สสส. แจ้งรัฐบาล สรุปใช้เงินปีงบประมาณ 60 สนับสนุนสารพัด 4,980 โครงการ วงเงิน 4,419 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 92 ของงบประมาณรายจ่ายโครงการฯ ที่ได้รับจัดสรร 4,791 ล้านบาท ส่วนงบบริหารจัดการสำนักงานใช้เพียง 374 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8
วันนี้ (15 ก.ค.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ค. คณะรัฐมนตรี เห็นชอบตามที่ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับการบริหารกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ประจำปี 2560 เพื่อพิจารณาปีละครั้ง ประกอบด้วย สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงหลักต่อสุขภาพและผลงานเด่นในปี 2560
การดำเนินงานในปี 2560 และ ผลการดำเนินงานสำคัญตามเป้าประสงค์ 6 เป้าประสงค์ในปี 2560 รวมถึงการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการทำงานในปี 2560 ประกอบด้วย รายงานของคณะกรรมการประเมินผล รายงานของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการตรวจสอบภายใน และ รายงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ทั้งนี้ ในส่วนของการดำเนินงานในปี 2560 พบว่า สสส. ได้ให้ข้อมูลการบริหารงบประมาณกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ปีงบประมาณ 2560 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพมีการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รวม 4,791 ล้านบาท โดยจำแนกการใช้จ่ายงบประมาณเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เบิกจ่ายทุนสนับสนุนโครงการสร้างเสริมสุขภาพ รวมค่าใช้จ่ายบริหารโครงการ จำนวน 4,980 โครงการ งบประมาณ 4,419 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 92 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด และค่าใช้จ่ายในการบริหารสำนักงาน 374 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 8 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด
สำหรับสาระสำคัญของสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงหลักต่อสุขภาพและผลงานเด่นในปี 2560 ประกอบด้วย (1) เดินหน้าสร้างลังคมไทยปลอดควันบุหรี่ สร้างความยั่งยืนทางสุขภาพ (2) ปกป้องเยาวชนไทย ไม่ตกเป็นเหยื่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (3) ร่วมสร้างกลไกป้องกันอุบัติเหตุระดับพื้นที่อย่างยั่งยืน (4) ร่วมวางฐานรากพัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิตเด็กไทยทุกช่วงวัย (4) สร้างภูมิคุ้มกัน ลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) (6) พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ “สูงวัยอย่างมีคุณค่า” (7) Balloon Model สร้างเสริมสุขภาวะ คนไร้บ้าน แสะ (8) พัฒนา Model ส่งต่อ "การให้” สร้างสรรค์สังคมเพื่อทุกคน
ส่วนผลการดำเนินงานสำคัญตามเป้าประสงค์ 6 เป้าประสงค์ในปี 2560 ประกอบด้วย (1) ลดปัจจัยเสี่ยงหลัก โดยการสานและเสริมพลังการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดซอบโดยตรง และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกขน และภาคประชาสังคม เพื่อให้บรรลุผลในการลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด การลดอุบัติเหตุ จราจรและอุบัติภัย และสร้างสุขนิสัยในการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารสุขภาพ
(2) พัฒนา กระบวนการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอื่น ๆ โดยการพัฒนากลไกที่จำเป็นสำหรับการลดปัจจัยเสี่ยง นอกเหนือจากเป้าประสงค์ที่ 1 โดยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพลงทุนแต่น้อยในส่วนที่จำเป็นและ ก่อให้เกิดผลกระทบสูง และสร้างขีดความสามารถของบุคคลที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เยาวขน และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
(3) พัฒนาต้นแบบสุขภาวะ โดยเพิ่มขีดความสามารถเชิงสถาบัน และส่งเสริม บทบาทของชุมซนและองค์กรในการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมหรือแก้ไขปีญหาสำคัญของตน โดยพัฒนา กระบวบการต้นแนบและกลไกขยายผลเพื่อมุ่งพัฒนาสังคมสุขภาวะในระยะยาวอย่างยั่งยืน (4) สร้างความ ดื่นตัวและค่านิยมใหม่ในลังคม โดยสร้างค่านิยมและโอกาสการเรียนรู้ในการสร้างเสริมสุขภาวะให้เกิดขึ้น ในสังคมไทย เพื่อให้สังคมให้ความร่วมมือกับการรณรงค์เพื่อบรรลุเป้าประสงค์อื่นๆ
(5) ขยายโอกาส ในการสร้างนวัตกรรม โดยขยายโอกาสและพัฒนาศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวลับการสร้างเสริม สุขภาวะ และ (6) ส่งเสริมสมรรถนะของระบบสุขภาพและบริการสุขภาพ โดยเพิ่มสมรรถนะระบบบริการ และระบบสนับสนุนในการสร้างเสริมสุขภาวะและเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการบริหารจัดการ