“เศรษฐพงค์” แนะยึดคืนคลื่น 3.5GHz หลังหมดสัมปทาน ดัน 5G ไทยทัดเทียมมาตรฐานโลก วอน “ดีอีเอส-กสทช.” เปิดประมูลคลื่น 3.5GHz เพื่อคนไทยได้ใช้ 5G เต็มคุณภาพ ระบุเป็นประโยชน์ต่อระบบการแพทย์-ศก.ดิจิทัล สอดคล้องนโยบายรัฐ เตือนทำ “พีพีพี” ดาวเทียมไทยคม 5 ต้องรอบคอบ เปิดกว้าง-โปร่งใส
เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงเปิดโอกาสให้สมาชิกหารือ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย กล่าวต่อที่ประชุมว่า วันนี้ตนมีเรื่องหารือที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเทคโนโลยีด้านสาธารณสุข ซึ่งเรื่องดังกล่าวนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข มีความเป็นห่วงและติดตามอย่างใกล้ชิด ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และทางคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่มีความตั้งใจและร่วมมือกัน เพื่อจัดประมูลคลื่นความถี่สำหรับ 5G ในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งจะสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแพทย์ การสาธารณสุข ที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอนาคตอันใกล้ แต่ประเด็นสำคัญที่ตนจะเน้นย้ำคือเรื่องคลื่นความถี่สำหรับ 5G โดยในปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีทิศทางหันไปใช้คลื่นความถี่ย่าน 3.5GHz ที่เป็นมาตรฐานสากลโดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กำหนดไว้เช่นกัน และจะมีการผลิตอุปกรณ์หลักๆ มากมายบนย่าน 3.5GHz ดังกล่าวมากกว่าในย่านความถี่อื่นๆ
“แต่ในแผนการประมูลคลื่นความถี่ที่จะเกิดขึ้นในต้นปีหน้าที่ กสทช. ได้ประกาศออกมานั้น ไม่ได้มีคลื่นความถี่ในย่าน 3.5GHz เลย จึงถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างมาก เนื่องจากถึงแม้ว่าจะสามารถนำคลื่นความถี่อื่นมาใช้ทำ 5G ได้ แต่อุปกรณ์ต่างๆ ที่ทั่วโลกผลิตมาอย่างแพร่หลายไม่ได้อยู่บนคลื่นความถี่เหล่านี้เป็นหลัก การใช้คลื่นความถี่ย่าน 2600 และ 700MHz ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนผู้ให้บริการ 5G ที่ยังมีไม่แพร่หลายนัก หากประเทศไทยใช้คลื่นความถี่ที่ไม่ได้รับความนิยม จะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องอุปกรณ์ปลายทาง คือโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ 5G อื่นๆ ที่ไม่มีในท้องตลาด ส่งผลให้ประชาชนต้องใช้อุปกรณ์ที่จะมีราคาสูง” พ.อ.เศรษฐพงศ์ ระบุ
พ.อ.เศรษฐพงษ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นจึงเห็นว่าควรเร่งการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 3.5GHz ซึ่งในปัจจุบันคือย่านความถี่ Extended C-Band ที่ใช้ในดาวเทียมไทยคม 5 ในการให้บริการทีวีดาวเทียมเป็นส่วนใหญ่ และปัจจุบันนี้กำลังได้รับความนิยมลดน้อยลง จึงทำให้หลายประเทศก็ได้มีการเรียกคืนความถี่ย่าน 3.5GHz นี้จากดาวเทียมและนำมาจัดสรรเป็นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 5G ที่มีประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า ประเทศไทยไม่ควรให้ความหวัง 5G บนคลื่นความถี่อื่น ที่ไม่ใช่ 3.5GHz ที่ถือว่าเป็นความถี่หลักของ 5G ดังนั้น กระทรวงดีอีเอส และ กสทช. ควรเร่งนำคลื่น 3.5GHz มาร่วมประมูลด้วย เพื่อให้ 5G ไทยเทียบเท่ามาตรฐานโลก สามารถรองรับอุปกรณ์จากทั่วโลกที่มีราคาถูกลงอย่างรวดเร็วจนสามารถสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาลได้
นอกจากนี้ พ.อ.เศรษฐพงค์ ยังได้กล่าวถึงกรณีดาวเทียมไทยคม 5 ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2564 ด้วยว่า ความถี่ย่าน 3.5GHz ซึ่งถูกนำมาใช้ในการให้บริการทีวีดาวเทียมเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้กำลังได้รับความนิยมลดน้อยลง ตัวอย่างเช่น ในหลายประเทศก็ได้มีการเรียกคืนความถี่ย่าน 3.5GHz นี้จากดาวเทียมและนำมาจัดสรรเป็นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 5G แล้ว ดังนั้นประเทศไทยจึงควรพิจารณาหาแนวทางในการวางแผนการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 3.5GHz เพื่อนำมาจัดสรรให้กับ 5G เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ตนจึงขอฝากท่านประธานสภาฯ ไปยังผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงดีอีเอส, กสทช. และคณะกรรมการ 5G แห่งชาติ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ช่วยพิจารณาประเด็นดังกล่าว และกรุณาแจ้งแนวทางการดำเนินงานให้ทางรัฐสภาทราบในโอกาสต่อไป
ภายหลังการหารือ พ.อ.เศรษฐพงค์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า เมื่อดาวเทียมไทยคม 5 หมดสัญญาสัมปทานในปี 2564 แล้ว จะต้องมีการดำเนินการตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) ซึ่งกระทรวงดีอีเอส และทาง กสทช. จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและมีนโยบายที่เปิดกว้างและดำเนินการอย่างโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ในส่วนสถานีภาคพื้นดิน (Ground Station) ที่ถูกสร้างในช่วงเวลาสัมปทาน ทั้งที่ตั้งไว้ในประเทศและต่างประเทศ เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปยังระบบใบอนุญาต จะทำให้ทรัพย์สินทั้งหมด ต้องถูกส่งมอบให้กับกระทรวงดีอีเอส เพื่อนำไปบริหารจัดการต่อ ซึ่งในส่วนนี้ทางกระทรวงดีอีเอส จะนำมาเป็นทรัพย์สินของรัฐในการเจรจา พีพีพี ด้วยหรือไม่ ตรงนี้ทางกระทรวงดีอีเอส กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการดำเนินการอย่างรอบคอบ โปร่งใส เพื่อผลประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชน.
เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงเปิดโอกาสให้สมาชิกหารือ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย กล่าวต่อที่ประชุมว่า วันนี้ตนมีเรื่องหารือที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเทคโนโลยีด้านสาธารณสุข ซึ่งเรื่องดังกล่าวนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข มีความเป็นห่วงและติดตามอย่างใกล้ชิด ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และทางคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่มีความตั้งใจและร่วมมือกัน เพื่อจัดประมูลคลื่นความถี่สำหรับ 5G ในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งจะสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแพทย์ การสาธารณสุข ที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอนาคตอันใกล้ แต่ประเด็นสำคัญที่ตนจะเน้นย้ำคือเรื่องคลื่นความถี่สำหรับ 5G โดยในปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีทิศทางหันไปใช้คลื่นความถี่ย่าน 3.5GHz ที่เป็นมาตรฐานสากลโดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กำหนดไว้เช่นกัน และจะมีการผลิตอุปกรณ์หลักๆ มากมายบนย่าน 3.5GHz ดังกล่าวมากกว่าในย่านความถี่อื่นๆ
“แต่ในแผนการประมูลคลื่นความถี่ที่จะเกิดขึ้นในต้นปีหน้าที่ กสทช. ได้ประกาศออกมานั้น ไม่ได้มีคลื่นความถี่ในย่าน 3.5GHz เลย จึงถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างมาก เนื่องจากถึงแม้ว่าจะสามารถนำคลื่นความถี่อื่นมาใช้ทำ 5G ได้ แต่อุปกรณ์ต่างๆ ที่ทั่วโลกผลิตมาอย่างแพร่หลายไม่ได้อยู่บนคลื่นความถี่เหล่านี้เป็นหลัก การใช้คลื่นความถี่ย่าน 2600 และ 700MHz ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนผู้ให้บริการ 5G ที่ยังมีไม่แพร่หลายนัก หากประเทศไทยใช้คลื่นความถี่ที่ไม่ได้รับความนิยม จะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องอุปกรณ์ปลายทาง คือโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ 5G อื่นๆ ที่ไม่มีในท้องตลาด ส่งผลให้ประชาชนต้องใช้อุปกรณ์ที่จะมีราคาสูง” พ.อ.เศรษฐพงศ์ ระบุ
พ.อ.เศรษฐพงษ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นจึงเห็นว่าควรเร่งการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 3.5GHz ซึ่งในปัจจุบันคือย่านความถี่ Extended C-Band ที่ใช้ในดาวเทียมไทยคม 5 ในการให้บริการทีวีดาวเทียมเป็นส่วนใหญ่ และปัจจุบันนี้กำลังได้รับความนิยมลดน้อยลง จึงทำให้หลายประเทศก็ได้มีการเรียกคืนความถี่ย่าน 3.5GHz นี้จากดาวเทียมและนำมาจัดสรรเป็นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 5G ที่มีประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า ประเทศไทยไม่ควรให้ความหวัง 5G บนคลื่นความถี่อื่น ที่ไม่ใช่ 3.5GHz ที่ถือว่าเป็นความถี่หลักของ 5G ดังนั้น กระทรวงดีอีเอส และ กสทช. ควรเร่งนำคลื่น 3.5GHz มาร่วมประมูลด้วย เพื่อให้ 5G ไทยเทียบเท่ามาตรฐานโลก สามารถรองรับอุปกรณ์จากทั่วโลกที่มีราคาถูกลงอย่างรวดเร็วจนสามารถสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาลได้
นอกจากนี้ พ.อ.เศรษฐพงค์ ยังได้กล่าวถึงกรณีดาวเทียมไทยคม 5 ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2564 ด้วยว่า ความถี่ย่าน 3.5GHz ซึ่งถูกนำมาใช้ในการให้บริการทีวีดาวเทียมเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้กำลังได้รับความนิยมลดน้อยลง ตัวอย่างเช่น ในหลายประเทศก็ได้มีการเรียกคืนความถี่ย่าน 3.5GHz นี้จากดาวเทียมและนำมาจัดสรรเป็นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 5G แล้ว ดังนั้นประเทศไทยจึงควรพิจารณาหาแนวทางในการวางแผนการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 3.5GHz เพื่อนำมาจัดสรรให้กับ 5G เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ตนจึงขอฝากท่านประธานสภาฯ ไปยังผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงดีอีเอส, กสทช. และคณะกรรมการ 5G แห่งชาติ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ช่วยพิจารณาประเด็นดังกล่าว และกรุณาแจ้งแนวทางการดำเนินงานให้ทางรัฐสภาทราบในโอกาสต่อไป
ภายหลังการหารือ พ.อ.เศรษฐพงค์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า เมื่อดาวเทียมไทยคม 5 หมดสัญญาสัมปทานในปี 2564 แล้ว จะต้องมีการดำเนินการตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) ซึ่งกระทรวงดีอีเอส และทาง กสทช. จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและมีนโยบายที่เปิดกว้างและดำเนินการอย่างโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ในส่วนสถานีภาคพื้นดิน (Ground Station) ที่ถูกสร้างในช่วงเวลาสัมปทาน ทั้งที่ตั้งไว้ในประเทศและต่างประเทศ เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปยังระบบใบอนุญาต จะทำให้ทรัพย์สินทั้งหมด ต้องถูกส่งมอบให้กับกระทรวงดีอีเอส เพื่อนำไปบริหารจัดการต่อ ซึ่งในส่วนนี้ทางกระทรวงดีอีเอส จะนำมาเป็นทรัพย์สินของรัฐในการเจรจา พีพีพี ด้วยหรือไม่ ตรงนี้ทางกระทรวงดีอีเอส กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการดำเนินการอย่างรอบคอบ โปร่งใส เพื่อผลประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชน.