention and Exhibition : MICE) ในพื้นที่ภาคตะวันตก เพื่อเชื่อมโยงแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
7.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานหินเขางู จ.ราชบุรี โดยขอรับการสนับสนุนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การศึกษาออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก การศึกษาความเหมาะสมการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับชุมขน โดยรอบ และการจัดทำแผนการบริหารจัดการ
โดยนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการ ให้กระทรวงคมนาคม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการศึกษาการปรับรูปแบบและมาตรการลดผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในพื้นที่จังหวัดราฃบุรี โดยคำนึงถึงการใช้งานที่ส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ตามขั้นตอนต่อไป
ให้กระทรวงคมนาคม รับไปเร่งพิจารณาศึกษาความเหมาะสมและ ความเป็นไปได้โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่ง และโลจิสติกส์ เพื่อพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก (Western Economic Corridor : WEC) ในภาพรวม และเชื่อมโยงถึงตะวันออก ทั้งทางถนน ทางราง ทางนํ้า และทางอากาศ รวมถึงการจัดดั้งศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และ ลานกองเก็บตู้สินค้า (Container yard) ตามขั้นตอนต่อไป
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและการค้าชายแดนของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 รองรับ อุตสาหกรรมไมซ์ (Meeting, Incentive , Convention and Exhibition ะ MICE) ตามขั้นตอนต่อไป
ให้กระทรวงมหาดไทย ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น รับไปพิจารณาศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานหินเขางู จ.ราขบุรี หากมีความจำเป็น เร่งด่วนให้กระทรวงมหาดไทยประสานสำนักงบประมาณพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มาดำเนินการในโอกาสแรก
"นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการเพิ่มเติม ข้อ 8. ขอให้หน่วยงานศึกษายุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งศึกษาขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณให้ชัดเจน เพื่อให้การขอรับการสนับสนนจากภาครัฐมีความ สอดคล้องกับทิศทางของประเทศ และขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณของรัฐต่อไป และขอให้หน่วยงานท้องถิ่นและภาคเอกชนช่วยกันสร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อให้ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป".