เปิดรายงาน มท.แจ้ง มาตรการรองรับนโยบายบีโอไอ-ป้องกันต่างชาติย้ายฐาน ตามมาตรการ "THAILAND Plus Package" ล่าสุดปรับแผนบริการ 4 หน่วยงาน เพิ่มขีดความสามารถธุรกิจและการแข่งขันของประเทศ "กทม.-ยธ." แก้แล้ว! กฎกระทรวง "ลดจำนวนตรวจสอบ/ควบคุมก่อสร้างอาคารขนาดเล็ก ยื่นขออนุญาตผ่านระบบไอที/ปรับคู่มืออนุญาตก่อสร้างกลุ่มอาคารสูงพิเศษ/ ร่วมดีอีอนุญาต/รื้อถอน/ดัดแปลง ด้าน "กฟน."สั่งลดขั้นตอนขอติดตั้งไฟฟ้า ลดภาระผู้ประกอบการวางประกัน ส่วน"กรมที่ดิน"เร่งอำนวยความสะดวกทางไอที ทั่วประเทศ 460 สำนักงาน
วันนี้ ( 29 ต.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้รายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานตามมาตรการเพื่อรองรับนโยบายการส่งเสริมการลงทุน และมาตรการรองรับการย้ายฐานตามมาตรการ THAILAND Plus Package 7 ด้าน ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย โดยได้ปรับปรุงการให้บริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจและการแข่งขันของประเทศ ประกอบด้วย
การขออนุญาตก่อสร้าง (Dealing with Construction Permits) เฉพาะในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ดำเนินการแก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ การขออนุญาตก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2525 โดยสามารถ ลดจำนวนครั้ง การตรวจอาคาร โดยลดจำนวนการตรวจสอบ จากเดิมเฉลี่ย 7 ครั้ง เหลือ 5 ครั้ง) สามารถลดระยะเวลาในการขอใช้อาคารขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงตํ่า จาก 30 วันเหลือ 15 วัน
ดำเนินการ แก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อให้สามารถยื่นเอกสารประกอบคำขออนุญาตก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงคู่มือเรื่องการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร โดยการกำหนดระยะเวลาดำเนินการจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาคารที่มีความสลับซับซ้อน เช่น อาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษใช้เวลาในการอนุญาต ก่อสร้างไม่เกิน 45 วัน และอาคารขนาดเล็ก กำหนดไว้ไม่เกิน 10 วัน ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการดำเนินการให้รวดเร็วขึ้น
ขณะที่ กรมโยธาธิการและผังเมือง (ยธ.) ดำเนินการเกี่ยวกับการข้ออนุญาต ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน และการขอใบรับรองการก่อสร้างอาคาร (ทางอิเล็กทรอนิกส์) ประกอบด้วย ยกร่างกฎกระทรวงแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 10(พ.ศ. 2528) ให้สามารถดำเนินการขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมถึงการจัดทำระบบรองรับร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563
การขอติดตั้งไฟฟ้า (Getting Electricity) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ดำเนินการ ประกอบด้วย ลดขั้นตอนและระยะเวลาโดยการปรับปรุงกระบวนการทั้งจากการตรวจสอบสายภายในและการดำเนินการภายนอกแบบคู่ขนาน การลดภาระการวางเงินประกัน การติดค่าใช้จ่ายในอัตราเดียว การขึ้นทะเบียนผู้รับจ้างติดตั้งสายภายใน และการเชื่อมโยง Biz portal เพื่อขอใช้ไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ สามารถลดระยะเวลาจาก 37 วัน เหลือ 17วัน และจาก 5 ขั้นตอน เหลือเพียง 3 ขั้นตอน ค่าใช้จ่ายลดลงเหลือ ร้อยละ 40.40 (จากเดิม ร้อยละ 63.10)
ดำเนินการออกประกาศ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการเพื่อให้หน่วยงานทุกแห่งกำหนดระยะเวลาการให้บริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ,เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงอัตราค่า Ft แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าล่วงหน้า อย่างน้อย 1 รอบการชำระเงิน ในการประกาศค่า Ft ซึ่งส่งผลดีต่อดัชนีการวัดความน่าเชื่อถือของอุปทานและความโปร่งใสของภาษี ,อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าผ่านทางออนไลน้ด้วย MEA Smart Life Application และทางเว็บไซต์บริการขอใช้ไฟฟ้า MEASY และใช้ระบบสารสนเทศภูมิคาสตริ (Geographic Information System : GIS) มาช่วยให้การออกแบบติดตั้งระบบไฟฟ้าสะดวกรวดเร็ว
สำหรับ การจดทะเบียนทรัพย์สิน (Registering Property) กรมที่ดิน (ทด.) ได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือสำคัญทางระบบอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในสำนักงานที่ดินทั่วประเทศ 460 สำนักงาน ,จัดทำประกาศกรมที่ดิน เรื่อง ยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนน้าน หรือสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลเพื่อติดต่อทำธุรกรรมในสำนักงานที่ดินทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อ ทำธุรกรรมกับสำนักงานที่ดิน
ดำเนินการพัฒนาโปรแกรม LandsMaps เพื่อให้บริการประชาชนในระบบ ออนไลน์ทางเว็บไซต์ http://dolwms.dol.go.th และทา'งอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ด้วย Application LandsMaps โดยผู้ขอรับบริการสามารถค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน รูปแผนที่ และขอบเขตที่ดินจากสถานที่สำคัญ โดยไม่ต้องทราบเลขที่โฉนดที่ดิน รวมตั้งค้นหารูปแปลงที่ดินขัางเคียงใด้จากการ Double Click บนรูปแผนที่ ที่แสดง นอกจากนี้ได้พัฒนาโปรแกรมให้ซ้อนทับข้อมูลผังแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Zoning Layer) โดยเชื่อมโยงข้อมูลแผนผังการใช้ประโยซน์ที่ดินทั่วประเทศ 77 จังหวัด
ดำเนินการพัฒนาการบริการต่างสำนักงานด้ายวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการตรวจสอบหลักทรัพย์ การประเมินราคาทุนทรัพย์ และการขอสำเนาภาพลักษณ์เอกสารสิทธิผ่านระบบ LandsFax และสุดท้าย การจัดทำแผนการขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามข้อเสนอของธนาคารโลก แผนการขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ.